การใช้ should ในการสร้างประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้ should ในการสร้างประโยค

เกริ่นนำ เกริ่นใจ

เคยสงสัยมั้ยว่า ชีวิตนี้ของเราควรจะต้องทำอะไรบ้าง? ภาษาอังกฤษเองก็มีอะไรแบบนี้เหมือนกันนะเอาจริง จริง ๆ ทุกภาษาก็มีเหมือนกันนะแม่ที่หากเราต้องการที่จะแนะนำว่าใครควรทำหรือชักชวนเพื่อให้รู้จักมักคุ้นกับอะไรยังไงสักอย่างอย่างมีระบบเราก็จะมีชุดคำศัพท์ที่เรา “ควร” ที่จะใช้ และนั่น!! นำมาซึ่งเนื้อหาของเราในวันนี้ อย่างเรื่อง “ควร หรือ Should” ในโลกของภาษาอังกฤษกัน

แก… เราควรไปทำผมใหม่ปะ?

แก… เราว่าเราควรตั้งใจเรียนแล้วปะ?

แก… เราควรซื้อตัวนี้นะ เพราะมันต๊าซมากแม่!!

อะไรพวกนี้คือ จุดเริ่มต้นของการเข้าใจคำว่า Should ของเรา โดยคำว่า Should เนี่ย พี่แนะนำเลยว่าถ้าเราพึ่งรู้จัก ก็ขอให้แปลเป็นภาษาไทยในหัวแล้วเอาไปใส่ประโยคเลยก็ได้ แล้วพอทำไปเรื่อย ๆ ก็จะคล่องเอง แต่จะใส่แบบสุ่มสี่สุ่มห้าเลยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ “ควร” ทำนัก เพราะฉะนั้น เราจะมาทำความเข้าใจการใช้ โครงสร้างประโยค และสิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้ Should ในภาษาอังกฤษกันเนาะ 

ภาพใหญ่ของ Should

แต่ก่อนจะเข้าเนื้อหาหลักของวันนี้ พี่ก็อยากจะให้ทุกคนได้อ่านภาพรวมของคำว่า Should ก่อน โดย Should เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb ที่มีความหมายว่า คำกริยาที่ใช้ช่วยทำให้ประโยคนั้นดีขึ้น ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเราควรที่จะทำอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เราควรจะ…นะ”  โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Should มาช่วย โดยหน้าที่ของ Auxiliary verb ก็ง่ายมาก มีแค่ 3 หน้าที่หลักก็เท่านั้นเอง นั่นก็คือ มันช่วยบอก “อารมณ์ เวลา และน้ำเสียง” ของเราและเพื่อให้จำง่ายเราจึงมักเรียกเค้าว่า Helping verb นั่นเองงงงง

Verb to be  Verb to have  Verb to do
Is, am, are, was, were
(เป็น อยู่ คือ)
Have, has, had (มี) Do, does, did (ทำ)
Will, would, shall (จะ)
Should, ought to (ควรจะ)
Can, could (สามารถ)
Have to, has to, had to
(ต้อง)
Need (จำเป็น)
Had better (ควรจะ)
Would rather (Prefer)
Used to (เคย)
Dare (ท้า/กล้า)

โครงสร้างของ Auxiliary verb หรือ Helping verb

Subject + Helping verb + Infinitive verbs

(Infinitive คือ verb รูปธรรมดาที่ไม่เติม -ing, -ed, to, s หรือ es)

พอมาถึงตอนนี้ก็เยอะอยู่นะแม่ แต่วันนี้เราจะมาเรียนแค่คำว่าเดียวคือ Should ไม่งั้นไม่ไหว ถ้าจะให้อธิบายการทำงานของแต่ละคำคงต้องใช้เวลาทั้งวัน พูดและเขียนกันจนมือหงิกกันไปเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น เรามาดูการทำงานของคำว่า Should กันแม่

การทำงานของ Should

เอาจริง ๆ นะแม่ มันมีวิธีใช้ที่เยอะมาก เยอะในที่นี้คืออาจจะมากกว่า 5 สถานการณ์ด้วยซ้ำ ยังไงเรามาดูกันว่าเราสามารถใช้ Should ในสถานการณ์ไหนบ้าง

การสร้างประโยคทั่วไปด้วย Should

โครงสร้างประโยค: Subject + Should (not) + Infinitive verb + Object word order

ตัวอย่างเช่น She should go to school today. (เธอควรที่จะไปโรงเรียนวันนี้)

You should eat more fruits. (คุณควรที่จะกินผลไม้ให้มากขึ้น)

โดยถ้าเราต้องการที่จะทำให้เป็นประโยคปฏิเสธก็แค่เติม Not ไว้หลัง Helping verb ก็พอ ตัวอย่างเช่น  She should not go there (เธอไม่ควรไปที่นั่นนะ) หรือ You shouldn’t talk to the teacher like that (เธอไม่ควรพูดกับครูแบบนั้นนะ) เป็นต้น

การตั้งคำถามด้วย Should

โครงสร้างประโยคคำถาม: Should + Subject + Infinitive verb + Object word order

ตัวอย่างเช่น Should she go to school today? (เธอควรที่จะไปโรงเรียนวันนี้ใช่ไหม?)

Should you eat more fruits? (คุณควรที่จะกินผลไม้ให้มากขึ้นใช่ไหม?)

โดยหากเราต้องการที่จะตอบ ทริคง่าย ๆ เลยก็คือ ถ้าเราเจอเรื่อง Helping verb แล้วเข้าเรื่องของประโยคคำถาม ให้เราคิดไปเลยว่าลักษณะการตอบส่วนใหญ่จะไปทาง Yes หรือ No แบบเพียว ๆ เช่น Should she go to school today? เราก็ตอบไปว่า Yes, she should หรือ No, she shouldn’t เป็นต้น

ใช้ Should ตอนไหน

ใช้ตอนแนะนำเพื่อนหรือคนรอบข้าง

  • You should keep your pencil bag in a safe place. เธอควรเก็บกระเป๋าดินสอไว้ในที่ที่ปลอดภัย (นะแม่)
  • You should stop playing the game and start studying for an exam. เธอควรหยุดเล่นเกมแล้วเริ่มเตรียมตัวสอบได้แล้ว (นะแม่)

ใช้ตอนเป็นแม่พระผู้รักความยุติธรรม และความดี

  • We should think of others before ourselves. คุณควรคิดถึงคนอื่นก่อนคิดถึงตัวเองนะ
  • We should report this problem to the police. คุณควรรายงานปัญหานี้ให้กับตำรวจนะ
  • She suggested that we should visit our mother more often. เธอแนะนำว่าเราควรที่จะไปเยี่ยมแม่ของเราบ่อยขึ้น

ใช้เขียนหลังจากเหตุการณ์อะไรสักอย่างเกิดขึ้นเพื่อบอกถึงความเป็นเหตุเป็นผล

  • She left school at 4.00 pm, so she should be home now. เธอออกจากโรงเรียนตอนสี่โมงเย็นแล้ว ดังนั้นเธอควรจะถึงบ้านแล้วนะตอนนี้ (อันนี้ฟังเหมือนเจอในหนังบ่อยมากแม่)

ใช้เพื่อแสดงความสุภาพใน Conditional Clause (ใช้ในการเขียนที่เป็นทางการ)

  • If you should decide to go, please contact us. คือถ้าคุณควรที่จะตัดสินใจที่จะไปตอนนี้ ก็ช่วยบอกเราหน่อยนะ (ประมาณว่า ถ้าคุณ(ควรที่)จะตัดสินใจไปตอนนี้ ก็ช่วยบอกเราหน่อยนะ เราจะได้ให้คุณไปงี้)
  • Should you need more information, please contact our teachers. ถ้าคุณต้องการข้อมูลมากกว่านี้ก็ช่วยติดต่อครูของเรานะ (แปลเป็น If ไปเลยก็จะง่ายสำหรับการจำนะ) ฟังแล้ว Grand มากบอกเลย เก็บไว้ใช้เด้ออ

ไหน ๆ ก็มาถึงตรงนี้แล้ว เรามาเรียนโครงสร้างประโยคที่ค่อนข้างเจอบ่อยและมีความเป็นสำเร็จรูปในเรื่อง Should กันหน่อยดีกว่ากับช่วง Should และเพื่อนของเขา

Should และเพื่อนของเขา

คำว่า Should จะมีชุดคำที่ไว้พูดที่เมื่อเราเจอ เราก็จะเจอคำว่า Should ด้วยนะ ตัวอย่างเช่น 

  • It is a pity that…
  • It is odd that…
  • I am sorry/surprised that…

โดย Expression พวกนี้มักจะใช้ร่วมกับ Should ซึ่งจะทำให้มีความเป็นทางการมากกว่าเมื่อมาด้วยกัน เช่น 

  • It is a pity that this should happen. มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เรื่องนี้เกิดขึ้น 
  • It is odd that this should happen. มันเป็นเรื่องแปลกที่สิ่งนี้ควรเกิดขึ้น
  • I am sorry that this should happen to her. ฉันเสียใจที่เรื่องนี้ควรเกิดขึ้นกับเธอ

Should กับความรู้สึกเสียดาย

คำว่า Should น่าสนใจมาก เพราะมันสามารถสร้างประโยคที่มีความหมายที่บอกว่า มันควรจะเกิดขึ้นนะ มันน่าจะเกิดขึ้นนี่หว่า ให้ความรู้สึกว่าทำไมมันไม่เกิดขึ้นวะเนี่ย 

โครงสร้างมันคือ Should + have + V.3

และด้วยประโยคนี้เอง มันทำให้เราสามารถใช้แสดงความเสียใจกับสิ่งที่ทำหรือไม่ได้ทำได้ อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ตัวอย่างเช่น รู้งี้ เราควรจะพา A มาด้วยเนาะ ป่านนี้เราคงได้สนุกด้วยกันไปแล้ว หรือมันคือสถานการณ์แบบ “รู้งี้” นั่นเอง… รู้งี้…

ตัวอย่างประโยค

  • You should have told me to stop at the red light. เธอน่าจะ (ควรจะ) บอกเราให้หยุดตรงไฟแดงก่อนอ่ะ (ไม่งั้นคงไม่ต้องเจอกับผลที่ตามมาหรอก)
  • You should have stopped at the red light. คุณควรที่จะหยุดที่ไฟแดงนะ (อารมณ์ประมาณทำไมไม่บอกวะเนี่ย น่าจะบอกก่อนอ่ะนะ)

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่อง ควรจะ มันไม่ได้ยากเลยนะ ถ้าเราตั้งความเข้าใจบนฐานว่า Should ใช้กับการให้คำแนะนำ และ ใช้ตอนอยากพูดว่า “รู้งี้” (น่าจะเกิดขึ้นอย่างงั้นอย่างงี้นะเป็นอารมณ์ประมาณว่า รู้งี้ควรที่จะ) แค่นี้เลย แต่ถ้าจะให้แนะนำวิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ผลดีที่สุดก็คงจะเป็นการให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ฝึกแนะนำคนอื่นเยอะ ๆ เอาไปใช้ในการพูดตอนเป็นแม่พระให้มาก ๆ เพราะการฝึกฝนจะทำให้เราคุ้นชินกับสถานการณ์มากกว่าการที่จะต้องมานั่งคิดในหัวว่า ใช้ตอนนี้ดีมั้ย หรือใช้สถานการณ์ไหนดีกว่า เท่านี้เลย เหมือนภาษาไทยอ่ะแม่ที่เราใช้ตลอดแบบใช้ทั้งวันจนลืมไปแล้วว่ามันมีหลักวิชาการยังไงบ้าง ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน แล้วเจอกันนาจาาาาา

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรขาคณิตสามมิติ

เรขาคณิตสามมิติ

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้กับรูปเรขาคณิตสามมิติและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

เรียนรู้ที่มาของชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ มหาเวสสันดรชาดก

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่า มหาชาติชาดก หรือ มหาเวสสันดรชาดก กันมาบ้างแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ แต่รู้หรือไม่คะว่าคำ ๆ นี้มีที่จากอะไร คำว่า มหาชาติ เป็นคำเรียก เวสสันดรชาดก ส่วนชาดกนั้นเป็นชื่อคัมภีร์หนึ่งของพุทธศาสนาที่กล่าวถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ดังนั้นมหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชาติกำเนิดอันหยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า น้อง ๆ คงสงสัยใช่ไหมคะว่าทำไมเวสสันดรชาดกถึงได้ชื่อว่าเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ถ้าอยากรู้คำตอบแล้วล่ะก็ เราไปเรียนรู้ความเป็นของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   มหาเวสสันดรชาดก   มหาชาติชาดก

M5 Past Passive

Passive Voice ในอดีต

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1