การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ

Suggesting Profile

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง คำขอร้อง และคำแนะนำง่ายๆ “Easy Imperative Sentences” กันนะคะ
ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence

 

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Stay strong. แปลว่า เข้มแข็งหน่อยสิ
Go for it. แปลว่า ลุยเลย
Stay focus. แปลว่า มีสมาธิหน่อยสิ

อธิบายเพิ่มเติม: ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม ‘do’ ไว้ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น

 Do go to school.
แปล ต้องไปโรงเรียนนะ

Do have breakfast every morning.
แปล ต้องทานอาหารเช้าทุกๆ เช้านะ

 

 

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น

Be a good boy.
จงเป็นเด็กดี

Be a good role model.
จงเป็นตัวอย่างที่ดี

Be brave.
จงกล้าหาญ

Be kind.
จงมีเมตตา

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง
    Don’t + V. infinitive เช่น

Don’t eat late.
= อย่าทานข้าวสาย

Don’t copy a homework.
= อย่าลอกงานเพื่อน

Don’t go alone.
= อย่าไปคนเดียว

 

  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น

Don’t be silly.
= อย่างี่เง่า

Don’t be noisy here.
= อย่าเสียงดังที่นี่

Don’t be grumpy.
= อย่าวีน (อย่าอารมณ์เสียเลย)

 

Imperative sentence ในเชิงขอร้อง

 

ในเชิงขอร้อง

 

เราสามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please (กรุณา)
เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยคก็ได้ เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น

  • Please give me a chance.
    = กรุณาให้โอกาสฉันด้วย
  • Please stay here for a while.
    = กรุณาอยู่ที่นี่สักครู่
  • Please hold on for a second.
    = กรุณาถือสายรอสักครู่
  • Please come on time.
    = กรุณามาตรงเวลาด้วย

 

ประโยคคำสั่ง(แบบชักชวน)

 

ประโยคคำสั่งแบบชักชวน

 

ประโยคคำสั่งที่ใช้ไนความหมายแบบชักชวนนี้ มีอยู่รูปเดียวคือ Let’s (Let us) เป็นการชักชวน แบบเป็นกันเอง เช่น เพื่อนชวนเพื่อนออกไปกินข้าว พี่ชวนน้องไปเที่ยว เป็นต้น โดยที่ผู้ถามอาจจะไม่ต้องการคำตอบแต่เป็นเพียงการชวนไปทำอะไรบางอย่าง อย่างมีจุดมุ่งหมาย จะเรียกว่าสั่งแบบชวนแบบนั้นก็ได้ค่ะ ซึ่ง มีโครงสร้าง ดังนี้นะคะ

 โครงสร้างประโยคคำสั่ง (แบบชักชวน)

 

” Let’s + V. infinitive…”


Ex. Let’s go to school, shall we?
ไปโรงเรียนกันเถอะ ป้ะ 

 

 

ตัวอย่าง

Let’s go to the canteen.
ไปโรงอาหารกันเถอะ

เพิ่มเติม: บางประโยคอาจจะมีคำว่า Shall we? ต่อท้ายด้วยเพื่อเป็นการชักชวน
แปลว่า ไปกันเถอะ(ป้ะ) เข้ามาด้วย ซึ่งใช้กับเพื่อนหรือการชวนคนสนิท

 

ประโยคแนะนำที่เจอในชีวิตประจำวัน

 

ประโยคแนะนำ

ประโยคคำแนะนำส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่าซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะมากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

 ตัวอย่าง

I suggest that you should take a bus to school.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรขึ้นรถบัสไปโรงเรียน

 

I advise we should go jogging everyday.
ฉันขอแนะนำว่า เราควรไปวิ่งทุกวัน

 

I propose that we should not miss the flight.
ฉันขอเสนอว่า ว่าเราไม่ควรตกเที่ยวบิน

 

I ought to help my mom wash the dishes.
ฉันควรจะ ช่วยคุณแม่ล้างจาน

 

I advise you should water your plants every day.
ฉันแนะนำให้คุณรดน้ำต้นไม้ทุกวัน

 

ในชีวิตประจำวันเราจะเจอกลุ่มประโยคคำถามเกี่ยวกับการ“ชักชวน

ประโยคคำถามที่ใช้บ่อยในการชักชวน (2)

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็น การเสนอแนะชักชวนทางอ้อม เพื่อแสดงถึงการเกรงใจซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ต้องการคำตอบหรือการตกลงไม่ตกลงจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

I wonder if we
ฉันไม่ทราบว่า
เรา………….มั้ย

ตัวอย่าง:

ประโยคแนะนำ

Shall we read books at the library?

เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ

Why don’t we walk to school?

ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)

How about playing a football after school?

เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ

I wondered if we should sit with them?

ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ

Shall we book a movie ticket?

เราจองตั๋วหนังกันดีมั้ย

Shall we go to the wedding?
เราควรไปงานแต่งกันมั้ย

I wondered if we can wear a mask during Covid-19 everyday?
ฉันว่าเราควรใส่หน้ากากทุกวันในช่วงโควิดนี้

How about eating out today?
วันนี้ไปกินข้าวนอกบ้านกันดีกว่า

 

 

 

การตอบรับ (Accepting)

 

การตอบรับ (Accepting)

Yes!
ได้เลย


Of course!

แน่นอน


That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

 การตอบปฏิเสธ (Refusing):

 

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

Sorry, I can’t go.
ขอโทษด้วยนะ ฉันไปไม่ได้

Sorry, I already had a plan.
ขอโทษนะพอดีว่ามีแผนแล้ว

 I’m afraid I won’t be able to come.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน
เลิฟๆ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร (จุดตัดแกน x และจุดตัดแกน y)

เนื้อหาในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึง การแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณสองปริมาณแล้วนำมาเขียนแสดงเป็นกราฟโดยใช้วิธีการหาจุดตัดของแกน x และ แกน y

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1