การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ
like love enjoy ving

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การแนะนำตัวเอง (Introducing Yourself)

ในการทำความรู้จักเพื่อนใหม่สิ่งแรกที่เราต้องพูดเวลาแนะนำตัวเองก็คือข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น  ใช่มั้ยครับ? ก่อนอื่นพี่ขอให้ Pattern ประโยคง่ายๆ เอาไปฝึกใช้กันได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่

  1. การกล่าวทักทาย
  2. การแนะนำชื่อจริง-ชื่อเล่น
  3. การบอกข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ

greetings

introduce name

introduce nickname

other info

Talking about things that you “like”, “love”, and “enjoy”

หลังจากที่เราแนะนำตัวเองได้แล้ว สิ่งต่อไปที่เรามักพูดในการทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่นั่นก็คือการบอกว่าเราชอบทำอะไร หรือไม่ชอบทำอะไร ซึ่งพี่มีโครงสร้างอย่างง่ายมาให้น้องๆ ลองฝึกกันดูครับ

structure like love enjoy

คำว่า “like”, “love”, “enjoy” ในที่นี้จะหมายความรวมๆ ว่า “ชอบ…” “เพลิดเพลินกับ…” “สนุกกับ…” สามารถใช้เพื่อบอกความชอบ งานอดิเรก หรือสิ่งที่เราสนใจได้

และกริยาที่อยู่ในรูป -ing มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Gerund” โดยคำเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นคำนาม มีความหมายว่า “การ” หรือ “ความ” ครับ (สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Gerund ได้ที่นี่ ) เช่น

walk (v.) = เดิน

walking (n.) = การเดิน

I enjoy walking on the beach. (ฉันเพลิดเพลินกับการเดินบนชายหาด)

 

ตัวอย่าง

like love enjoy

don't like love enjoy

Do you like love enjoy

 

*ถ้าน้องๆ ต้องการพูดถึงสิ่งที่ไม่ชอบ เราสามารถใช้คำว่า “hate” ตามด้วยโครงสร้างแบบที่ให้มาได้เลยครับ เช่น

hate

 

นี่ก็เป็นวิธีการแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เราชอบหรือไม่ชอบอย่างง่ายๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความสนใจ และสามารถเปิดประเด็นในการพูดคุยในเรื่องต่างๆ ต่อไป น้องๆ ลองเอาไปฝึกใช้เวลาเจอเพื่อนใหม่กันดูนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เพลงพื้นบ้าน เรียนรู้วิถีชีวิตของผู้คนในอดีตผ่านบทเพลง

ในอดีตประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ประชาชนมีชีวิตที่สุขสบาย เมื่อมีเวลาว่างก็มักรวมตัวกันในชุมชนเพื่อร้องรำทำเพลง เล่นกันสนุกสนาน หรือในงานเทศกาลต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้ร้องเล่นกันนั้นเรียกว่า เพลงพื้นบ้าน ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บทเรียนในวันนี้เราจะไปพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของเพลงพื้นบ้านในแต่ละถิ่นของประเทศไทยกันว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   เพลงพื้นบ้าน   เพลงพื้นบ้าน หมายถึง เพลงของชาวบ้านในท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะมีการร้องเล่นที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ นิยามเล่นกันในเทศกาลต่าง ๆ หรืองานที่มาร่วมรื่นเริงกัน

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ที่มาของวรรณคดีเชิงสารคดี

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นวรรณคดีที่สำคัญในฐานะสารคดี เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้แต่ง พร้อมเรียนรู้ความหมายของกาพย์ห่อโคลงและเนื้อเรื่องโดยสรุปของเรื่องด้วย ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง     กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงเป็นบทชมธรรมชาติที่แต่งเพื่อความเพลิดเพลินระหว่างการเดินทางของกระบวนเสด็จทางสถลมารคจากท่าเจ้าสนุกถึงธารทองแดง ซึ่งธารทองแดงในที่นี้ เป็นชื่อลำน้ำที่เขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของพระตำหนักธารเกษมที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โดยเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาท ที่จังหวัดสระบุรี   ประวัติเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร   เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน

ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน ฟังก์ชันและกราฟของฟังก์ชัน มีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากฟังก์ชันที่เราเขียนในรูป y = f(x) สามารถนำไปเขียนกราฟในระบบพิกัดฉากได้ ซึ่งกราฟในระบบพิกัดฉากก็คือ กราฟที่ประกอบไปด้วยแกน x และ แกน y   ก่อนที่เราจะเริ่มบทเรียนของฟังก์ชัน อยากให้น้องๆได้ศึกษารูปต่อไปนี้ก่อนนะคะ จากรูป คือการส่งสมาชิกในเซต A ไปยังสมาชิกในเซต B เซต A จะถูกเรียกว่า โดเมน

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1