Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

ลักษณะของ Present Simple

โครงสร้างของ Present Simple คือ ประธาน (Subject) ตามด้วยกริยาทั่วไปในรูปปัจจุบัน (Verbs in Present Form) หรือน้องๆ อาจะคุ้นเคยในชื่อกริยาช่องที่ 1 และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้รูป is, am, are

ตัวอย่าง

I communicate in English sometimes.

(ฉันสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเป็นครั้งคราว)

You speak very good English.

(คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก)

They appreciate his help.

(พวกเขาซาบซึ้งกับการช่วยเหลือของเขา)

We are all equal.

(เราทุกคนเท่าเทียมกัน)

หากประธานเป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 (He, She, It) ชื่อคน หรือสิ่งที่เป็นเอกพจน์ กริยาจะต้องเติม -s หรือ -es เช่น

He loves dancing and exercising.

(เขารักในการเต้นและการออกกำลังกาย)

She forgets to call him back.

(เธอลืมโทรกลับหาเขา)

Mika does a part-time job as a dish washer.

(มิกะทำงานพาร์ทไทม์เป็นพนักงานล้างจาน)

The train arrives at 10 pm.

(รถไฟมาถึงเวลาสี่ทุ่ม)

 

การใช้งาน Present Simple

เรามักจะใช้ Present Simple เพื่อบอกความจริง เรื่องทั่วไป นิสัยและสิ่งที่ทำเป็นประจำ ตารางเวลา บางครั้งใช้กับเหตุการณ์ที่แน่นอนในอนาคตอันใกล้ได้ด้วย

1) ใช้เพื่อบอกความจริง พูดถึงความจริงในปัจจุบัน เช่น

Bangkok is a capital city of Thailand.

(กรุงเทพคือเมืองหลวงของประเทศไทย)

It always rains in May.

(ฝนตกตลอดในเดือนพฤษภาคม)

Many trees lose their leaves in Autumn.

(ต้นไม้หลายชนิดผลัดใบในฤดูใบไม้ร่วง)

 

2) ใช้บอกสิ่งที่ทำเป็นประจำ เป็นกิจวัตร เช่น

I always go to the gym every weekend.

(ฉันไปยิมเป็นประจำทุกสัปดาห์)

He never skips the school.

(เขาไม่เคยโดดเรียนเลย)

She travels to Singapore once a month.

(เธอไปเที่ยวที่สิงคโปร์เดือนละครั้ง)

 

3) ตารางเวลาหรือเหตุการณ์ที่กำลังจะมาถึงอย่างแน่นอน เช่น

The train to Chiang Mai leaves at 9 pm tonight.

(รถไฟที่จะไปเชียงใหม่ออกเดินทางเวลาสามทุ่ม)

The orientation starts at 9 o’clock.

(การปฐมนิเทศเริ่มตอนเก้าโมง)

The second semester starts next week.

(ภาคเรียนที่สองเริ่มอาทิตย์หน้า)

 

Present Simple ในรูปปฎิเสธ

การทำให้ Present Simple อยู่ในรูปปฎิเสธนั้นทำได้โดย

1) ใช้ do/does + not มาช่วย หากเป็นกริยาทั่วไป (ใช้ do หรือ does ให้ดูประธาน)

2) เติม not ได้เลย หากเป็น Verb to be (is/am/are)

ตัวอย่าง

The bus does not arrive at 11 am.

(รถบัสไม่มาตอนสิบเอ็ดโมง)

Singapore is not a big country.

(สิงคโปร์ไม่ใช่ประเทศขนาดใหญ่)

They do not want to go to the cinema.

(พวกเขาไม่อยากไปโรงภาพยนตร์)

He does not practise hard enough.

(เขาฝึกไม่หนักมากพอ)

 

Present Simple ในรูปคำถาม

คล้ายๆ กับรูปปฎิเสธ น้องๆ สามารถทำได้โดย

1) เอา do/does มาขึ้นต้นประโยค ตามด้วยประธานและกริยา

2) นำ Verb to be มาขึ้นต้นประโยค ตามด้วยประโยคที่เหลือ

3) ห้ามลืมเครื่องหมายคำถาม (?) ท้ายประโยค

ตัวอย่าง

Do you speak English?

(คุณพูดภาษาอังกฤษไหม?)

Does Lilly want to join our party?

(ลิลลี่อยากเข้าร่วมปาร์ตี้ของเราหรือเปล่า?)

Is Harry a good student?

(แฮร์รี่เป็นนักเรียนที่ดีไหม?)

 

Adverbs of Frequency

ในประโยคที่เป็น Present Simple น้องๆ มักจะพบคำที่บอกความถี่ (Adverbs of Frequency) ในประโยค เช่น

I always check my emails in the morning.

(ฉันเช็คอีเมลเป็นประจำทุกเช้า)

Laura usually stay at home during the pandemic.

(ลอร่าอยู่ที่บ้านในช่วงโรคระบาดเสมอๆ)

It occasionally snows in winter.

(หิมะตกเป็นบางครั้งในช่วงฤดูหนาว)

She seldom attends a meeting.

(เธอไม่ค่อยเข้าร่วมประชุม)

George never participates in group activities.

(จอร์จไม่เคยให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่มเลย)

 

Adverbs of Frequency  ที่มักพบบ่อยๆ มีดังนี้

หรือบางครั้งน้องๆ อาจจะเจอคำบอกความถี่แบบเจาะจง เช่น

Thai people celebrates Thai New Year or ‘Songkran’ every year.

(คนไทยเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ทุกปี)

Monica and I go to the theatre every month.

(โมนิกาและฉันไปโรงละครทุกเดือน)

We go out for Chinese food weekly.

(พวกเราออกไปทานอาหารจีนทุกสัปดาห์)

หรือคำอื่นๆ เช่น every day, daily, once a week, twice a month, hourly, annually, etc.

 

อย่างที่บอกน้องๆ ไปนะครับว่า Present Simple นั้นเป็นอะไรที่เราจะเจอบ่อยมากๆ ฉะนั้นจงหมั่นทบทวนและใช้อย่างถูกต้องกันนะครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1