การใช้ Why and because + want + infinitive

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้ Why and because + want + infinitive

เกริ่นนำเกริ่นใจ

กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย

คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ และสามารถถ่ายทอดมันออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการบอกเล่าเหตุผลนั้นไม่ยากเพียงแค่อาศัยคำ ๆ นี้ “เพราะว่า” แล้วตามด้วยเหตุผลว่าทำไม คือมันง่ายแค่นี้เลย เราก็จะเข้าใจว่าอะไรกันแน่ที่ทำให้คนเราเลือกที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่มันก็มีบางกรณีที่เราทำไป “เพราะ” อารมณ์ทำให้ไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลแบบสวยหรูได้ แต่ อารมณ์ก็เป็นเหตุผลได้  “เพราะ” การกระทำเกิดจากการกระตุ้นของอารมณ์เช่นกัน 

มาถึงตอนนี้แล้วเราก็พอจะเห็นแล้วใช่มั้ยละว่า ทั้งการเขียนและการพูด เราล้วนแต่เคยใช้โครงสร้างการให้เหตุผล รวมถึงการพยายามตั้งคำถามหาเหตุผลนั้นด้วย ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน การตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผลของการกระทำและต้นตอของปัญหาก็เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่สำคัญที่นำไปสู่การเป็นภาษาที่ถูกใช้งานไปทั่วโลก (เราจะไม่โยงเข้าประวัติศาสตร์หรอกนะ) อ่ะมะแม่ เรามาเข้าเรื่องของเรากันเลย และเรื่องในวันนี้คือ… การใช้ WHY และ BECAUSE……………….. เฮฮฮฮฮฮฮฮฮฮ โอ้ลืม!! แล้วก็เรื่องของการบอกความต้องการโดยใช้ WANT………เฮฮฮฮฮฮฮฮฮ

ภาพใหญ่ของ การใช้ Why and because + want + infinitive

 

  • อยากรู้เหตุผลต้องตั้งคำถาม WHY (ทำไม) 

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องของ WHY เราจะต้องเข้าใจครอบครัวของ WHY ก่อนว่ามีอะไรบ้าง โดย WHY นั้นอยู่ในตระกูล WH-Question ประกอบไปด้วย WHAT, WHERE, WHEN, WHY, WHO, HOW 

WH-Questions อธิบายง่าย ๆ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย WH เว้นแต่ HOW ที่ไม่มี W อ่ะนะ แต่ภาพหลัก ๆ ก็จะประมาณนี้ 

WH-Questions Sentence
WHAT ถามหาอะไร What is your name? คุณชื่ออะไร 
WHERE ถามหาที่ไหน Where are you? คุณอยู่ไหน
WHEN ถามว่าเมื่อไหร่ When is your birthday? วันเกิดคุณเมื่อไหร่
WHY ถามว่าทำไม Why are you here? ทำไมคุณถึงอยู่ที่นี่
WHO ถามว่าใคร Who are you? คุณเป็นใคร
HOW ถามว่าอย่างไร How are you? คุณเป็นอย่างไรบ้าง

โครงสร้างการตั้งคำถามด้วย WH-Question

Wh-question + an auxiliary verb (be, do or have) + subject + main verb

ตัวอย่างประโยค เช่น What do you do for a living? คุณทำงานอะไรอ่ะ?

หรือ

 Wh-question + a modal verb (หรือ Helping verb) + subject + main verb: 

ตัวอย่างประโยค เช่น Where should I park the car? ฉันควรจอดรถที่ไหนดี

  • อยากได้คำตอบว่าทำไมให้ใช้ Because (เพราะว่า)

เอาเข้าจริง เรื่องนี้มันค่อนข้างเหมือนจะง่าย แต่มันก็มีความสับสนอยู่ เพราะคำว่า because ที่มีความหมายว่า เพราะว่า นั้นไม่ได้มีแค่คำเดียวไง มันมีคำอื่นที่มีความหมายที่คล้ายกัน โดยคนที่เรียนใหม่ ๆ มักจะสับสนวิธีการใช้ Because และ Because of จนบางครั้งไม่ทราบว่าจะใช้คำไหนในสถานการณ์ใดบ้าง 

ง่าย ๆ เลย Because เป็นคำสันธาน (conjunction) ใช้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ในขณะที่ Because of เป็นคำบุพบท (preposition) ซึ่งโดยปกติแล้วจะวางไว้หน้าคำนาม หรือคำสรรพนาม 

โครงสร้างประโยคของการใช้คำว่า Because คือ 

Because + Subject + Verb

ตัวอย่างประโยค เช่น She crashed her car because she was driving too fast. เธอขับรถชนเพราะเธอขับรถเร็วเกินไป 

โครงสร้างประโยคของการใช้คำว่า Because of คือ 

Because of + Noun Phrase / Verb-ing

ตัวอย่างประโยค เช่น Because of the rain, I missed the office. เพราะฝนฉันเลยไปออฟฟิศไม่ทัน

  • เหตุผลที่ทำเพราะ “อยาก” เรานั้นจะใช้ Want + infinitive

คำถามว่า ทำไมเราต้องเจาะจงไปที่ Want + infinitive นั่นก็เพราะ Want+infinitive ใช้เพื่อบอกความต้องการที่จะทำอะไร หรือต้องการจะเป็นอะไรในอนาคต

โครงสร้างประโยคของการใช้ Want+infinitive คือ

 I / You / We / They + want to + V1

      He / She + wants to + V 1

ตัวอย่างประโยค เช่น I want to take a bus to Siam ฉันอยากขึ้นรถบัสไปสยาม 

She wants to drink some tea. เธออยากดื่มชาสักหน่อย

 

การทำงานของ Why and because + want + infinitive

หลังจากเกริ่นภาพรวมของสิ่งที่เราจะพูดมาทั้งหมดแล้ว เราก็มาดูภาพรวมของเรื่อง WHY, because ที่ใช้ Want + infinitive นั่นเป็นอย่างไรกัน ด้วยสูตรง่าย ๆ คือ เริ่มด้วย WHY ตามด้วย Because คือมันแค่นั้นเองเลย

  • เริ่มต้นด้วยคำถาม WHY

โครงสร้างการตั้งคำถามด้วย WH-Question

Wh-question + an auxiliary verb (be, do or have) + subject + main verb

ตัวอย่างประโยค เช่น Why do you want to study English at Nockacademy? ทำไมคุณถึงอยากเรียนภาษาอังกฤษกับ Nockacademy ละ?

หรือ

 Wh-question + a modal verb (หรือ Helping verb) + subject + main verb: 

ตัวอย่างประโยค เช่น Why can you speak English very well? ทำไมคุณถึงพูดอิ้งเก่งจัง?

  • ถาม Why ตอบด้วย Because 

โครงสร้างประโยคของการใช้คำว่า Because คือ 

Because + Subject + Verb

ตัวอย่างประโยค เช่น 

  • Because I want to study English at Nockacademy to improve my English quickly. (ภาษาพูดใช้ได้ แต่ถ้าเขียนไม่ได้ เพราะจะเข้าข่าย Fragmented sentence)
  • I can speak English very well because I want to study abroad. ฉันพูดอิ้งไปปังปั้ว เพราะฉันอยากจะเรียนต่างประเทศ
  • รวมกันเป็นโกโก้ครันช์!!!

  • Why do you want to learn English at Nockacademy?  ทำไมคุณถึงอยากเรียนภาษาอังกฤษกับ Nockacademy ละ?
    • Because I want to improve my English quickly. (ภาษาพูดใช้ได้ แต่ถ้าเขียนไม่ได้ เพราะเข้าข่าย Fragmented sentence) เพราะฉันอยากพัฒนาภาษาอังกฤษของฉันเร็ว ๆ
  • Why can you speak English very well? ทำไมคุณถึงพูดอิ้งเก่งจัง?
    • I can speak English very well because I want to study abroad.  ฉันพูดอังกฤษได้แบบปังปั้ว เพราะฉันอยากจะไปเรียนต่างประเทศ

สาระมีอยู่จริง

ตัวอย่างประโยคที่ให้ไปที่แบบตอนตอบมันเหมือนจะยาว ๆ เพราะเราทวนความคำถามช่วงต้น แล้วตามด้วย Because ก็เพราะทำให้ประโยคนั้นสมบูรณ์นะ หากเป็นภาษาพูดเราก็ขึ้นต้นด้วย Because ไเลย ไม่ต้องไปทวนก็ได้ เพราะสุดท้ายตอนสนทนาเค้าก็ถามหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงทำแบบนั้น คิดแบบนั้นอยู่ดี แต่เวลาเขียนก็แนะนำให้เขียนตัวเต็ม เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดเป็นปัญหาด้าน Grammar อย่างเรื่อง Fragmented sentence งี้ แต่ตอนพูดหรือสื่อสารก็ตัดไปแล้วแต่เรา ฮันแน สงสัยเรื่อง Fragmented sentence ละสิ ถ้าอยากรู้เพิ่มก็คอมเม้นไปเลย เดี๋ยวเขียนให้จ้า

สุดท้ายนี้

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องการตั้งถามหาเหตุผล และการตอบอย่างมีเหตุผลนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว หากเราเข้าใจหลักที่ว่า เมื่อใดที่มี WHY เรามักจะได้รับรู้ถึง Because ของคนที่ถูกถามเสมอ เพราะเมื่อเราต้องการเหตุผลคำว่า “เพราะว่า“ ก็จะขึ้นมาอยู่ในหัวเสมอ แค่นี้เลย แต่ถ้าจะให้แนะนำวิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ผลดีที่สุดก็คงจะเป็นการให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ฝึกแนะนำคนอื่นเยอะ ๆ เอาไปใช้ในการพูดตอนแบบถามว่าทำทำไม เพราะอะไรถึงอยากเรียนเรื่องนี้ เพราะอะไรถึงอยากทำแบบนั้น ตอนนั้น เอาจริงนะแม่การฝึกฝนจะทำให้เราคุ้นชินกับสถานการณ์มากกว่าการที่จะต้องมานั่งคิดในหัวว่า ใช้ตอนนี้ดีมั้ย หรือใช้สถานการณ์ไหนดีกว่า เหมือนภาษาไทยที่เราใช้ตลอดแบบใช้ทั้งวันทั้งคืนจนลืมไปแล้วว่ามันมีหลักวิชาการยังไงบ้างอ่ะแม่ ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน แค่นี้ชีวิตก็ง่ายขึ้นแล้วปะ แล้วเจอกันครับ Takashi (เนี่ยเปลี่ยนอารมณ์กลับมาไม่ทันเลยครับ เราเน้นสายฮาพร้อมสาระนะจะ เพื่อนักอ่าน นักเขียนเองก็พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อสื่อมันออกไปอย่างน่ารัก และถูกใจทุกคน ปล.จากการสำรวจอ่ะนะ)

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

การพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของการพูดอภิปราย   การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี มีอะไรบ้าง?

หลังจากที่บทเรียนคราวที่แล้วเราได้เรียนเรื่องประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องสุนทรภู่ไปแล้ว วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึง คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี ว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง เพื่อที่น้อง ๆ จะได้รู้เหตุผลว่าทำไมวรรณคดีเรื่องนี้ถึงเป็นเรื่องที่โด่งที่สุดอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ เป็นวรรณคดีที่ดังข้ามเวลาและอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องพระอภัยมณี     คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์   พระอภัยมณีเป็นเรื่องมีรสทางวรรณคดีคือเสาวรจนีย์และสัลปังคพิสัย ดังนี้ เสาวรจนีย์ เป็นบทชมโฉมหรือความงาม พบในตอนที่พระอภัยชมความงามของนางเงือก     2.

การชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

วิธีการพูดเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูวิธีการพูดให้ข้อเสนอแนะ ชักชวน และแนะนำกันค่ะซึ่งในการเสนอแนะ หรือชักชวนนั้น ผู้พูดจะแสดงความคิดเห็นเสนอแนะ เพื่อให้กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยกัน มีการใช้ภาษาหลายระดับ และใช้รูปประโยคหลายชนิด เช่นเดียวกับการพูดในความหมายต่างๆ ที่ผ่านมาเราจึงต้องใช้รูปประโยคต่างๆ เช่นประโยคบอกเล่า คำสั่ง ชักชวน เพื่อให้ผู้ฟังทำตาม รวมถึงเทคนิคการตอบรับและปฏิเสธ ดังในตัวอย่างรูปแบบประโยคด้านล่างนะคะ   1. ประโยคบอกเล่า (Statement)  

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1