การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย
can could

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Can และ Could คืออะไร?

ถ้าเรียกตามหลักภาษาแล้ว Can และ Could จะอยู่ในกลุ่มกริยาที่มีชื่อว่า Modals เป็นกริยาช่วยประเภทหนึ่ง ซึ่งก็จะมีกริยาอีกหลายๆ ตัวที่เป็น Modals เช่น will, would, should, เป็นต้น

Can และ Could นั้นปกติแล้วจะแปลว่า “สามารถ” โดยจะมีหลักการใช้เบื้องต้นดังนี้

1) ใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ (ask about ability)
2) ใช้เพื่อขออนุญาต (ask for permission)

 

การใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ

เราสามารถใช้ Can/Could เพื่อบอกความสามารถ (ability) ของเราได้ ตัวอย่างเช่น

I can swim.

(ฉันว่ายน้ำได้)

 

Tony can dance.

(โทนี่เต้นได้)

 

หรือถ้าเป็นความสามารถที่เราทำได้ในอดีต (ปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว) ให้ใช้คำว่า could เช่น

She could swim.

(เธอเคยว่ายน้ำได้) *ปัจจุบันว่ายน้ำไม่ได้แล้ว

 

I could speak French.

(ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้) *ปัจจุบันพูดไม่ได้แล้ว

 

ดังนั้นหากเราต้องการถามใครสักคนว่า “คุณสามารถ…ได้ไหม?” เราจะทำได้ดังนี้

can could

 

ตัวอย่าง

Can you speak Thai?

(คุณพูดภาษาไทยได้ไหม?)

ตอบ: Yes, I can./No, I can’t.

 

Can Tony dance?

(โทนี่เต้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, he can./No, he can’t.

 

Can she roll her tongue?

(เธอม้วนลิ้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, she can./No, she can’t.

can you?

 

การใช้เพื่อขออนุญาต

นอกจากจะใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถแล้ว เรามักจะใช้ can/could ในการขออนุญาตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

Can I borrow your rubber?

(ฉันขอยืมยางลบของคุณได้ไหม?)

 

Can I use your computer?

(ฉันขอใช้คอมพิวเตอร์ของคุณได้ไหม?)

 

Can I bring my girlfriend with me?

(ผมสามารถพาแฟนสาวไปกับผมด้วยได้ไหม?)

can I?

 

การใช้ Could นั้นมีความหมายเหมือนกับ Can แต่จะมีความเป็นทางการและสุภาพมากกว่า เรามักใช้กับการขออนุญาตผู้ที่อาวุโสกว่า หรือคนที่เราเพิ่งรู้จัก และมักลงท้ายด้วยคำว่า please ตัวอย่างเช่น

Could you pass me some sugar, please?

(คุณช่วยส่งน้ำตาลมาให้หน่อยได้ไหม?

 

Could you give us a moment, please?

(คุณช่วยให้เวลาเราสักครู่ได้ไหม?)

 

Could you explain that topic for me, please?

(คุณช่วยอธิบายหัวข้อนั้นให้ฉันทีได้ไหม?)

could you?

 

นี่ก็เป็นหลักในการใช้ Can และ Could ในการตั้งคำถามแบบเข้าใจง่ายๆ หวังว่าน้องๆ จะเอาไปลองใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ โดยน้องๆ สามารถชมวิดีโอเกี่ยวกับการใช้ Can และ Could เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง “ระบบจำนวนจริง” เป็นรากฐานสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยจำนวนต่างๆ ได้แก่ จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ จำนวนเต็ม จำนวนนับ โครงสร้าง ระบบจำนวนจริง มนุษย์เรามีความคิดเรื่องจำนวนและระบบการนับมาตั้งแต่โบราณ และจำนวนที่มนุษย์เรารู้จักเป็นอย่างแรกก็คือ จำนวนนับ การศึกษาระบบของจำนวนจึงใช้พื้นฐานของจำนวนนับในการสร้างจำนวนอื่นขึ้นมา จนกลายมาเป็นจำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน (เนื้อหาม.5) ดังนั้น ถ้าน้องๆเข้าใจจำนวนนับแล้วน้องๆก็จะสามารถศึกษาระบบจำนวนอื่นๆได้ง่ายขึ้น   โครงสร้าง     จำนวนจริง จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1