การใช้ should ในการสร้างประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้ should ในการสร้างประโยค

เกริ่นนำ เกริ่นใจ

เคยสงสัยมั้ยว่า ชีวิตนี้ของเราควรจะต้องทำอะไรบ้าง? ภาษาอังกฤษเองก็มีอะไรแบบนี้เหมือนกันนะเอาจริง จริง ๆ ทุกภาษาก็มีเหมือนกันนะแม่ที่หากเราต้องการที่จะแนะนำว่าใครควรทำหรือชักชวนเพื่อให้รู้จักมักคุ้นกับอะไรยังไงสักอย่างอย่างมีระบบเราก็จะมีชุดคำศัพท์ที่เรา “ควร” ที่จะใช้ และนั่น!! นำมาซึ่งเนื้อหาของเราในวันนี้ อย่างเรื่อง “ควร หรือ Should” ในโลกของภาษาอังกฤษกัน

แก… เราควรไปทำผมใหม่ปะ?

แก… เราว่าเราควรตั้งใจเรียนแล้วปะ?

แก… เราควรซื้อตัวนี้นะ เพราะมันต๊าซมากแม่!!

อะไรพวกนี้คือ จุดเริ่มต้นของการเข้าใจคำว่า Should ของเรา โดยคำว่า Should เนี่ย พี่แนะนำเลยว่าถ้าเราพึ่งรู้จัก ก็ขอให้แปลเป็นภาษาไทยในหัวแล้วเอาไปใส่ประโยคเลยก็ได้ แล้วพอทำไปเรื่อย ๆ ก็จะคล่องเอง แต่จะใส่แบบสุ่มสี่สุ่มห้าเลยอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ “ควร” ทำนัก เพราะฉะนั้น เราจะมาทำความเข้าใจการใช้ โครงสร้างประโยค และสิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้ Should ในภาษาอังกฤษกันเนาะ 

ภาพใหญ่ของ Should

แต่ก่อนจะเข้าเนื้อหาหลักของวันนี้ พี่ก็อยากจะให้ทุกคนได้อ่านภาพรวมของคำว่า Should ก่อน โดย Should เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb ที่มีความหมายว่า คำกริยาที่ใช้ช่วยทำให้ประโยคนั้นดีขึ้น ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเราควรที่จะทำอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เราควรจะ…นะ”  โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Should มาช่วย โดยหน้าที่ของ Auxiliary verb ก็ง่ายมาก มีแค่ 3 หน้าที่หลักก็เท่านั้นเอง นั่นก็คือ มันช่วยบอก “อารมณ์ เวลา และน้ำเสียง” ของเราและเพื่อให้จำง่ายเราจึงมักเรียกเค้าว่า Helping verb นั่นเองงงงง

Verb to be  Verb to have  Verb to do
Is, am, are, was, were
(เป็น อยู่ คือ)
Have, has, had (มี) Do, does, did (ทำ)
Will, would, shall (จะ)
Should, ought to (ควรจะ)
Can, could (สามารถ)
Have to, has to, had to
(ต้อง)
Need (จำเป็น)
Had better (ควรจะ)
Would rather (Prefer)
Used to (เคย)
Dare (ท้า/กล้า)

โครงสร้างของ Auxiliary verb หรือ Helping verb

Subject + Helping verb + Infinitive verbs

(Infinitive คือ verb รูปธรรมดาที่ไม่เติม -ing, -ed, to, s หรือ es)

พอมาถึงตอนนี้ก็เยอะอยู่นะแม่ แต่วันนี้เราจะมาเรียนแค่คำว่าเดียวคือ Should ไม่งั้นไม่ไหว ถ้าจะให้อธิบายการทำงานของแต่ละคำคงต้องใช้เวลาทั้งวัน พูดและเขียนกันจนมือหงิกกันไปเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น เรามาดูการทำงานของคำว่า Should กันแม่

การทำงานของ Should

เอาจริง ๆ นะแม่ มันมีวิธีใช้ที่เยอะมาก เยอะในที่นี้คืออาจจะมากกว่า 5 สถานการณ์ด้วยซ้ำ ยังไงเรามาดูกันว่าเราสามารถใช้ Should ในสถานการณ์ไหนบ้าง

การสร้างประโยคทั่วไปด้วย Should

โครงสร้างประโยค: Subject + Should (not) + Infinitive verb + Object word order

ตัวอย่างเช่น She should go to school today. (เธอควรที่จะไปโรงเรียนวันนี้)

You should eat more fruits. (คุณควรที่จะกินผลไม้ให้มากขึ้น)

โดยถ้าเราต้องการที่จะทำให้เป็นประโยคปฏิเสธก็แค่เติม Not ไว้หลัง Helping verb ก็พอ ตัวอย่างเช่น  She should not go there (เธอไม่ควรไปที่นั่นนะ) หรือ You shouldn’t talk to the teacher like that (เธอไม่ควรพูดกับครูแบบนั้นนะ) เป็นต้น

การตั้งคำถามด้วย Should

โครงสร้างประโยคคำถาม: Should + Subject + Infinitive verb + Object word order

ตัวอย่างเช่น Should she go to school today? (เธอควรที่จะไปโรงเรียนวันนี้ใช่ไหม?)

Should you eat more fruits? (คุณควรที่จะกินผลไม้ให้มากขึ้นใช่ไหม?)

โดยหากเราต้องการที่จะตอบ ทริคง่าย ๆ เลยก็คือ ถ้าเราเจอเรื่อง Helping verb แล้วเข้าเรื่องของประโยคคำถาม ให้เราคิดไปเลยว่าลักษณะการตอบส่วนใหญ่จะไปทาง Yes หรือ No แบบเพียว ๆ เช่น Should she go to school today? เราก็ตอบไปว่า Yes, she should หรือ No, she shouldn’t เป็นต้น

ใช้ Should ตอนไหน

ใช้ตอนแนะนำเพื่อนหรือคนรอบข้าง

  • You should keep your pencil bag in a safe place. เธอควรเก็บกระเป๋าดินสอไว้ในที่ที่ปลอดภัย (นะแม่)
  • You should stop playing the game and start studying for an exam. เธอควรหยุดเล่นเกมแล้วเริ่มเตรียมตัวสอบได้แล้ว (นะแม่)

ใช้ตอนเป็นแม่พระผู้รักความยุติธรรม และความดี

  • We should think of others before ourselves. คุณควรคิดถึงคนอื่นก่อนคิดถึงตัวเองนะ
  • We should report this problem to the police. คุณควรรายงานปัญหานี้ให้กับตำรวจนะ
  • She suggested that we should visit our mother more often. เธอแนะนำว่าเราควรที่จะไปเยี่ยมแม่ของเราบ่อยขึ้น

ใช้เขียนหลังจากเหตุการณ์อะไรสักอย่างเกิดขึ้นเพื่อบอกถึงความเป็นเหตุเป็นผล

  • She left school at 4.00 pm, so she should be home now. เธอออกจากโรงเรียนตอนสี่โมงเย็นแล้ว ดังนั้นเธอควรจะถึงบ้านแล้วนะตอนนี้ (อันนี้ฟังเหมือนเจอในหนังบ่อยมากแม่)

ใช้เพื่อแสดงความสุภาพใน Conditional Clause (ใช้ในการเขียนที่เป็นทางการ)

  • If you should decide to go, please contact us. คือถ้าคุณควรที่จะตัดสินใจที่จะไปตอนนี้ ก็ช่วยบอกเราหน่อยนะ (ประมาณว่า ถ้าคุณ(ควรที่)จะตัดสินใจไปตอนนี้ ก็ช่วยบอกเราหน่อยนะ เราจะได้ให้คุณไปงี้)
  • Should you need more information, please contact our teachers. ถ้าคุณต้องการข้อมูลมากกว่านี้ก็ช่วยติดต่อครูของเรานะ (แปลเป็น If ไปเลยก็จะง่ายสำหรับการจำนะ) ฟังแล้ว Grand มากบอกเลย เก็บไว้ใช้เด้ออ

ไหน ๆ ก็มาถึงตรงนี้แล้ว เรามาเรียนโครงสร้างประโยคที่ค่อนข้างเจอบ่อยและมีความเป็นสำเร็จรูปในเรื่อง Should กันหน่อยดีกว่ากับช่วง Should และเพื่อนของเขา

Should และเพื่อนของเขา

คำว่า Should จะมีชุดคำที่ไว้พูดที่เมื่อเราเจอ เราก็จะเจอคำว่า Should ด้วยนะ ตัวอย่างเช่น 

  • It is a pity that…
  • It is odd that…
  • I am sorry/surprised that…

โดย Expression พวกนี้มักจะใช้ร่วมกับ Should ซึ่งจะทำให้มีความเป็นทางการมากกว่าเมื่อมาด้วยกัน เช่น 

  • It is a pity that this should happen. มันเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เรื่องนี้เกิดขึ้น 
  • It is odd that this should happen. มันเป็นเรื่องแปลกที่สิ่งนี้ควรเกิดขึ้น
  • I am sorry that this should happen to her. ฉันเสียใจที่เรื่องนี้ควรเกิดขึ้นกับเธอ

Should กับความรู้สึกเสียดาย

คำว่า Should น่าสนใจมาก เพราะมันสามารถสร้างประโยคที่มีความหมายที่บอกว่า มันควรจะเกิดขึ้นนะ มันน่าจะเกิดขึ้นนี่หว่า ให้ความรู้สึกว่าทำไมมันไม่เกิดขึ้นวะเนี่ย 

โครงสร้างมันคือ Should + have + V.3

และด้วยประโยคนี้เอง มันทำให้เราสามารถใช้แสดงความเสียใจกับสิ่งที่ทำหรือไม่ได้ทำได้ อยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ตัวอย่างเช่น รู้งี้ เราควรจะพา A มาด้วยเนาะ ป่านนี้เราคงได้สนุกด้วยกันไปแล้ว หรือมันคือสถานการณ์แบบ “รู้งี้” นั่นเอง… รู้งี้…

ตัวอย่างประโยค

  • You should have told me to stop at the red light. เธอน่าจะ (ควรจะ) บอกเราให้หยุดตรงไฟแดงก่อนอ่ะ (ไม่งั้นคงไม่ต้องเจอกับผลที่ตามมาหรอก)
  • You should have stopped at the red light. คุณควรที่จะหยุดที่ไฟแดงนะ (อารมณ์ประมาณทำไมไม่บอกวะเนี่ย น่าจะบอกก่อนอ่ะนะ)

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่อง ควรจะ มันไม่ได้ยากเลยนะ ถ้าเราตั้งความเข้าใจบนฐานว่า Should ใช้กับการให้คำแนะนำ และ ใช้ตอนอยากพูดว่า “รู้งี้” (น่าจะเกิดขึ้นอย่างงั้นอย่างงี้นะเป็นอารมณ์ประมาณว่า รู้งี้ควรที่จะ) แค่นี้เลย แต่ถ้าจะให้แนะนำวิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ผลดีที่สุดก็คงจะเป็นการให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ฝึกแนะนำคนอื่นเยอะ ๆ เอาไปใช้ในการพูดตอนเป็นแม่พระให้มาก ๆ เพราะการฝึกฝนจะทำให้เราคุ้นชินกับสถานการณ์มากกว่าการที่จะต้องมานั่งคิดในหัวว่า ใช้ตอนนี้ดีมั้ย หรือใช้สถานการณ์ไหนดีกว่า เท่านี้เลย เหมือนภาษาไทยอ่ะแม่ที่เราใช้ตลอดแบบใช้ทั้งวันจนลืมไปแล้วว่ามันมีหลักวิชาการยังไงบ้าง ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน แล้วเจอกันนาจาาาาา

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

NokAcademy_ ม4 Passive Modals (2)

Passive Modals คืออะไร

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ ทบทวนสักหน่อย   ก่อนอื่นเราจะต้องทบทวนเรื่อง Modal verbs หรือ Modal Auxiliaries กันก่อนจร้า แล้วจากนั้นเราจะไปลงลึกเรื่อง Passive voice หรือโครงสร้างประธานถูกกระทำที่คุ้นหูกันหากใครที่ลืมแล้วก็ไม่เป็นไรน๊า มาเริ่มใหม่ทั้งหมดกันเลยจร้า กลุ่มของ

กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้แนะนำการเขียน กราฟแสดงคำตอบของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  ซึ่งจะเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ของอสมการทั้ง 5 สัญลักษณ์ คือ มากกว่า (>), น้อยกว่า (<), มากกว่าหรือเท่ากับ (≥), น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) และ ไม่ท่ากับ(≠) โดยเขียนแสดงบนเส้นจำนวน จุดทึบและจุดโปร่ง เราจะเลือกใช้จุดทึบ (•) และจุดโปร่ง (°) แทนสัญลักษณ์อสมการ ดังนี้ มากกว่า

วิธีใช้คำราชาศัพท์ ใช้อย่างไรให้เหมาะสม

ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับคนทั่วไป การใช้คำราชาศัพท์ เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก เพราะการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บทเรียนที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีใช้คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งคำนาม และคำสรรพนาม ว่าเราควรแทนตัวเองหรือพระองค์อย่างไรให้ถูกต้อง ถ้าอยากรู้แล้ว ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ลักษณะการใช้คำราชาศัพท์   คำราชาศัพท์มีไว้ใช้สำหรับคนธรรมดาทั่วไปพูดกับผู้ที่มีศักดิ์สูงกว่าอย่าง กษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1