Be Able To คืออะไร? ต่างจาก ‘can’ ‘could’ อย่างไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ‘be able to’ ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรนั้นเราลองไปดูกันเลยครับ
Be able to

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Be able to คือ?

ในภาษาไทยนั้น ‘be able to’ จะแปลได้ว่า “สามารถ” ครับ ซึ่งน้องๆ อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘can’ หรือ ‘could’ กันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งนอกจาก 2 คำนี้แล้วนั้น น้องๆ สามารถใช้ ‘bee able to’ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามคำเหล่านี้ก็จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย เรามาเริ่มจากโครงสร้างของมันก่อนดีกว่าครับ

be able to

 

ตัวอย่างเช่น

I am able to do that for you.
= I can do that for you

ซึ่งทั้ง 2 ประโยคนี้แปลได้เหมือนกันว่า “ฉันสามารถทำให้คุณได้”

 

แตกต่างจาก ‘can’ และ ‘could’ อย่างไร

อย่างไรก็ตามคำว่า ‘be able to’ นั้นก็มีความแตกต่างจากคำว่า ‘can’ และ ‘could’ เล็กน้อย นั่นก็คือ can/could นั้นปกติจะใช้บอกถึงสิ่งที่เราทำได้/ไม่ได้ โดยเป็นความสามารถที่ติดตัวเรามาอยู่แล้ว แต่ be able to นั้นจะใช้กับสิ่งที่เราทำได้/ไม่ได้ในชั่วขณะนั้น น้องๆ ลองดูความแตกต่างระหว่างสองประโยคนี้ครับ

 

1) He cannot swim. He’s never learned how to swim.
เขาว่ายน้ำไม่ได้ เขาไม่เคยเรียนว่ายน้ำ

2) He is not able to swim. The swimming pool is closed today.
เขาว่ายน้ำไม่ได้ สระว่ายน้ำปิดวันนี้

 

น้องๆ จะสังเกตได้ว่า ประโยคที่ 1 นั้นเขาว่ายน้ำไม่ได้เนื่องจากเขาว่ายไม่เป็น ไม่เคยเรียนว่ายน้ำนั่นเอง
ต่างจากประโยคที่ 2 ที่เขาว่ายน้ำได้ แต่เนื่องจากสระว่ายน้ำปิดวันนี้ ทำให้เขาไม่สามารถว่ายน้ำได้ (ในวันนี้)นั่นเองครับ

 

นอกจากนั้น beeable to ยังสามารถใช้บอกความสามารถที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยครับ ซึ่งต่างจาก ‘can’ ที่ใช้บอกความสามารถในปัจจุบัน และ ‘could’ ที่ใช้พูดถึงความสามารถในอดีต เช่น

 

You will be able to use your arm by the end of next month.
คุณจะสามารถใช้แขนของคุณได้ช่วงปลายเดือนหน้า

 

จากตัวอย่างน้องๆ จะสามารถเดาได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่คนๆ หนึ่งเกิดอุบัติเหตุทำให้แขนของเขาใช้งานไม่ได้ คุณหมอจึงบอกว่าแขนเขาจะกลับมาใช้งานได้ปกติในปลายเดือนหน้านั่นเองครับ

example

 

และนี้ก็เป็นวิธีการใช้โครงสร้าง ‘be able to’ และความแตกต่างจาก ‘can’ และ ‘could’ นั่นเองครับ เข้าใจไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ? หากน้องๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอเรื่องนี้จากช่อง Nock Academy ได้ตามลิ้งก์ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ เช่น 2 เป็นรากที่

โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม

บทความนี้เป็นเรื่องการวิเคราห์โจทย์ปัญหาการหารทศนิยม ซึ่งโจทย์ที่นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเขียนประโยคสัญลักษณ์ รวมไปถึงการสดงวิธีทำ หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1