มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนป.5 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

 

มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ

Asking for Direction in English

 

การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว

 

วิธีการถามทาง

โครงสร้าง:  How can I get to…(name of the place)..?
แปล ไม่ทราบว่าจะไป …ชื่อสถานที่…. ได้อย่างไร

NokAcademy_Direction

Examples:
Excuse me,
How can I get to the UK embassy building?
= ขอโทษนะคะ/ครับ
ฉัน/ผมขอถามทางไปตึกสถานทูตอังกฤษหน่อย

Excuse me. หรือ Pardon me.
แปลว่า ขอโทษค่ะ/ครับ เป็นภาษาพูดแบบสุภาพ ใช้กับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ การพูดทั่วไปที่ต้องเกริ่นก่อนที่จะถาม

Do you know…

Do you know where …(destination)..?
แปล คุณรู้ไหมว่า ……. อยู่ที่ไหน

Do you know where the toilet is?
แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (อเมริกัน)

Do you know where the bathroom is?
แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (บริติช)

 

คำขึ้นต้นประโยคที่ใช้บ่อยเวลาถามทาง

 

มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

 

 Could you tell me..?
= ช่วยบอกได้ไหมว่า…
Do you know..?
= คุณรู้จัก…
May I ask…?
= ขอถามหน่อยว่า…
Do you mind if I ask…?
= จะเป็นอะไรไหมถ้าจะขอถามว่า…
I’d like to know…
= ฉัน หรือ ผมต้องการทราบว่า…
I’m interested to know…

= ฉันหรือผมอยากรู้ว่า…

 Indirect Questions คืออะไร

 

Indirect Question คือ รูปแบบประโยคคำถามทางอ้อม จะไม่ถามตรงๆแบบรูปแบบประโยคทั่วไป (Direct Quetions)
เรามักจะเจอ ประโยคคำถามแบบ Indirect Questions ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ  หรือ ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ความสุภาพ
เช่น การถามทาง เป็นต้น

 มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English (1)

 

อธิบายเพิ่มเติม:

Direct Question VS Indirect Question คืออะไร

 

  • Direct Questions คือ คำถามที่ถามตรงๆ ไม่อ้อมค้อม แบบห้วนๆเลย ตัวอย่างเช่น
    Which is the best way to school? แปลว่า ทางไปโรงเรียนที่ดีที่สุดคือทางไหน
  • Indirect Questions คือคำถามแบบอ้อม  ตัวอย่างเช่น
    Do you know which is the best way to school? แปลว่า คุณพอจะทราบ ทางไปโรงเรียนที่ดีที่สุดมั้ยคะ/ครับ

 

***ในกรณีของผู้ตอบ หากไม่รู้ก็มีวิธีปฏิเสธแบบสุภาพก็สามารถ พูดแบบตรงๆ หรืออ้อม เพื่อรักษาน้ำใจผู้ถามได้เหมือนกัน ดังตัวอย่างประโยคด้านล่างเช่น

 

Sorry, I’m also new here.
= ขอโทษด้วย ผม/ฉันก็ใหม่กับที่นี่เหมือนกัน

Let me find it on Google map for you.
= เดี๋ยวผม/ฉันช่วยหาบนกูเกิลแมพให้นะ

Sorry, I don’t know it.
=ขอโทษด้วยนะ ผม/ฉันไม่รู้จริงๆ

Let me ask my friend for you first.
= ขอถามเพื่อนให้ก่อนนะ

ตารางสรุป (Asking for direction)

เมื่อต้องมีการถามเส้นทาง เราสามารถถามคำถามได้ทั่วไป และถามแบบสุภาพ โดยการใช้ตัวอย่างประโยคด้านล่างนะคะ

NokAcademy_Direction (3)

 

ประโยคถามเส้นทาง

(Asking for direction)

แปล

(Translation)

Could you tell me how to get to..?

(get to = go to)

 

กรุณาบอกหน่อยได้ไหมครับว่าจะไป…ได้อย่างไร?
How do I find…?

 

ฉันจะหา….ได้อย่างไร? (ทางไป…)
What is the best way to…?

 

ทางไหนดีที่สุดที่จะไป…?
Pardon me, I’m lost, how do I get to…?

 

 

ขอโทษนะคะ/ครับ
ฉันหลงทาง ไม่ทราบว่าจะไป….อย่างไร?
How do I get to…?

 

ฉันจะไปที่…ได้อย่างไร?
Which way do I go to get to..?

 

ฉันจะไป…ทางไหน?
What’s the best way to..?

 

วิธีไหนที่ดีที่สุดในการไป…คือวิธีไหน
Could you direct me to…?

 

คุณสามารถบอกทางไป…ฉันหน่อยได้มั้ย?
Excuse me, How can I go to…?

 

ขอโทษนะคะ ฉันจะไปที่…ได้ยังไง?
Can you tell me the way to..?

 

ช่วยบอกทางไป…ได้มั้ย

คำบุพบทบอกตำแหน่ง (Preposition of direction)

 

NokAcademy_Direction (4)

เมื่อจะต้องบอกทาง เราต้องรู้จักกลุ่มคำศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า Preposition หรือคำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือเชื่อมคำนามกับ วลี/ประโยค ซึ่ง Preposition ที่สำคัญและพบกันอยู่บ่อยๆ ในการบอกทิศทาง ได้แก่ go straight (เดินตรงไป), in(ใน), on (บน), toward (ไปยัง), form (จาก), in (ใน), after (หลังจาก), among (ระหว่าง), at (ที่), move to the left (เดินไปทางซ้าย)

 

คู่คำบุพบทบอกสถานที่สับสนบ่อย

 

NokAcademy_Direction (5)

 

  • On VS On top

โดยปกติแล้ว ‘On’ จะถูกใช้กับที่ปกติที่ใช้ในการวางสิ่งของ เช่น

 The books are on the bookshelf.
แปล หนังสืออยู่บนหิ้ง

ส่วน ‘On top’ จะถูกใช้กับที่ที่ไม่ปกติในการวางสิ่งของ เช่น

 The pillows are on top of the bed.
แปล หมอนวางอยู่บนหัวเตียง

 

  • Between VS Beside

‘Between’ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีวัตถุหนึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 วัตถุ ส่วน ‘Beside’ มีความหมายเหมือนกับ ‘Next to’ แต่ว่า ‘Beside’ จะมีความเป็นทางการมากกว่า ทั้งคู่จะถูกใช้เมื่อวัตถุ หนึ่ง อยู่ข้างๆ วัตถุ หนึ่ง

NokAcademy_Daniel DirectionP5

Situation: Daniel is asking for a parking lot.

Daniel: Where did you park your car?
แดเนียล: คุณจอดรถไว้ไหน

Jessica: It’s next to the 5th Avenue Street.
เจสสิกา: ฉันจอดไว้ที่ถนนฟิฟต์เอเวนนิว

Daniel: Is it between the coffee shop and the convenient store?
แดเนียล: ใช่ถนนที่อยู่ระหว่างร้านกาแฟกับร้านขายของชำมั้ย

Jessica: Exactly!
เจสสิกา: ใช่เลย

 

  • Under VS  Below
    ใช้ ‘Under’ เมื่อวัตถุหนึ่งถูกปกคลุมด้วยวัตถุอื่น ส่วนเราจะใช้ ‘Below’ เมื่อวัตถุหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุอื่น

Situation: Tourist is asking Dao for a direction.

 

NokAcademy_DaoDirectionP5

Tourist: Excuse me, how can I go to Thai Food Restaurant?
นักท่องเที่ยว: ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าร้านอาหารไทยไปทางไหนครับ

Siri: I think it is below this 3rd floor.
สิริ: ฉันคิดว่ามันอยู่ใต้ ชั้นสามนี่แหละค่ะ

Tourist: I see. And where is the nearest toilet please?
นักท่องเที่ยว: เข้าใจแล้วครับ แล้วห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหนครับ

Siri: You can go straight. The toilet is about 10 meters away.
สิริ: ให้คุณเดิน ตรงไป นะคะ ห้องน้ำอยู่ไกลจากตรงนี้อีกประมาณ 10 เมตร

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ขอให้นักเรียนที่รักเดินทางไปไหนแล้วไม่หลง หรือถ้าหลงอย่างน้อยก็ต้องกล้าที่จะถามทางกันนะคะ
Have a good day guys!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1