สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

Suggesting Profile

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า

สำนวนการเสนอ

Suggesting Profile (2)

 

ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้

 

  • ถามแบบรูปประโยค Yes/No Question :

Shall we…………?

เรา………กันดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค Wh- Questions :

Why don’t we………..?

เรา .. … กันมั้ย

How about……….?

…………….ดีมั้ย

  • ถามแบบรูปประโยค  Indirect Questions :

ตัวอย่าง:

Shall we read books at the library?

เราไปอ่านหนังสือที่ห้องสมุดกันเถอะ

Why don’t we walk to school?

ทำไมเราไม่เดินไปโรงเรียนกันนะ (หรือ เดินไปโรงเรียนกันดีกว่า)

How about playing a football after school?

เย็นนี้ เล่นฟุตบอลกันเถอะ

I wondered if we should sit with them?

ฉันว่าเราควรไปนั่งกับพวกเขากันเถอะ

Shall we book a movie ticket?

เราจองตั๋วหนังกันดีมั้ย

Shall we go to the wedding?
เราควรไปงานแต่งกันมั้ย

I wondered if we can wear a mask during Covid-19 everyday?
ฉันว่าเราควรใส่หน้ากากทุกวันในช่วงโควิดนี้

How about eating out today?
วันนี้ไปกินข้าวนอกบ้านกันดีกว่า

ประโยคขออนุญาตที่ใช้บ่อย

 

Suggesting Profile (3)

  • โครงสร้าง: May + subject+….please?

รูปประโยคนี้เป็นประโยคที่ “สุภาพ ใช้ขออนุญาตผู้ที่เราเคารพ อายุมากกว่า เช่นครู พ่อแม่ เป็นต้น

May I go to the toilet please?
ขออนุญาตไปห้องน้ำได้มั้ยคะ/ครับ

 

  • โครงสร้าง:  Can + Subject + …please?หากต้องการให้สุภาพมากขึ้นควรใช้ please ในประโยค ซึ่ง please นี้สามารถวางไว้หลังประธาน หรือ ท้ายประโยคก็ได้จร้า การใช้ can จะพบได้โดยทั่วไป แต่ส่วนใหญ่ก็จะใช้คล้ายๆกับ may กล่าวคือ ใช้กับบอส รุ่นพี่ พ่อแม่ ครู อาจารย์ พระ เป็นต้น

Can you please give me some money? I’m pretty broke.

ขอตังค์หน่อยได้มั้ย ช่วงนี้ถังแตกมากๆ

 

Can I hang out with my friends tonight?

ขอออกไปเที่ยวกับเพื่อนได้มั้ยคะ/ครับ คืนนี้

 

  • โครงสร้าง:   Do you mind if +subject…..?

mind ในความหมายนี้แปลว่า รังเกียจ โครงสร้าง Do you mind if + subject…..?

 จะแปลว่า คุณจะรังเกียจไหมถ้า…..เช่นตัวอย่างด้านล่าง

 

Do you mind if I stay here tonight?
คุณจะรังเกียจมั้ยถ้าฉันจะขอค้างคืนที่นี่

 

Daughter: Do you mind if I go out with Danny?

ลูกสาว: พ่อจะโอเครมั้ยถ้าหนูจะออกไปกับแดนนี่
Dad: Why not? But please don’t come home late.
พ่อ: ไปสิ แต่อย่ากลับดึกนะ

 

 

การแสดงความต้องการ

มารู้จักกับประโยคคำสั่ง

 

Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง?

ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

I need some sugar. ฉันอยากได้น้ำตาล
***ค่อนข้างเป็นภาษาระดับกันเองมากๆ

I want some sugar. ฉันต้องการน้ำตาล
****เป็นภาษาระดับกลาง ใช้กับคนสนิทหรือ บุคคลทั่วไป

หากต้องการถามขอน้ำตาลก็สามารถพูดได้ว่า

Can I have some sugar please?
ขอน้ำตาลหน่อยค่ะ/ครับ

***ในกรณีที่ต้องใช้ประโยคคำถามแบบสุภาพมากๆ ซึ่ง มักจะเจอในบริบทที่ เป็นทางการ หรือ สถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคย ซื้อของกับพนักงาน บทสนทนาในร้านอาหาร จะใช้ โครงสร้าง “I would like to have + สิ่งที่ต้องการ ..เช่น

 

Situation: At the restaurant. ณ ร้านอาหาร

James: I would like to have some water please!
แปลว่า ขอน้ำด้วยนะคะ/ครับ
***จะสังเกตได้ว่าเป็นภาษาพูดที่สุภาพมากๆเลยจร้า

Waitress: Here you are sir.
แปลว่า นี่ค่ะน้ำ คุณผู้ชาย

 

ประโยคเสนอแนะที่เจอบ่อย

 

ประโยคแนะนำ

คำศัพท์น่าสนใจ

Advice (Noun): คำแนะนำ
Advise (Verb): แนะนำ

 

ประโยคคำแนะนำ ส่วนใหญ่แล้วจะเจอในรูปแบบของประโยคบอกเล่า ซึ่งจะมีความหมายในทางเสนอแนะ มากกว่า บางครั้งก็เป็นการให้ความคิดเห็นและแนะว่าควรทำหรือไม่ควรทำสิ่งใด สิ่งหนึ่งถือเป็นการเสนอแนะโดยตรงมีโครงสร้างดังนี้

 Subject + suggest/advise/propose + (that) +…..

 ตัวอย่าง

I suggest (that) you should take a bus to school.

ฉันขอเสนอแนะว่า เธอควรขึ้นรถบัสไปโรงเรียน

 

I advise  (that) we should go jogging everyday.
ฉันแนะนำว่า เราควรไปวิ่งทุกวัน

 

I propose (that) we should not miss the flight.
ฉันขอเสนอว่า ว่าเราไม่ควรตกเที่ยวบิน

 

I advise (that) you should water your plants every day.
ฉันแนะนำให้คุณรดน้ำต้นไม้ทุกวัน

I advise (that) you should take a medicine everyday.
ฉันแนะนำให้คุณทานยาทุกวัน

 

 

รูปแบบและโครงสร้างประโยค Imperative sentence ที่ควรรู้

 

Imperative Sentence

 

  • Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น

Help! ช่วยด้วย
Help me pelase! กรุณาช่วยด้วย
Help me please anyone! ใครก็ได้ช่วยที

Move out! แปลว่า ออกไป
Move on. แปลว่า เดินหน้าต่อไปได้แล้วนะ
Stay strong. แปลว่า เข้มแข็งหน่อยสิ
Go for it. แปลว่า ลุยเลย
Stay focus. แปลว่า มีสมาธิหน่อยสิ
Listen up! แปลว่า ตั้งใจฟัง
Quiet please! แปลว่า กรุณาเงียบๆด้วย
Hans up! แปลว่า ยกมือขึ้น

อธิบายเพิ่มเติม: ถ้าต้องการให้ประโยค Imperative สุภาพยิ่งขึ้น ควรเติม ‘do’ ไว้ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น

 Do study hard. แปล ต้องขยันเรียนนะ

 Do come. แปล ต้องมานะ

 Do go to school.  แปล ต้องไปโรงเรียนนะ
Do have breakfast every morning. แปล ต้องทานอาหารเช้าทุกๆ เช้านะ
Do miss me sometimes! แปล คิดถึงฉันด้วยนะ

 

  • ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น

Be helpful! 
แปลว่า ทำตัวให้เป็นประโยชน์ด้วย

Be a good boy.
แปลว่า จงเป็นเด็กดี

Be a good role model.
แปลว่า จงเป็นตัวอย่างที่ดี

Be proud of yourself.
แปลว่า จงภูมิใจในตัวเอง

Be brave.
แปลว่า จงกล้าหาญ

Be kind.
แปลว่า จงมีเมตตา
Be humble.
แปลว่า จงถ่อมตัว
Be eager to learn.
แปลว่า จงกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้

 

Imperative sentence ในรูปแบบประโยคปฏิเสธ หากต้องการทำให้เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง do not (don’t) หน้าคำกริยา จะได้โครงสร้าง Don’t + V. infinitive เช่น

 

Don’t eat late.
= อย่าทานข้าวสาย

 

Don’t copy a homework.
= อย่าลอกงานเพื่อน

Don’t go alone during a night time.
= อย่าไปคนเดียวตอนดึกๆ

 

  • Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น

Don’t be silly.
= อย่างี่เง่า

Don’t be noisy here.
= อย่าเสียงดังที่นี่

Don’t be grumpy.
= อย่าวีน (อย่าอารมณ์เสียเลย)

 

 

 

ประโยคและวลีเพื่อการตอบรับ (Accepting)

 

การตอบรับ (Accepting)

Yes!
ได้เลย

Of course.
แน่นอน

That’s a good/ great idea/ What a good idea.
เป็นความคิดที่ดีมากๆ

That’s interesting.
น่าสนใจดี

Yes/ Of course/ Certainly/Absolutely/ Surely
ไปแน่นอน

 ประโยคและวลีเพื่อการตอบปฏิเสธ (Refusing):

 

การตอบปฏิเสธ (Refusing)

Sorry, I can’t go.
ขอโทษด้วยนะ ฉันไปไม่ได้

Sorry! I’m in a hurry!
ขอโทษนะ ฉัน/ผมรีบอยู่

Sorry, I already had a plan.
ขอโทษนะพอดีว่ามีแผนแล้ว

I’m afraid I won’t be able to go.
ดิฉันเกรงว่าคงจะไปไม่ได้นะคะ

Sorry, I’d love to but I already had an appointment.
ขอโทษที
ฉันก็อยากไปนะ แต่บังเอิญว่าดันฉันมีนัดแล้วอะ

 I really don’t think I can go, and I must say sorry.
ฉันคิดว่าฉันคงจะไปไม่ได้จริงๆค่ะ
ต้องขอโทษนะคะ

 

ในภาษาอังกฤษ หากว่าเราไม่พูด หรือ ถามออกมาตรงๆ ก็เพราะว่าต้องการให้ภาษาพูดสอดคล้องกับบริบทให้มาก เช่น ผู้พูดจะต้องคำนึงถึง อายุ สถานะ  สถานที่
และเพศสภาพของผู้ที่พูดด้วย  
ครูหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักเรียนที่น่ารักทุกคนจะได้รับประโยชน์และความรู้จากการอ่านบทความนี้นะคะ ขอให้สนุกและมีความสุขกับการเรียนนะคะทุกคน

 

อย่าลืมทบทวนบทเรียนกับวีดีโอด้านล่าง นะคะ คลิกตรงปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้ได้สนุกสร้างเสริมองค์ความรู้ภาษาอังกฤษแบบปังๆกันจร้า
เลิฟๆ Take care guys!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย     ประวัติความเป็นมา สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

การใช้ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต

สวัสดีนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวเราในภาษาอังกฤษกันค่ะ ได้แก่ ประโยคเกี่ยวกับอาชีพ สัญชาติ ข้อมูลส่วนบุคคล และอาชีพที่อยากทำในอนาคต พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลย   อาชีพ (Occupation)     ตารางคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาชีพ คำศัพท์ แปล engineer วิศวกร actor นักแสดง YouTuber นักยูทูบเบอร์ Gamer

causatives

Causatives: Have and Get Something Done

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ไวยากรณ์เรื่อง Causatives หรือการใช้ Have/Get Something Done ที่น้องๆ บางคนอาจจะสงสัยว่าคืออะไร ลองไปดูกันเลยครับ

ภาษาเขมรในภาษาไทย เรียนรู้ความเป็นมาและลักษณะภาษา

ภาษาเขมร เป็นภาษาประจำชาติของประเทศกัมพูชา และยังเป็นภาษาที่คนไทยเชื้อสายเขมรใช้พูดกันอีกด้วย แต่นอกจากนั้นแล้ว น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ายังมีคำที่มาจากภาษาเขมรปนอยู่ในชีวิตเรามากมายเลยทีเดียว เรียกได้ว่าถ้าหากภาษาบาลีสันสกฤตเป็นภาษาต่างประเทศที่ถูกหยิบยืมมาปรับใช้ในภาษาไทยมากที่สุดแล้ว ภาษาเขมรก็ถือว่าตามมาติด ๆ เลยทีเดียวค่ะ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วคำไหนบ้างที่มาจากภาษาเขมร มีวิธีสังเกตอย่างไร ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้ว ไปเรียนรู้เรื่อง ภาษาเขมรในภาษาไทย พร้อมกันเลยค่ะ   จุดเริ่มต้นของภาษาเขมรในภาษาไทย     เนื่องจากเขตประเทศที่อยู่ติดกัน

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1