Future Continuous Tense การกล่าวถึงสิ่งที่กำลังทำในอนาคต

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับ Tense หนึ่งในภาษาอังกฤษนั่นคือ Future Continuous Tense ครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
future continuous

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Future Continuous Tense

Future Continuous Tense หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Future Progressive แปลตามก็ตัวก็ง่ายๆ เลยครับว่าคือสิ่งที่กำลังทำในอนาคต Tense นี้จะใช้บอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตเหมือน Future Simple Tense แต่จะระบุว่าสิ่งที่ทำนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยครับ ซึ่งโครงสร้างก็ Tense นี้ก็คือ

future continuous structure

 

ตัวอย่างประโยคและการใช้งาน

ในโครงสร้างนี้นั้นมักจะมี “ตัวบอกเวลา” ในประโยคเพื่อเจาะจงช่วงเวลาในอนาคตที่เรากำลังทำกริยานั้นๆ ลองดูประโยคนี้ครับ

At five o’clock tomorrow, I will be having dinner with my family.
(เวลาห้าโมงเย็นพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังรับประทานอาหารเย็นกับครอบครัว)

Will be having คือโครงสร้างของ Future Progressive กริยาที่ใช้ก็คือ to have (รับประทาน) แสดงให้เห็นการกระทำที่ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต (กำลังรับประทานอาหารนั่นเองครับ)

future progressive example

 

ตัวอย่างอื่นๆ

Jane will be working for her project tomorrow night.
(เจนจะกำลังทำโปรเจ็คของเธอในคืนวันพรุ่งนี้)

Kim will be watching a football match on Friday.
(คิมจะกำลังดูฟุตบอลวันศุกร์นี้)

At midnight, she will be going to the airport.
(ในเวลาเที่ยงคืน เธอจะกำลังไปที่สนามบิน)

future cont example

 

ข้อควรจำ

กริยาที่ใช้ในโครงสร้างนี้จะต้องเป็น Action Verbs เท่านั้น กล่าวอย่างง่ายคือต้องเป็นกริยาที่สามารถแสดงการกระทำที่ต่อเนื่องได้ เช่น

 

After I read the book, I will be knowing all the answers for tomorrow’s test.
(หลังจากฉันอ่านหนังสือ ฉันจะกำลังรู้คำตอบของข้อสอบวันพรุ่งนี้ทั้งหมด)

ประโยคด้านบนนั้นผิดหลักไวยากรณ์เพราะคำว่า know นั้นไม่สามารถแสดงอาการอย่างต่อเนื่องได้ (รู้ก็คือรู้เลย ไม่สามารถ “กำลังรู้” ได้) ฉะนั้นต้องแก้เป็น Future Simple ธรรมดา

After I read the book, I will know all the answers for tomorrow’s test.
(หลังจากฉันอ่านหนังสือ ฉันจะรู้คำตอบของข้อสอบวันพรุ่งนี้ทั้งหมด)

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Future Continuous หรือ Future Progressive ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าน้องๆ คนไหนอยากทบทวนเพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ได้ด้านล่างเลยครับ ไว้เจอกันใหม่ครับผม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่เป็นจำนวนเท่า ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม เขียนแทนด้วย r โดยที่ r = พจน์ขวาหารด้วยพจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง ตัวอย่างของลำดับเรขาคณิต 2, 4, 8, 16, 32, … จะได้ว่า 

NokAcademy_Infinitives after verbs

Infinitives after verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปดูการใช้ Infinitives after verbs กันเด้อ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า Let’s go!   ทบทวนความหมายของ “Infinitive”   Infinitive คือ   กริยารูปแบบที่ไม่ผัน ไม่เติมอะไรใดๆเลย ที่นำหน้าด้วย to (Infinitive with “to” หรือ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ บทอาขยานที่ควรค่าแก่การจำ

จนถึงตอนนี้น้อง ๆ คงได้เรียนวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง แต่ละเรื่องก็อาจจะมีการใช้ลักษณะคำประพันธ์ที่ต่างกันออกไป หรือซ้ำกันบ้าง บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ ก็เป็นหนึ่งในวรรณคดีไทยที่อยู่ในแบบเรียนของน้อง ๆ แต่ความพิเศษคือลักษณะคำประพันธ์ที่น้อง ๆ อาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนอย่าง อินทรวิเชียร์ฉันท์ 11 จะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ   บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และอาจาริยคุณ เป็นบทร้อยกรองขนาดสั้น มีเนื้อหาแสดงคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ ประพันธ์ขึ้นโดย

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1