ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี

 

ขัตติยพันธกรณี

 

ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) หรือที่เรียกว่าวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112

เกิดจากความขัดแย้งเรื่องดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่พยายามจะยึดครองประเทศลาว ซึ่งในเวลานั้นเป็นประเทศราชของไทย สถานการณ์ได้เริ่มบานปลาย เมื่อฝรั่งเศสส่งเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ข้ามสันดอนเข้ามายังไทย โดยมีเรือชองบาตีสต์เซ เป็นเรือนำร่องเข้ามาล่วงล้ำอธิปไตยของสยาม และในขณะเดียวกันนั้น ทหารที่ประจำ ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้าและป้อมผีเสื้อสมุทรที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ก็ได้เกิดการปะทะกัน แต่ในที่สุดเรือปืนแองกงสตองและเรือโกเมต ก็สามารถฝ่ากระสุนเข้ามาทอดสมอจอดที่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสได้

รัฐสภาฝรั่งเศสได้ประชุมพิจารณาและลงมติมอบอำนาจให้รัฐบาลดำเนินการให้รัฐบาลสยามรับรองและเคารพสิทธิของฝรั่งเศส และรับผิดชอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งยื่นข้อเรียกร้องให้สยามดำเนินการดังนี้

 

ขัตติยพันธกรณี

 

จากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งจนประชวรหนัก
ไม่ยอมเสวยใด ๆ ระหว่างนั้นจึงได้พระราชนิพนธ์บทโคลงและฉันท์เป็นจดหมายระบายความทุกข์โทมนัสจนไม่ปรารถนาจะดำรงพระชนม์ชีพอีกต่อไป จากนั้นจึงส่งไปให้พี่น้องบางพระองค์เพื่ออำลา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพซึ่งเป็นพระเจ้าน้องยาเธอจึงทรงตอบกลับมาทำให้พระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าอยู่หัวนั้นดีขึ้น

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

ขัตติยพันธกรณี

 

 

เนื้อหาของ ขัตติยพันธกรณี

 

พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5

โคลงสี่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรารภว่าพระองค์ประชวรมานานด้วยโรคฝีสามยอดและยังมีส่าไข้เป็นผื่นไปทั้งตัว เป็นที่หนักใจแก่ผู้รักษา แต่นอกจากจะป่วยกายแล้วยังป่วยใจอีกด้วยจึงมีพระราชดำริที่จะเสด็จสวรรคตเพื่อปลดเปลื้องภาระ แต่ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ ทรงเปรียบพันธกรณีที่มีต่อชาติบ้านเมืองในฐานะที่พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ทำให้เหมือนถูกตอกตะปูและไปไหนไม่ได้ เพราะพระองค์จะต้องปกป้องบ้านเมืองและประชาชน

อินทรวิเชียรฉันท์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรยายความรู้สึกของพระองค์ที่เบื่อหน่าย หมดกำลังพระทัย และกังวลว่าจะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้เหมือนที่ในสมัยอยุธยาเคยเสียกรุงไปถึงสองครั้ง พระองค์ไม่ต้องการเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สามที่ทำให้ประเทศสูญเสียเอกราช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงระบายไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า กลัวเป็นทวิราช บ่ตริป้องอยุธยา เสียเมืองจึงนินทา บ่ละเว้นฤาว่างวาย

ทวิราช หมายถึง สองพระราชา นั้นหมายถึงพระเจ้าอุทุมพรและพระเจ้าเอกทัศ กษัตริย์สององค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา

 

 

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตอบกลับ

อินทรวิเชียรฉันท์ 

โดยเนื้อหาที่ตอบกลับแสดงถึงความวิตกและความทุกข์ของประชาชนชาวไทยในพระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมตัวพระองค์เองด้วย ทรงเปรียบประเทศชาติเป็นรัฐนาวาโดยมีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเป็นผู้บัญชาการเรือ หากไม่ทรงปฏิบัติงาน ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาก็ย่อมทำตัวไม่ถูก และเป็นธรรมดาที่เมื่อเวลาเรือแล่นไปในมหาสมุทรจะเจอกับพายุหนักบ้าง ดังนั้นตราบใดที่เรือยังไม่จมก็ต้องหาทางออก ถ้าแก้จนสุดความสามารถแล้วแก้ไม่ได้ก็ยอมรับสภาพ และจะไม่มีใครกล่าวโทษพระองค์

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ยังเปรียบตัวเองเป็นเหมือนม้าที่เป็นพระราชพาหนะเตรียมพร้อมที่จะรับใช้จนกว่าจะสิ้นชีพ สุดท้ายคืออวยพรขอให้อำนาจแห่งคำสัตย์ของพระองค์ดลบันดาลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรวงหายอาการประชวรทั้งพระวรกายและพระราชหฤทัย ให้พระองค์ดำรงพระชนม์ชีพยืนนานเพื่อเกื้อกูลและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติต่อไป

วรรณคดีเรื่องขัตติยพันธกรณีไม่ใช่เรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง ไม่ได้มีตัวละครที่ถูกสมมติขึ้น รวมไปถึงความเจ็บปวดและความทุกข์ที่ปรากฏในเรื่องก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกเสริมเติมแต่งขึ้นมา หากแต่เป็นความรู้สึกที่ออกมาจากใจจริงของพระมหากษัตริย์ผู้อยากปกป้องบ้านเมืองและตัวแทนของประชาชนทุกคนที่พร้อมเอาใจช่วยให้ประเทศฝ่าฟันวิกฤตไปให้ได้ หลังจากได้เรียนรู้ที่มาและความสำคัญกันไปแล้ว ในบทเรียนต่อไปน้อง ๆ ก็จะได้พบกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจเพื่อศึกษาบทประพันธ์และถอดความ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องอีกด้วย แต่ก่อนจากกันน้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดในการทำข้อสอบนะคะ

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

NokAcademy_Articles E5

Articles: a/an/the

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable Nouns )

การเรียงคำคุณศัพท์ (Adjective Order)

น้องๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยิน “คำคุณศัพท์” หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหน้าที่ของคำเหล่านี้คือเพิ่มความหมายและบอกลักษณะของคำนามนั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากมี Adjective มากกว่า 1 คำมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับมันอย่างไรดี ไปดูกันเลย!

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

ศึกษาที่มาของ ขัตติยพันธกรณี บทประพันธ์ที่มาจากเรื่องจริงในอดีต

ขัตติยพันธกรณี เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าเกี่ยวกับเรื่องไหน เหตุใดพระองค์จึงต้องพระราชนิพนธ์วรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นมา เราไปหาคำตอบถึงที่มา ความสำคัญ และเนื้อเรื่องกันเลยค่ะ รับรองว่านอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับบทประพันธ์แล้ว บทเรียนในวันนี้ยังมีเกร็ดความรู้ทางประวัติศาสตร์ให้น้อง ๆ อีกด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของ ขัตติยพันธกรณี     ขัตติยพันธกรณีมีความหมายถึงเหตุอันเป็นข้อผูกพันของกษัตริย์ เป็นพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและตอบกลับโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีที่มาจากเหตุการณ์จริงในประวัติศาสตร์ ช่วง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1