การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
Profile

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

มารู้จักกับกริยาช่วย

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (2)

Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

ประเภทของ Helping Verbs

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (3)

 

Helping หรือ Auxiliary verbs กริยาช่วยในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. Modal auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่มาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ เช่น will, shall, should, can, may, must กริยาช่วยกลุ่มนี้จะช่วยบอกความเป็นไปได้ ความจำเป็น และเปลี่ยนแปลงความหมายของกริยาแท้ไปในเชิงนั้นๆ 

ประโยคบอกเล่า: Jenny can play a piano.  (เจนนี่สามารถเล่นเปียโนได้)

ประโยคคำถาม: Can Jenny play a piano?
ตามโครงสร้าง: Modal auxiliary verbs + Subject + V. Infinitive + Object/Compliment?

 

  1. Primary auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    V. to be, V. to have, และ V. todo

Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น ทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างประโยคคำถามได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ

 

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย V. to be

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (4)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามคือ V. to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Jen is hit by a car. แปล เจนโดนรถชน
ประโยคคำถาม: Is Jen hit by a car?
แปลว่า เจนถูกรถชนใช่มั้ย
เพิ่มเติม: เจนเป็นประธาน, is เป็น V. to be, hit เป็น กริยาช่อง 3 ของ hit (hit, hit, hit) แปลว่า โดนชน

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

 

V. to have ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (5)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ has, have, had

โครงสร้าง: Have/Has/Had + Subject + V.3+ Object/ Complement….?

ประโยคบอกเล่า:  Daniel has eaten a piece of cake.แปลว่า เดเนียลได้กินเค้กไปแล้ว 1 ชิ้น
ประโยคคำถาม: Has Daniel eaten a piece of cake?
แปล: เดเนียลได้กินเค้กชิ้นนั้นไปใช่มั้ย
ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

Modal auxiliaries ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (6)

 

กริยาช่วยเหล่านี้เป็นกริยาช่วยที่มีความหมายในตัวมันเอง ได้แก่

will, would = จะ

shall, should = จะ, น่าจะ, ควรจะ

can, could = สามารถ

may, might = อาจจะ

must = ควรจะ

ought to = ควรจะ

โครงสร้างประโยคคำถามคือ: modal auxiliaries + subject + V. Infinitive
(กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน) + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยคคำถาม

Would you like to come with me?
แปลว่า คุณต้องการที่จะมากับผมมั้ยครับ

อธิบายเพิ่มเติม

would เป็น modal auxiliaries ส่วน you เป็นสรรพนามบุรุษที่2 ใช้กับคนที่เราพูดด้วย และวลีส่วน to come with me ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มเรียกว่า วลีบุพบท

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

ถามแบบ Verb to Do  ขึ้นต้น

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (7)

หน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary Verb) โดยจะใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม
ประโยคปฏิเสธ หรือเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

 

โครงสร้างประโยคคำถาม: Do/Does/Did + Subject + V .infinitive + Object/Complement?

 

 Simple Present Tense ใช้ Do / Does

  • Do you come from Japan? (คุณมาจากประเทศญี่ปุ่นใช่ไหม?)
  • Does he like sport? (เขาชอบกีฬาใช่ไหม?)

 

Past Tense ใช้ Did กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต

  • Did Ticha always drive a car to school?
    (ติช่าขับรถไปโรงเรียนบ่อยขนาดนั้นเลยเหรอ?)

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ชนิดของ Wh-Questions 

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (8)

  

When = เมื่อไร

เมื่อใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเวลา เช่น

When is your birthday? = วันเกิดของคุณคือเมื่อไร

When was your first love? = คุณมีควมรักครั้งแรกเมื่อไหร่

 

 What = อะไร

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสิ่งของ ชื่อ วันที่ เวลา สิ่งที่รักที่ชอบ ดังนี้ค่า

What is your name? = เธอชื่ออะไร

What is your favourite colour? = เธอชอบสีอะไร

 

 Where = ที่ไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสถานที่ เช่น

Where are you from?  = คุณมาจากไหน
Where should we go? = เราควรจะไปไหนกันดี

 

Why = ทำไม

ใช้เมื่อขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับเหตุผล เช่น

Why did you come to school late? = ทำไมคุณถึงมาโรงเรียนสาย

Why did you leave him? = ทำไมเธอถึงทิ้งเขาล่ะ

 


Who = ใคร

ใช้เมื่อขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล (ส่วนมากจะตอบเป็นชื่อบุคคล) เช่น

Who are you? (คุณคือใคร)

Who is that? (นั่นใคร)

 

 

Whose = ของใคร

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของ  เช่น

Whose books are these? = นี่คือสมุดของใครนะ

Whose pen is this? = นี่คือปากกาของใครกัน

 

Whom = ใคร (ใช้เป็นกรรม)

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล  เช่น

Whom are we waiting for? = พวกเรากำลังรอใครอยู่กันนะ

Whom are you going to travel with? = เธอกำลังจะไปเที่ยวกับใครนะ

 

Which = อันไหน/สิ่งไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ทำว่าสิ่งไหน อันไหน ดังประโยคด้านล่างนะคะ

Which is better? แปล อันไหนดีกว่ากัน

Which one is your bag? แปลว่า อันไหนเป็นกระเป๋าเธอเหรอ

 

 

 ตารางสรุปประเภทของ Wh-Questions

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (9)

 

 Wh-Questions กริยา   ประธาน ส่วนที่เหลือในประโยค
When (เมื่อไร)
Why (ทำไม)
Who (ใคร)
What (noun) ( อะไร )
Where (ที่ไหน)
was
were
Subject + …………… ?
did Subject Verb 1 + …… ?
How ( อย่างไร เท่าไร)
How many + N. (พหูพจน์) = มากเท่าไร
How much + N. (นับไม่ได้) = มากเท่าไร
How long ( ยาวนานเท่าไร)

 

สรุปข้อแตกต่าง

 

จะสังเกตเห็นว่าความแตกต่างของสองโครงสร้างประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วยกริยาช่วยและ wh-questions นั้นคือ คำถามที่ขึ้นต้นด้วย กริยาช่วยมักจะได้คำตอบที่เป็น yes หรือ no แบบตายตัว นั่นเองค่า ส่วนคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh- questions นั้นต้องการคำตอบที่เจาะจง เช่นถามว่าชื่ออะไร ผู้ตอบก็ต้องตอบชื่อไปตามตรง แบบนี้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะขอให้สนุกกับการอ่านบทเรียนเรื่อง ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions  กันนะคะ นักเรียนที่รักทุกคนอย่าลืมทบทวนบทเรียนที่วีดีโอ เรื่อง Wh- Questions และ  Yes-No Questions เพิ่มเติมกันนะคะ
เผื่อจะร้องอ๋อ และเห็นภาพมากยิ่งขึ้น เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไว้หลากหลายตัวอย่าง ซึ่งแสดงวิธีคิดอย่างละเอียด สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะต้องใช้สัญลักษณ์ของอสมการแทนคำเหล่านี้ <   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง >   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน ≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ หรือไม่เกิน ≥  แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1