Contrast Words : คำที่ใช้แสดงความขัดแย้งในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำเชื่อมที่ใช้บอกสิ่งที่ตรงข้ามกัน (Contrast Words) กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Contrast Words

คำที่แสดงความตรงกันข้าม (Contrast words) นั้นเป็นคำสันธาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าคำเชื่อม ซึ่งเป็นคำประเภทหนึ่งที่เอาไว้ใช้แสดงให้เห็นถึงความหมายที่ขัดแย้งกันในประโยคนั่นเองครับ ซึ่งคำเชื่อมที่น้องๆ มักจะเจอบ่อยๆ ได้แก่

contrast words

 

การใช้ “but”

คำว่า ‘but’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Coordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ for, and, nor, or, yet, so) ซึ่งคำว่า ‘but’ นี้มีไว้เชื่อมคำหรือประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกันเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า ‘แต่’ เช่น

 

Pizza is delicious but unhealthy.
(พิซซ่าอร่อยแต่แพง)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมคำคุณศัพท์ 2 คำเข้าด้วยกันนั่นคือ ‘delicious’ และ ‘unhealthy’

 

My mom wants to travel abroad but she doesn’t have a passport.
(แม่ของฉันต้องการไปเที่ยวต่างประเทศ แต่เธอไม่มีพาสปอร์ต)
‘but’ ในประโยคนี้เชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันคือ
My mom wants to travel abroad. และ She doesn’t have a passport.

example

 

การใช้ “although” และ “though”

คำว่า ‘although’ และ ‘though’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions (กลุ่มเดียวกันกับ since, because, while, whereas, after, etc.) ซึ่งคำว่า ‘although’ นี้มีไว้เชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกัน มีความหมายว่า ‘แม้ว่า’ เช่น

 

I don’t want to sleep although I’m tired.
(ฉันไม่ต้องการนอนแม้ว่าฉันจะเหนื่อย)

Though people say France is dangerous, I still want to visit this country.
(แม้ว่าผู้คนบอกว่าฝรั่งเศสนั้นอันตราย ฉันก็ยังอยากไปเยี่ยมประเทศนี้)

Although he is very rich, he doesn’t have a girlfriend.
(แม้ว่าเขาจะรวยมาก เขาก็ไม่มีแฟน)

 

ข้อสังเกตและข้อควรระวัง

  • ‘although’ และ ‘though’ นั้นสามารถใช้ตรงกลาง หรือขึ้นต้นประโยคก็ได้ หากขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่า (,) คั่นระหว่างประโยคด้วย
  • ‘although’ และ ‘though’ ใช้เชื่อมประโยคเท่านั้น ไม่สามารถใช้เชื่อมคำเหมือนกับ ‘but’ ได้
    1. She is beautiful although lazy. ประโยคนี้ต้องใช้ ‘but’ แทน
  • หากใช้ ‘although’ และ ‘though’ ขึ้นต้นประโยคแล้ว ไม่ต้องเชื่อมประโยคด้วย ‘but’ อีก
    1. Although Sara studies very hard, but she failed the English exam.

example 2

 

การใช้ “even though” และ “even if”

คำว่า ‘even though’ และ ‘even if’ นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม Subordinating Conjunctions เช่นเดียวกับ ‘although’ และ ‘though’ และมีความหมายคล้ายกัน จึงมีหลักการใช้เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น

 

Even though I regularly exercise, I still always get sick.
(แม้ว่าฉันออกกำลังกายเป็นประจำ ฉันก็ยังป่วยอยู่บ่อยๆ)

I feel very tired even if I go to bed early.
(ฉันรู้สึกเหนื่อยมาก แม้ว่าฉันจะเข้านอนเร็ว)

 

การใช้ “however”, “nevertheless” และ “nonetheless”

คำว่า ‘however’, ‘nevertheless’ และ ‘nonetheless’ นั้นมีความหมายว่า “อย่างไรก็ตาม” จัดอยู่ในประเภทคำวิเศษณ์ (Adverb) มักใช้ในการเชื่อมใจความ ความคิด หรือไอเดีย ที่ตรงข้ามกัน เช่น

 

I understand that you really need financial support. However, I cannot lend you my money.
(ผมเข้าใจว่าคุณต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินจริงๆ อย่างไรก็ตามผมไม่สามารถให้คุณยืมเงินได้)

Patrick has lived in Thailand for ten years. Nevertheless, he cannot speak Thai at all.
(แพทริกอาศัยอยู่ที่ประเทศไทยมาเป็นเวลาสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตามเขาพูดภาษาไทยไม่ได้เลย)

Our company is facing a big economic crisis. I, however, insist on opening our new branches nationwide.
(บริษัทของเรากำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผมก็ยังยืนยันการเปิดสาขาใหม่ทั่วประเทศ)

example 3

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ สำหรับการใช้ Contrast Words เพื่อแสดงถึงเหตุผลที่ขัดแย้งกัน เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ ทั้งในการพูดและการเขียนภาษาอังกฤษ ฉะนั้นอย่าลืมทบทวนกันด้วยนะครับ และหากน้องๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เตรียมสอบเข้า ม.1 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

มาเตรียมสอบเข้าสามเสนม.1 กันเถอะ เตรียมสอบเข้าสามเสนกันเถอะ! วันนี้ Nockacademy มีข้อมูลการสอบเข้าม.1 โรงเรียนสามเสนวิทยามาฝากกันค่า  น้อง ๆ คนไหนกำลังหาข้อมูลอยู่ต้องกดบุ๊คมาร์คไว้แล้วเพราะว่าเรารวบรวมข้อมูลมาแบบจัดเต็ม ไปดูกันเลยดีกว่าว่าต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง Let’s go! ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นเกี่ยวกับโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยก่อนเลยค่ะ ว่าทำไมโรงเรียนนี้ถึงเป็นที่มีชื่อเสียงมายาวนานแล้วก็มีอัตราการแข่งขันที่สูงมากที่สุดแห่งหนึ่ง เหตุผลก็เพราะว่าโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยนั้นก่อตั้งมานานมากแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2494 มีการพัฒนาและยกระดับสถานศึกษามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันก็ได้ขยายแผนการเรียนที่เฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น จึงทำให้โรงเรียนสามารถผลิตนักเรียนที่มีความสามารถออกมาเป็นจำนวนมาก เด็ก ๆ จึงมีความต้องการที่จะสอบเข้าแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาต่อกันอย่างล้นหลามนั้นเองค่ะ หลักสูตรสามเสนวิทยาลัยม.ต้น ก่อนอื่นต้องมาดูหลักสูตรกันก่อนเลยค่ะ ว่าหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

NokAcademy_Definite & Indefinite Articles M1

Definite & Indefinite Articles

  Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1