Past Perfect Continuous Tense แบบเข้าใจแจ่มแจ้ง

สวัสดีน้องๆ ม.​ 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำทบทวนเกี่ยวกับ Past Perfect Continuous กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลย
Past Perfect Continuous

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Past Perfect Continuous

Past Perfect Continuous Tense หรือน้องๆ อาจจะเคยเห็นอีกชื่อหนึ่งของมันนั่นคือ Past Perfect Progressive ครับ เป็นประเภทหนึ่งของ Tense ในภาษาอังกฤษครับ ใช้ในการบอกเหตุการณ์ที่กำลังทำในอดีต (คล้ายๆ Past Continuous) แต่เน้นความต่อเนื่องในการทำและจบลงในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีตนั่นเองครับ โดยมีโครงสร้างดังนี้

Past Perfect Continuous

 

สำหรับ Past Perfect Continuous นั่นจะไม่เหมือนกับ Present Perfect Cont. ที่ว่า หากเป็น Present Perfect Cont. นั้นเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีตก็จริง แต่การกระทำนั้นยังคงทำต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ Past Perfect Progressive. นั้นเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีต มีการกระทำต่อเนื่องและจบลงไปแล้วในอดีตนั่นเอง

Timeline

 

ตัวอย่าง & ข้อสังเกต

เทคนิคง่ายๆ ในการจำและสังเกต Past Perfect Progressive นั่นก็คือ “มันจะไม่มาคนเดียว” ครับ โดย Tense นี้นั้นมักจะมาคู่กันกับ Past Simple เพื่อแสดงให้เห็นว่า “มีการกำลังกระทำอะไรบางอย่างอยู่ จากนั้นก็เกิดเหตุการณ์อื่นเข้ามาแทรก” ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Jane had been drinking milk when dad walked into the kitchen.

(ขณะที่เจนกำลังดื่มนมอยู่นั้นพ่อก็เดินเข้ามาในห้องครัว)

ประโยคนี้ต้องการเน้นให้เห็นว่าเจนดื่มนมมาได้ระยะเวลาหนึ่งแล้วครับก่อนที่พ่อจะเดินเข้ามา

He had been working at the company for 4 years when he got the promotion.

(เขาทำงานที่บริษัทนี่มาเป็นเวลา 4 ปีแล้วก่อนที่จะถูกเลื่อนขั้น)

เช่นกันครับ ประโยคนี้ต้องการแสดงให้เห็นถึงการกระทำที่ต่อเนื่องในอดีต(ทำงานต่อเนื่องมาเรื่อยๆ)ก่อนที่จะได้รับการเลื่อนขั้นนั่นเองครับ

Example

 

ข้อสังเกต

  • Past Perfect Progressive และ Past Simple จะมาคู่กัน
  • Past Perfect Progressive จะเกิดก่อน Past Simple เสมอ โดยที่ Past Simple จะเข้ามาแทรกสิ่งที่กำลังทำอยู่
  • มักจะมีคำว่า when, for, since และ before เชื่อมระหว่าง 2 Tense นี้เสมอ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับ Past Perfect Progressive ไม่ได้ยากเกินความสามารถน้องม. 5 เลยใช่มั้ยครับ หากน้องๆ ยังไม่เข้าใจหรืออยากทบทวนเพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (จุดตัดแกน x และจุดตัดแกน y)

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง การแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณแล้วนำมาเขียนแสดงเป็นกราฟโดยใช้วิธีการหาจุดตัดของแกน x และ แกน y

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง

การวัดความยาวส่วนโค้ง การวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้จะเป็นการวัดความยาวของวงกลม 1 หน่วย วงกลมหนึ่งหน่วย คือวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่จุดกำเนิด และมีรัศมียาว 1 หน่วย จากสูตรของเส้นรอบวง คือ 2r ดังนั้นวงกลมหนึ่งหน่วย จะมีเส้นรอบวงยาว 2 และครึ่งวงกลมยาว   จุดปลายส่วนโค้ง   จากรูป จะได้ว่าจุด P เป็นจุดปลายส่วนโค้ง   จากที่เราได้ทำความรู้จักกับวงกลมหนึ่งหน่วยและจุดปลายส่วนโค้งแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1