การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน + การใช้ Can/ Could/ Should

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่เจอบ่อยและการใช้ Can, Could, Should กันนะคะ
ไปลุยกันเลย

 

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง (Imperative sentence)

 

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง

 

รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence

การใช้รูปประโยคคำสั่ง คำขอร้อง คำแนะนำ ที่ใช้ในการเรียน

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Speak English.

แปลว่า พูดภาษาอังกฤษสิ

Watch out!
แปลว่า ระวัง

Listen up.
แปล ฟังนะ

Sit here.
แปลว่า นั่งตรงนี้

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น

Be on time.
แปลว่า ตรงเวลาด้วย

Be a good boy.
แปลว่า จงเป็นเด็กดี

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง Don’t + V.1 เช่น Don’t eat. = อย่ากิน
  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น Don’t be silly. = อย่างี่เง่า

Imperative sentence
ในเชิงขอร้อง

Imperative Sentence ในเชิงขอร้อง

 

เราสามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please (กรุณา)
เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น

Please give me a chance.
= กรุณาให้โอกาสฉันด้วย

 

Walk faster, please.
= กรุณาเดินเร็วขึ้นด้วย

 

 ประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)

ประโยคคำสั่งแบบชักชวน

 

ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายแบบชักชวนนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวน แบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่ผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงการชวนไปทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ ซึ่ง มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ

 โครงสร้างประโยคคำสั่ง (แบบชักชวน)

 

” Let’s + V. infinitive…”


Ex. Let’s go to school, shall we?
ไปโรงเรียนกันเถอะ ป้ะ 

 

 

ตัวอย่าง

Let’s go to the canteen.
ไปโรงอาหารกันเถอะ

เพิ่มเติม: บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน
แปลว่า ไปกันเถอะ(ป้ะ) เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนสนิท

ประโยคแนะนำ

 

ประโยคแนะนำ

ประโยคคำแนะนำส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่าซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

ตัวอย่าง

I suggest that you should study more.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรเรียนให้มากกว่านี้นะ

 

I advise we should go to school more early.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรไปโรงเรียนเช้ากว่านี้

 

I propose that we should not skip school.
ฉันขอเสนอว่า เราไม่ควรโดเรียนนะคะ

 

I ought to help my friend’s homework.
ฉันควรจะ ช่วยเพื่อนของฉันทำการบ้าน


ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน

ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน (2)

การชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อมเพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

I wonder if we
ฉันไม่ทราบว่า
เรา………….มั้ย

ตัวอย่าง:

Shall we catch a bus to school now?

เราไปขึ้นรถบัสไปโรงเรียนกันเถอะ

Shall we read books at the library?

เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ

Why don’t we walk to school?

ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)

How about playing a football after school?

เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ

I wondered if we should sit with them?

ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ

 

การตอบรับ (Accepting)

 

การตอบรับ (Accepting)

I’d be delighted to (go).
ฉันเต็มใจที่จะไปมาก

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

 การตอบปฏิเสธ (Refusing):

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

 I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที
ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

การใช้ Can VS Could และ  Shall VS Should

 

การใช้ Can VS Could และ Shall VS Should

 

Can VS Could

  • can (V.1) บอกความสามารถในปัจจุบัน ส่วน could บอกความสามารถในอดีต (V.2)

Daniel can fix a bike.
= แดเนียลสามารถซ่อมจักรยานได้

Nanny could eat like a horse when she was younger.
= แนนนี่สามารถกินจุได้ตอนที่เธอยังเล็ก

 

  • ใช้ถามเพื่อขออนุญาต ร้องขอบางสิ่งบางอย่าง หรือ เสนอการช่วยเหลือ
    แต่ว่า could จะมีความสุภาพมากกว่า can

Can you open the door please?
กรุณาเปิดประตูให้ด้วย

Could you please fill in this information?
รบกวนช่วยกรอกข้อมูลนี้ได้ไหมคะ/ครับ?

  •  ใช้บอกสิ่งที่เป็นไปได้หรือเกิดขึ้น โดย could บอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
    มีโครงสร้าง คือ could +   have + past participle (V.3)

 

It can be very easy for him.
= มันง่ายมากสำหรับเขา

I could have studied better.
= ฉันสามารถเรียนให้เก่งกว่านี้ได้

Shall/Should

การใช้: ใช้ในการ เสนอแนะ ชี้แนะ เสนอความช่วยเหลือ

  • Excuse me teacher, shall I carry your bags for you?
    = ขอโทษนะคะครู ให้หนูถือกระเป๋าช่วยมั้ยคะ

อธิบายเพิ่มเติม: ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้ shall แล้ว ส่วนใหญ่จะเจอ Shall I …หรือ Shall we…ในประโยคแบบสุภาพ หรือ ในประโยคชักชวน

 

Should แปลว่า ควรจะ… ใช้ในการแนะนำ

  • Should we take a taxi to school?
    พวกเราควรจะไปโรงเรียนด้วยแท็กซี่ดีมั้ย

 

ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
อย่าลืมทบทวนบทเรียนจากวีดีโอด้านล่างนี้กับทีชเชอร์กรีซด้วยนะคะ
เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สามก๊ก ความเป็นมาของวรรณกรรมจีนเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนที่มีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยฉบับแปลที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีคือฉบับที่แปลโดยเจ้าพระยาคลัง (หน) และด้วยเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเล่ห์กลเพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ทำให้เนื้อเรื่องมีความยาวสมกับเป็นกับเป็นวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะเรียนคือตอน กวนอูไปรับราชการกับโจโฉ จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปเรียนรู้พร้อมกันค่ะ   ความเป็นมาของ สามก๊ก   สามก๊ก เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ที่เรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ของจีน (ค.ศ.

Phrasal verb with2 and 3

Two – and Three-Word Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Two – and Three-Word Phrasal verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ทบทวน Phrasal verbs    Phrasal verb คือ กริยาวลี  มีที่มาคือ เป็นการใช้กริยาร่วมกันกับคำบุพบท แล้วทำให้ภาษาพูดดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น  เรามักไม่ค่อยเจอคำลักษณะนี้ในภาษาอังกฤษที่เป็นทางการ  ซึ่งในบทเรียนนี้เราจะไปดูตัวอย่างการใช้  กริยาวลีที่มี 2

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่�

เรียนรู้เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ

สวัสดีนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ  “เรื่อง Present Tense โดยมีคำบอกเวลา และเเต่งประโยคให้เข้ากับคำศัพท์เรื่องสถานที่ต่างๆ” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   ทบทวน Present Simple Tense     Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present Simple

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต

เซตคืออะไร? เซต คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ ทำไมต้องเรียนเซต เซตมีประโยชน์ในเรื่องของการจำแนกสิ่งต่างๆออกเป็นกลุ่มๆ อีกทั้งยังแทรกอยู่ในเนื้อหาบทอื่นๆของคณิตศาสตร์ เราจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเซต เพื่อที่จะเรียนเนื้อหาบทอื่นๆได้ง่ายขึ้น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเซต เซต คือคำที่ใช้เรียกกลุ่มของสิ่งต่างๆ เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ คือ กลุ่มของสระในภาษาอังกฤษ a,e,i,o,u เป็นต้น สมาชิกของเซต คือ สิ่งที่อยู่ในเซต เช่น เซตของสระในภาษาอังกฤษ สมาชิกของเซต คือ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ เรียนรู้บทร้อยกรองจากพุทธศาสนสุภาษิต

สุภาษิต หมายถึงถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน และมีความหมายเป็นคติสอนใจ บางสุภาษิตพูดนำมาแต่งเป็นบทร้อยกรองเพื่อใช้เป็นบทอาขยานให้กับเด็ก ๆ ได้เรียน ได้ฝึกอ่าน รวมไปถึงให้เรียนรู้ข้อคิดจากสุภาษิตได้ง่ายมากขึ้น บทที่เราจะได้เรียนกันในวันนี้คือ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมา ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ     ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญเป็นบทร้อยกรองที่ถูกประพันธ์ขึ้นโดยพระยาอุปกิตศิลปสาร แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท และกาพย์ยานี 11

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1