Third Conditional Sentences ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 3 ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence รูปแบบที่ 3 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Third Conditional Sentences คืออะไร?

พี่คิดว่าน้องๆ คงจะเคยได้เรียนประโยคเงื่อนไงรูปแบบต่างๆ กันมาอยู่บ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหัวข้อวันนี้เป็นรูปแบบสุดท้ายของโครงสร้างประโยคเงื่อนไข เราจะใช้ Third Conditional Sentences ในการพูดถึงสิ่งที่ตรงข้ามกับความจริงในอดีต หรือง่ายๆ เลยมักจะใช้กับสิ่งที่เรา “เสียดาย” หรือเป็นอารมณ์ประมาณว่า “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะ…” ลองมาดูตัวอย่างประโยคที่ใช้โครงสร้างแบบนี้กันครับ

 

If I had studied harder, I would have passed the exam.
ถ้าฉันตั้งใจเรียนให้มากกว่านี้ ฉันก็คงจะสอบผ่าน

 

ประโยคตัวอย่างดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “อดีตที่ตรงข้ามกับความจริงขณะที่พูด” ซึ่งก็คือในอดีตนั้น “ฉันไม่ตั้งใจเรียน” และ “ฉันสอบไม่ผ่าน” ประโยคเงื่อนไขแบบนี้จึงถูกใช้เพื่อแสดงความ “เสียดาย” หรือ “รู้อย่างนี้ฉันน่าจะตั้งใจเรียน” นั่นเองครับ

 

โครงสร้างของประโยค

จากตัวอย่างด้านบน เราสามารถเขียนโครงสร้างของประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 3 ได้ดังนี้ครับ

third conditional sentences

 

ข้อควรจำ

  1. เราสามารถสลับที่ประโยคที่อยู่หลังคอมม่าขึ้นมาไว้ข้างหน้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีคอมม่าอีก และยังให้ความหมายเหมือนเดิม เช่น

If I had studied harder, I would have passed the exam.
สามารถเปลี่ยนเป็น
I would have passed the exam if I had studied harder.

 

ตัวอย่างการใช้

 

If I had left my house at 9, I would have arrived here on time.
ถ้าฉันออกจากบ้านตั้งแต่ 9 โมง ฉันก็คงมาถึงที่นี้ตรงเวลา

(ความจริงคือ ฉันออกจากบ้านสาย และฉันมาถึงสาย)

She wouldn’t have missed the flight if she had taken a taxi to the airport.
เธอคงจะไม่พลาดเที่ยวบิน ถ้าเธอนั่งรถแท็กซี่มาสนามบิน

(ความจริงคือ เธอพลาดเที่ยวบิน เพราะเธอไม่ได้นั่งแท็กซี่มาที่สนามบิน)

They would have had 2 children if they had married.
พวกเขาคงจะมีลูก 2 คนแล้วถ้าพวกเขาแต่งงานกัน

(ความจริงคือ พวกเขาไม่ได้แต่งงานกัน และไม่มีลูก)

example

 

เป็นยังไงกันบ้างครับน้องๆ สำหรับเรื่อง Third Conditional Sentences ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่มั้ยล่ะครับ? หลังจากนี้น้องๆ อย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ หรือจะรับชมวิดีโอจาก Nock Academy ของเราเพื่อเป็นการทบทวนอีกครั้งนึงก็ได้ครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

NokAcademy_ ม.4Gerund

Gerund

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund   อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   พงศาวดาร คือเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติ เรื่องนี้น้อง ๆ ก็คงจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาพอสมควรแล้วใช่ไหมคะ แต่น้อง ๆ เคยได้ยินเรื่อง โคลงภาพพระราชพงศาวดาร กันมาบ้างหรือเปล่าคะว่าคืออะไร ทำไมถึงมีทั้งโคลง ภาพ และพงศาวดารในเรื่องเดียวกันได้ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประวัติความเป็นมาและจุดประสงค์ในการแต่งโคลงภาพพระราชพงศาวดาร    

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พันธกิจของภาษา   พันธกิจของภาษาคืออะไร?   พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1