Auxiliary Verbs คืออะไร?

สวัสดีน้องๆ ม.5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า Auxiliary Verbs ในภาษาอังกฤษกันครับ
auxiliary verbs

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Auxiliary Verbs in a Nutshell

Auxiliary Verbs หรือน้องๆ อาจจะคุ้นในชื่อ Helping Verbs ในภาษาอังกฤษ คือกริยาที่ใช้คู่กับกริยาแท้ (Main Verb) ในประโยคเพื่อช่วยบอก Tense และช่วยในประโยคปฎิเสธและประโยคคำถามอีกด้วยครับ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1) Verb “To Do” ได้แก่ do, does, did, done

2) Verb “To Be” ได้แก่ be, is, am, are, was, were, being, been,

3) Verb “To Have” ได้แก่ have, has, had, having

verb to do

verb to be

verb to have

 

หน้าที่ของ Auxiliary Verbs

หลักๆ แล้วกริยาช่วยจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1) ช่วยบอก Tense ของประโยค

เช่น

She has been waiting for an hour.

(เธอรอมาเป็นชั่วโมงแล้ว)

“has been” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “wait” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Present Perfect Continuous

 

He was talking to someone on the phone when I arrived.

(เขากำลังพูดกับใครบางคนผ่านโทรศัพท์ตอนที่ฉันมาถึง)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “talk” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Past Continuous Tense

 

At 10 O’clock tomorrow, I will be studying at the library.

(ตอนสิบโมงพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังเรียนหนังสืออยู่ในห้องสมุด)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “study” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Future Continuous Tense

 

2) ช่วยบอก Voice ของประโยคว่าเป็น Active หรือ Passive

เช่น

Hit by the car, the boy was hospitalised.

(เด็กผู้ชายที่โดนรถชนถูกนำส่งโรงพยาบาล)

“was” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “hospitalise” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (เด็กถูกนำส่งโรงพยาบาล)

 

This ticket is used to enter the concert hall.

(ตั๋วใบนี้ใช้เพื่อเข้าชมคอนเสิร์ต)

“is” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “use” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (ตั๋วถูกใช้)

 

The internet connection will be disconnected tomorrow.

(สัญญาณอินเทอร์เน็ตจะถูกตัดวันพรุ่งนี้)

“will be” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “disconnect” เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็น Passive Voice (สัญญานจะถูกตัด)

*ดูเพิ่มเติมเรื่อง Passive Voice ได้ที่นี่

 

3) ช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ

เช่น

Did you submit your homework yesterday?

(คุณส่งการบ้านเมื่อวานหรือยัง?)

“did” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “submit” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคคำถาม

 

I don’t know who stole your wallet.

(ผมไม่รู้ว่าใครขโมยกระเป๋าสตางค์ของคุณไป)

“do not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “know” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

He didn’t want to leave that happy moment.

(เขาไม่อยากออกไปจากช่วงเวลาที่มีความสุขนั้น)

“did not” ถูกนำมาช่วยขยายกริยา “want” เพื่อทำให้ประโยคนี้เป็นประโยคปฏิเสธ

 

เคล็ดลับของกริยาช่วย

1) โดยทั่วไปแล้วกริยาช่วยจะไม่มีความหมายในตัว เป็นเพียงแค่กริยาที่นำมาช่วยเสริมกริยาแท้เพื่อจุดประสงค์ที่บอกไปแล้วข้างต้น แต่กริยา “have” จะเป็นกริยาแท้หากแปลว่า “มี” หรือ “รับประทาน” และ “do” ที่แปลว่า “ทำ” ก็เป็นกริยาแท้เช่นกัน ลองดูความแตกต่างระหว่าง 2 ประโยคนี้

I have 2 dogs and 1 cat.

(ฉันมีสุนัข 2 ตัวและแมว 1 ตัว)

“have” ในประโยคนี้แปลว่า “มี” ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้

 

I have finished my assignment.

(ฉันทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว)

“have” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่มาช่วยขยายกริยาคือ “finish” บ่งบอกว่าประโยคนี้เป็น Present Perfect

 

2) Verb to be ที่ตามหลังด้วย Adjective หรือ Noun เพื่อบอกลักษณะ อาการ อาชีพ หรือคุณสมบัติอื่นๆ จะทำหน้าที่เป็นกริยาแท้เช่นกัน (แปลว่า เป็น/อยู่/คือ) เช่น

I am an engineer.

(ฉันเป็นวิศวะกร)

“is” เป็นกริยาแท้ แปลว่า “เป็น” เพราะอยู่หน้าคำนาม บ่งบอกอาชีพ

 

He is running in the park.

(เขากำลังวิ่งอยู่ในสวนสาธารณะ)

“is” ในประโยคนี้ไม่มีความหมาย แต่ขยายกริยา “run” เพื่อบ่งบอกว่าเป็น Present Continuous

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่อง Auxiliary Verbs เรื่องนี้อาจจะดูสับซ้อนนิดหน่อย แต่หากน้องๆ เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วก็จะสามารถแยกประเภทและใช้มันได้อย่างถูกต้องนั่นเองครับ โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้านล่างได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ จะเกี่ยวข้องกับ θ พิกัดของ จุด (x, y) ซึ่งในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่าง x, y กับ θ จากบทความที่ผ่านมาเราได้รู้จักวงกลมหนึ่งหน่วยและการวัดความยาวส่วนโค้ง ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับฟังก์ชันไซน์ (sine function) และฟังก์ชันโคไซน์ (cosine function) และวิธีการหาค่าของฟังก์ชันทั้งสอง Sine function =

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1