สวัสดีค่ะนักเรียนม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปรู้จักกับ Linking Verbs ให้มากขึ้น แต่ก่อนอื่นไปดูความหมายของ Linking Verbs กันก่อนนะคะ
ไปลุยกันเลย
มาทำความรู้จักกับ Linking Verbs
Linking verbs คืออะไรกันนะ Linking แปลว่า การเชื่อม มาจากรากศัพท์ link ที่เป็นกริยาเติมด้วย ing แล้วกลายเป็นคำนามที่เราอาจจะเคยได้ยินในชื่อ Gerund หรือ Ing-form และ Verb ที่แปลว่า กริยา เพราะฉะนั้น Linking verbs จึงหมายถึง กริยาเชื่อม ทำหน้าที่เชื่อมประธานกับคุณศัพท์ เพื่อบอกสองสิ่งหลักๆ ก็คือประธานกับคำคุณศัพท์ที่ทำหน้าที่ขยายคำนามนั่นเอง เราจะเข้าใจมากขึ้นเมื่อดูตัวอย่างด้านล่าง จากหัวข้อ A และ Bไป C นะคะที่รัก
หลักการใช้ Linking Verbs
Linking verb ก็คือ คำกริยาที่ทำหน้าที่เชื่อมประธานของประโยค กับ คำคุณศัพท์ เพื่อบ่งบอกสภาวะของประธานในประโยคนั้นๆ ซึ่งคำที่เรารู้จักกันดีก็คือ Verb to be แต่ก็มีหลักการใช้ที่ต่างกันออกไปตามตัวอย่างประโยค A, B, และ C
A: เพื่อบ่งบอกสภาวะของประธานในประโยคนั้นๆ
ซึ่งบางคนอาจจะเคยได้ยินบ่อยๆในชื่อของกริยา ก็คือ Verb to be นั่นเองค่ะ
ตัวอย่างประโยค
They are content. แปลว่า พวกเขามีความสุข
Neena is crazy. แปลว่า นีน่าเป็นบ้าไปแล้ว
เพิ่มเติม: Linking Verbs หรือกริยาแท้
Linking Verb ตามตัวอย่างด้านบนนั้น ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ได้ทั้ง กริยาแท้ และกริยาเชื่อม มีสาม 3 คำ คือ be , become, seem ที่เป็นได้เฉพาะกริยาเชื่อม เพราะบอกได้แค่สภาวะ แต่ไม่สามารถบอกการกระทำได้
การนำไปใช้ในประโยค
จากที่ได้เล่าไว้-ข้างต้นว่ากริยากลุ่ม Linking Verbs ทำหน้าที่เป็น “ตัวเชื่อม” เหมือนกับกาว ที่เชื่อมระหว่างประธาน และ ส่วนเติมเต็ม ของประโยค ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็น “กริยา” แต่ Linking Verbs กลับไม่ “แสดงการกระทำ” เหมือนกริยาอื่น ๆ ทั่วไป แต่จะทำหน้าที่ เพื่อ อธิบาย เกี่ยวกับประธาน โดยมี “ส่วนเติมเต็ม” (complement) ทำหน้าที่เป็นคำอธิบาย ให้จำหลักการง่ายๆว่า ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาแท้จะแสดงการกระทำ ถ้าทำหน้าที่เป็นกริยาเชื่อมจะแสดงสภาวะของประธานหลักในประโยคนั่นเองค่ะ
ตัวอย่างคำกริยาที่เป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาเชื่อม เช่น
My dream of having a Korean boyfriend comes true.
ฝันที่จะมีแฟนเป็นคนเกาหลีของฉันกลายเป็นจริงแล้วสินะ
กริยา comes ใช้แทน linking verb ได้เลย เชื่อม ฝันของฉัน ว่าเป็นจริงแล้ว
(เชื่อม dream //linking verb: comes// true เป็น Adj. ที่ขยายประธาน dream)
คำถามที่พบบ่อย: Linking Verb กับ Verb to be ต่างกันอย่างไร
คำตอบ: ความแตกต่างของLinking verb กับ Verb to be ก็คือ
Linking verb จะใช้เชื่อมพฤติกรรมชั่วคราว ส่วน Verb to be จะใช้เชื่อมพฤติกรรมค่อนข้างถาวร นะคะทุกคน ต้องดูที่ตัวอย่างด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น
B: บอกนิสัย หรือพฤติกรรม
ถ้าเราใช้ Verb to be เมื่อไหร่ จะเป็นการบอกนิสัย ถาวรของคนๆนั้น แต่ถ้าใช้ linking verb จะบอกว่าพฤติกรรมนั้นๆเกิดเพียงแค่ชั่วคราว
เช่นในประโยคด้านล่าง
They are very happy.
พวกเขามีความสุขมาก
V. to be /are/ เชื่อม They /กับ/ happyShe is diligent.
หล่อนเป็นคนขยัน
She เป็นประธาน is เป็น V.to be ที่เชื่อม diligent ที่แปลว่าขยันNeena and Danie are very nice.
นีน่ากับแดนี่เป็นคนที่ดีมาก
Neena กับ Danie ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค ส่วน are เป็น V. to be ที่เชื่อมประธานทั้งสองคนว่า nice (คนดี)
และมี very /Adv./ แปลว่า มาก มาขยาย nice อีกที ซึ่งแปลว่าดีมาก
C: Verb to be จะถูกแทนที่ด้วยคำบางคำที่มีความหมายชัดเจนกว่า
แต่ในบางบริบทจะมีคำบางคำที่ใช้แทนกันได้เลย เช่น
ตัวอย่างประโยค
The food here is very good.= The food here tastes very good.
แปลว่า อาหารที่นี่มีรสชาติดีมาก VS อาหารที่นี่รสชาติดีมาก
She is very upset now. = She seems very upset now.
หล่อนรู้สึกอารมณ์เสียมาก VS หล่อนดูอารมณ์เสียมาก
เพิ่มเติม: แม้ว่าจะมีเทคนิคมากมายให้เลือกใช้ แต่ต้องดูบริบทการใช้ Linking Verbs ด้วยนะคะ เช่น ตัวอย่างประโยคด้านล่างนี้
They were busy this morning. = They seemed busy this morning.
พวกเขายุ่งมากเมื่อเช้านี้ VS พวกเขาดูยุ่งมากเมื่อเช้านี้
ประโยคแรกจะดูมั่นใจว่าพวกเขายุ่งจริงๆเมื่อเช้านี้ เหมือนกับว่าผู้พูดอยู่ในสถานการณ์นั้นเลยค่ะ ส่วนประโยคที่สองจะใช้เมื่อผู้พูดแสดงความคิดเห็นว่า “เขาดู…” เพราะว่า ไม่ค่อยมั่นใจ หรือเป็นเพียงการแสดงข้อคิดเห็นขึ้นมาเท่านั้น
จากตรงนี้จะเห็นได้ว่า บริบทการใช้คำนั้นมีความสำคัญอย่างมากเมื่อเราต้องแต่งประโยค และสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือการสื่อสารให้ตรงบริบทนั่นเองค่ะ
ซึ่งการท่องศัพท์ให้ได้และนำไปใช้ให้เป็นก็สำคัญไม่แพ้กัน
สรุปการใช้ Verb to be 3 ข้อ
- ความเป็นไปของประธาน
- บอกพฤติกรรม
- ถูกแทนที่ด้วยความหมายที่ชัดเจนกว่า
หัวใจของการใช้ Linking verbs
เราต้องแยกให้ได้ว่า Linking verbs ตัวนั้น ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม หรือทำหน้าที่เป็นกริยาแสดงอาการกระทำ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกริยากลุ่ม Action verbs หรือกริยาที่แสดงการกระทำชัดเจนในตัวมันเช่น taste เป็นต้น
ศัพท์ที่สำคัญใน Linking Verbs
คำศัพท์พื้นฐาน ของ Linking verbs เบื้องต้นที่ทุกคนควรรู้ ได้แก่
feel แปลว่า รู้สึก
get แปลว่า เริ่ม ,ได้รับ
go แปลว่า เกิด, ไป
grow แปลว่า โต, ปลูก
look แปลว่า ดูเหมือน
remain แปลว่า ยังคง, อยู่
be (is am are/ wase were/ been) แปลว่า เป็น, อยู่, คือ
appear แปลว่า ดูเหมือน , ปรากฎ
become แปลว่า เริ่ม, กลาย
come แปลว่า เป็น, กลายเป็น, มา
seem แปลว่า ดูเหมือน
smell แปลว่า ส่งกลิ่น , ดม
sound แปลว่า ดูเหมือน , ส่งเสียง
stay แปลว่า ยังคง , พัก
turn แปลว่า กลาย ,หมุนtaste แปลว่า มีรส, ชิม
สรุปอีกรอบเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นนะคะ ในกลุ่มของ Linking Verbs จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ Linking Verbs (V. to be) และ Linking Verbs (ชั่วคราว) และต้องจำให้ขึ้นใจว่า V. to be คือ is, am, are, was, were, been, being
และกลุ่ม Linking Verbs แบบที่มีความหมายในตัวเอง เช่น look, sound, feel, get, seem, become, appear, smell, taste ที่สำคัญต้องดูบทบาทและสถาณการณ์การใช้ (Context and Situational usage) กันด้วยนะคะ
เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียนที่รักทุกคน ขอให้สนุกกับการเรียนเรื่อง Linking Verbs กันนะคะ และที่สำคัญอย่าลืมบททวนบทเรียนเพื่อให้เราได้เข้าใจมากขึ้นกับวีดีโอสนุกๆ ด้านล่างด้วยนะคะ เลิฟๆ