Modals in the Past

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modals in the Past “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า

 

ทบทวน Modal Verbs

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (8)

 Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  Modals ซึ่งจะมีความหมายพิเศษในตัวของมันเอง และ ไม่ควรจะแปลตรงๆ ตามความหมายใน Dictionary เหมือนกริยาช่วยตระกูล V. to be, V. to do, และ V. to have เราจะต้องดูที่บริบทการใช้งานของผู้พูด

กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might can, could, must, ought to,
used to
ที่เราจะได้รู้และทบทวนในบทความนี้นั่นเองค่า

แต่ในบทเรียนนี้เราจะไปโฟกัสที่ Modals in the Past หรือ ในบางครั้งเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ Past Modals กันเด้อ

Sit back, relax, and enjoy your lesson! ขอให้สนุกกับการเรียนน๊า

 

 

สรุปการใช้  Modals in the past

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (2)

เราจะได้รู้เทคนิคการใช้ Modals in the past ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ด้านล่างนะจ้ะ

 

ใช้แสดงความไม่มั่นใจว่าบางอย่างได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (3)

ตามโครงสร้าง

“may (might) + have + Past participle (V.3)
หมายถึง การคาดคะเนเหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะ ไม่มั่นใจว่าได้เกิดขึ้นในอดีตหรือไม่ ตัวอย่างเช่น

 

John may have his car washed last week.
จอนอาจจะล้างรถเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว (อาทิตย์ที่แล้วหรือเปล่านะ ไม่แน่ใจ)

Jenny might have her hair cut with Jennifer.
เจนนี่อาจจะไปตัดผมมากับช่างที่ชื่อเจนนิเฟอร์มั้งนะ ***ผู้พูดไม่แน่ใจ

 

Danny may not have seen his best friend after graduation.
แดนนี่อาจจะไม่ได้เจอเพื่อนๆเลยหลังจากเขาเรียนจบแล้ว

 

Sunisa might not have eaten fat. That’s why she looks so “skinny.”
สุนิสาอาจจะไม่กินอาหารที่มีไขมันเลย เธอเลยดูผมมาก

 

 

มีแต่ไม่ได้ใช้ หรือ ไม่ทำ…

 

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (4)

ตามโครงสร้าง “could + have + Past participle”

ใช้แสดงความสามารถที่ไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ คือ ไม่ได้กระทำนั่นเองตัวอย่างเช่น

 

She could have started working three hours ago. 
แปล หล่อนควรจะเริ่มทำงานตั้งแต่สามชั่วโมงที่แล้ว

Timothy could have graduated his Master Degree last year.
ทีโมธีควรจะเรียนจบปริญญาโทตั้งแต่ปีที่แล้วๆ

 

 

ค่อนข้างจะมั่นใจว่าได้มีบางอย่างเกิดขึ้นในอดีต

 

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (5)

โครงสร้าง

must + have + Past participle (V.3) ใช้แสดงการคาดคะเนเหตุการณ์ที่ ค่อนข้างจะมั่นใจว่าได้
เกิดขึ้นในอดีต
ตัวอย่างเช่น

Your English is really good. You must have studied aboard.
ภาษาอังกฤษของคุณดีมากเลย คุณต้องเคยไปเรียนที่ต่างประเทศมาแล้วแน่ๆ

I can’t find my money. It must have fallen while I was on the flight.
หาตังค์ไม่เจอเลยมันต้องหล่นตอนอยู่บนเครื่องแน่ๆ

เหตุการณ์ตรงกันข้ามกับการกระทำ

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (6)

โครงสร้าง

should + have + Past participle(V.3) ใช้แสดงว่าเหตุการณ์นั้นๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจริงเหตุการณ์เกิดขึ้น ตรงกันข้ามกับข้อความที่พูด หรือ กระทำ ตัวอย่างเช่น

Steve should have come to school yesterday. (But he didn’t.)
สตีฟควรจะมาโรงเรียนนะเมื่อวาน แต่เขาก็ไม่มา

The stealers should not have broken into the police’s home last night. (But they did.)
พวกหัวขโมยไม่ควรจะบุกรุกเข้าไปบ้านตำรวจเลยเมื่อคืน แต่พวกเขาก็กระตุกหนวดเสือซะแล้ว

***สำนวน “broken into มากจาก break into แปลว่า บุกรุก” ออกข้อสอบบ่อยมากเวอร์

 

โครงสร้าง V. to be + supposed to+…

 

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (7)

 

การใช้ V. to be + supposed to+… แปลว่า “ควรต้อง” สมควรที่จะต้องทำอะไรบางอย่าง หากเป็นอดีต was, were จะหมายถึงสิ่งที่ควรทำแต่อาจจะไม่ได้ทำ แต่หาก ใช้ is, am, are จะถูกใช้ในการ แนะนำ ซึ่งหมายถึง  “สมควร, ควรจะ” ตามบริบทที่แตกต่างกันออกไป ดังตัวอย่างด้านล่างเลยนะคะ

 

You are supposed to work from home.
แปลว่า คุณสมควรที่จะทำงานจากบ้าน

 

Jenny is supposed to be with Jim. Why is she with another guy?
แปลว่า เจนนี่ควรจะอยู่กับจิม แล้วทำไมหล่อนอยู่กับผู้ชายคนอื่น

 

Daniel’s new secretary was supposed to call him at 10 a.m.
Why didn’t she call him?
แปลว่า เลขาคนใหม่ของเดเนียลสมควรจะโทรหาเขาตอน 10 โมงเช้า (แต่หล่อนอาจจะลืม)
ทำไมหล่อนไม่โทรกันนะ

 

The students were supposed to submit the project guideline today.
Where were they?

แปลว่า ที่จริงนักเรียนควรต้องส่งไกด์ไลน์โครงงานวันนี้ แล้วพวกเขาอยู่ไหนกันเนี่ย (ความจริงคือ นักเรียนไม่ได้ส่ง)

 

 

ตาราง Modal Auxiliaries 9 คำ พร้อมความหมาย

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (9)

การใช้ Modal Auxiliaries แสดง “ความเป็นไปได้”

สำหรับความเป็นไปได้ แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้ คือ เป็นไปได้มาก เป็นไปได้ปานกลาง เป็นไปได้น้อย

can can + V. infinitive แปลว่า สามารถ…
could could + V. infinitive แปลว่า สามารถ
may may + V. infinitive แปลว่า อาจจะ
might might + V. infinitive แปลว่า อาจจะ
shall shall + V. infinitive แปลว่า จะ/ ควรจะ
should should + V. infinitive แปลว่า จะ/ ควรจะ
will will + V. infinitive แปลว่า จะ
would would + V. infinitive แปลว่า จะ
must must + V. infinitive แปลว่า ต้อง

 

ข้อควรรู้: would จะใช้เพื่อแสดงการคาดการณ์ถึงเหตุการณ์ในอนาคต
ส่วนการใช้ Modal verbs พวก  must, can, will จะแสดงความเป็นไปได้มาก

 

  • Can

Can แปลเป็นไทยได้ว่า สามารถ หรือ มีโอกาสที่จะ ดังนี้

บอกเล่า: I can edit the video.

แปล ฉันสามารถตัดต่อวีดีโอได้

คำถาม: Can you edit the video?

แปล คุณสามารถตัดต่อวีดีโอได้มั้ย

ปฏิเสธ: I cannot (can’t) edit the video.

แปล ฉันไม่สามารถตัดต่อวีดีโอได้

 

 

 ทบทวนเมื่อต้องแสดงความเป็นไปได้  “ระดับปานกลาง”

 

NokAcademy_ ม.6 Modlas in the Past (10)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ ได้แก่ may, might, could, should

คำเหล่านี้เมื่ออยู่ในประโยคจะมีน้ำหนักของคำระดับปานกลาง และจะมีความหมายเหมือนกันซึ่งแปลว่า อาจจะ เช่น

I might like him a bit.

แปล ฉันอาจจะชอบเขานิดหน่อย

  • Could แสดงความเป็นไปได้น้อยมาก

Could นอกจากจะใช้เพื่อแสดงแนวโน้มของความเป็นไปได้ปานกลาง และ การเปรียบเทียบที่เกินจริง บางครั้งเป็นการประชดประชัน
เช่น

I’m hungry. I could eat a horse.

ฉันหิวมาก ฉันสามารถกินม้าได้ทั้งตัวเลย (เกินจริง)

 

She could win the beauty pageant.

หล่อนคงจะชนะการประกวดนางงามนะ (ประชด) ***ลองนึกถึงสถานการณ์แฟนนางงามขี้อิจฉาพูดประโยคนี้แล้วยิ้มที่มุมปากแบบร้ายๆ

 

How could I give a speech without a script?

ฉันจะพูดสุนทรพจน์ยังไงถ้าไม่มีสคริปต์ (ไม่มั่นใจ)

 

 

 

ตารางสรุปกริยาช่วยเพิ่มเติม

 

 

กริยาช่วยรูปปกติ

 

รูปปฎิเสธ (แบบเต็ม)

 

รูปปฎิเสธ (แบบย่อ)

1 is  (เป็น, อยู่, คือ) is not isn’t
2 am  (เป็น, อยู่, คือ) am not ไม่มีรูปย่อ
3 are  (เป็น, อยู่, คือ) are not aren’t
4 was  (เป็น, อยู่, คือ) was not wasn’t
5 were  (เป็น, อยู่, คือ) were not weren’t
6 do  (ทำ) do not don’t
7 does  (ทำ) does not doesn’t
8 did (ทำ) did not didn’t
9 has  (มี) has not hasn’t
10 Have  (มี) have not haven’t
11 Had (มี) had not hadn’t
12 Can (สามารถ) cannot can’t
13 Could  (สามารถ) could not couldn’t
14 May  (อาจจะ) may not mayn’t
15 Might  (อาจจะ) might not mightn’t
16 Will (จะ) will not won’t
17 Would จะ) would not wouldn’t
18 Shall (จะ) shall not shan’t
19 should (ควรจะ) should not shouldn’t
20 Must (จะ,จะต้อง) must not mustn’t
21 Need (จำเป็น) need not needn’t
22 Dare  (กล้า) dare not daren’t
23 ought to  (ควรจะ) ought not oughtn’t
24 used to  (เคย) used not to usedn’t to

 

เมื่อจะต้องใช้ Modals in the past สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ บริบทการใช้งาน ว่าเราต้องการจะสื่ออะไร เพื่อให้เราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง และคล่องมากๆแบบเจ้าของภาษากันจร้า อย่าลืมดูวีดีโอทบทวนบทเรียนในหัวข้อ วิชาภาษาอังกฤษ ชั้น ม.6 เรื่อง Modals in the past กันด้วยเด้อ เลิฟๆ

คลิกที่ปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจร้า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ป.6 Possessive pronoun โดยใช้ Whose_ Which ร่วมด้วย

การใช้ Possessive pronoun โดยใช้ Whose/ Which ร่วมด้วย

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคนค่ะ วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive pronoun โดยใช้ Whose/ Which ร่วมด้วย Let’s go! ไปลุยกันเลยจ้า   Possessive pronoun คืออะไร     What’s mine is yours, my dear.

มารยาทในการพูด

มารยาทในการพูดที่ดีมีอะไรบ้างที่เราควรรู้

บทนำ   สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน กลับเข้ามาสู่เนื้อหาสาระดี ๆ อีกครั้ง โดยวันนี้จะเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมารยาทในการพูด และจะต่อจากเนื้อหาเมื่อครั้งที่แล้วอย่างเรื่องมารยาทในการฟัง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์มาก ๆ เมื่อเราต้องไปพูดต่อหน้าที่สาธารณะ หรือพูดคุยสนทนากับเพื่อน ๆ คุณครู พ่อแม่ของเรา เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เราก็ควรเรียนรู้มารยาทที่ดีในการพูดไปด้วย ถ้าน้อง ๆ ทุกคนพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้จะมีเนื้อหาอะไรมาฝากกันบ้าง     การพูด

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่ง คือ การนำเสนอข้อมูลที่ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้โดยใช้รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเเต่ละรูปมีความกว้างเท่ากัน เเละใช้ความสูงหรือความยาวเเสดงปริมาณของข้อมูล เเต่จุดเริ่มต้นจะต้องเริ่มในระดับเดียวกันเสมอ อาจอยู่ในเเนวตั้งหรือเเนวนอนก็ได้ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ คือ การนำเสนอข้อมูลโดยเปรียบเทียบข้อมูลตั้งเเต่ 2 ชุดขึ้นไปในแผนภูมิเดียวกัน โดยมีเเท่งสี่เหลี่ยมที่เเสดงข้อมูลชนิดเดียวกันอยู่ด้วยกันเป็นชุดๆ เเละมีสีหรือเเรเงาในเเท่งสี่เหลี่ยมต่างกัน เเละระบุไว้บนเเผนภูมิด้วยว่าสีหรือเเรเงานั้น ๆ เป็นข้อมูลของอะไร ตัวอย่างของแผนภูมิเเท่งเปรียบเทียบ ส่วนประกอบของเเผนภูมิแท่ง: 1. ชื่อแผนภูมิ 2. จำนวน 3.

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1