Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย
ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions
ประโยคคำถามแบบ Wh-question
“what” |
ประโยคคำถามที่ใช้
would + Subject +like… |
ประโยคคำถามแบบปรกติ ด้วยการใช้ Yes-no Questions “Do…” |
ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like… |
What cookie do you like? | Would you like some cookie? | Do you like dancing? | Would you like to dance? |
ถามตอบเกี่ยวกับความชอบทั่วๆไป | เสนอ/ชวนให้ทำ…
มีความสุภาพมากกว่า |
ถามเกี่ยวกับความชอบและไม่ชอบทั่วไป | ชวนให้ทำอะไรบางอย่าง |
ความหมายของ “would like”
would like ถูกใช้ในสองความหมายหลักๆด้านล่าง ตรงนี้เราจะใช้ รูปย่อ ของ would ว่า (‘d) ในประโยคบอกเล่านะคะ
หรือ ชื่อเล่นของ “would like ก็คือ ‘d like ” นั่นเอง
ความหมายแรก would like แปลเหมือนกับ wish หรือ want (ต้องการ, ปรารถนา) จะตามด้วย to + verb infinitive (V. 1 ไม่ผัน)
เช่น I would like to study in the UK next month.
แปลว่า ฉันปราถนาที่จะไปเรียนต่อในประเทศอังกฤษ (UK = United Kingdom)
ความหมายที่สอง would like จะถูกใช้ กล่าวถึงสิ่งที่เราปรารถนาหรืออยากจะทำ แต่ไม่ได้ทำ
ในโครงสร้าง ” would like to +have + past participle (V.3)
เช่น (A): I would like to have been to the concert.
แปลว่า ฉันหวังว่าจะได้ไปคอนเสิร์ตบ้างจัง(แต่ความจริงแล้วไม่ได้ไป)
หรือสามารถเขียนอีกในรูปแบบที่คุ้นหูกันมากกว่า
ในรูปประโยค (B): I wish I’d have been to the concert.
***ประโยค (A)และประโยค (B)มีความหมายเหมือนกัน แต่ประโยคหลังจะสั้น และกระชับมากกว่าเด้อ
ตรงนี้เราจะเห็นว่า การใช้ would like to +…อาจจะสุภาพ แต่ในบางกรณีอาจเป็นการพูดที่เวิ่นเว้อมากเกินไป
ตำแหน่งและการใช้งาน
- would like ถูกใช้แบบเดิมกับทุกสรรพนามในประโยคบอกเล่า
Ex. I would like some tea.
สำหรับประโยคปฏิเสธ มีโครงสร้างคือ ” Subject+ would not (wouldn’t)+ like+…”
Ex. I wouldn’t like to be here. = ฉันไม่อยากอยู่ที่นี่
***ข้อแตกต่างระหว่าง would like กับ like
like ใช้บอกเล่าถึงสิ่งที่เราชอบมาตลอด เช่น
Ex. I like Lisa. She is always my favorite super star.
= ฉัน/ผม ชอบลิซ่า เธอเป็นดาราคนโปรดของฉัน/ผมมาโดยตลอด
คำศัพท์ ที่เกี่ยวข้องกับ “like” เมื่อ Parts of Speech เปลี่ยนไป
like (V.)
= ชอบคำเหมือน :favour, love, prefer
คำตรงข้าม : dislike = ไม่ชอบ
like (Adj.)
= น่าจะเป็นไปได้, เป็นไปได้, เหมือนว่าจะคำเหมือน :likely, equal, equivalent, same
คำตรงข้าม : unlike, unequal
= เหมือนกัน, คล้ายกัน, อย่างเดียวกัน
likely as not
as likely as not..
(Idm.)
แปล บางที, อาจเป็นไปได้
ส่วน would like นั้นจะใช้บอกเล่าถึงสิ่งที่คุณต้องการในขณะนั้น ดังตัวอย่างด้านล่าง
Situation: Ordering a Thai menu from the waitress.
Robert: I’d like a Thai menu please. = ขอเมนูอาหารไทยด้วยครับ
Waitress: Here you are. = นี่ค่ะเมนู
2. would like สามารถตามด้วย noun หรือ to + verb
Ex. Would you like some tea or coffee?= คุณต้องการชาหรือกาแฟดีคะ/ครับ
Ex. Would you like to hang out with me? = คุณต้องการออกไปเที่ยวกับฉัน/ผม มั้ยคะ/ครับ
3. would like to + V. infinitive (ต้องการที่จะ…แบบสุภาพ)
Ex. I would like to have a dinner with you.
= ฉันต้องการจะทานอาหารเย็นกับคุณ
4. would like ในรูปปฏิเสธ ตามโครงสร้างด้านล่าง
Subject + would + not + like + [to + verb]/noun + …
would not ย่อเป็น wouldn’t ได้
ตัวอย่างประโยค :
I wouldn’t like to have some sugar on my tea. = ฉันไม่ต้องการใส่น้ำตาลในชาของฉัน (เป็นวิธีปฏิเสธแบบสุภาพมากๆอีกวิธีหนึ่ง)
ประเภทของ Wh-Questions ที่ใช้กับ would like
When = เมื่อไร
เมื่อใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเวลา เช่น
Ex. When would you like to come? = คุณต้องการจะมาช่วงไหนคะ
Where = ที่ไหน
ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสถานที่ เช่น
ถาม: Where would you like to study? = คุณอยากไปเรียนที่ไหนคะ/ครับ
ตอบ: I would like to study in the USA. = ฉันอยากไปเรียนที่อเมริกาค่ะ
Whom = ใคร (ใช้เป็นกรรม)
ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล เช่น
Ex. Whom would you like to travel with? = เธอต้องการจะไปเที่ยวกับใครคะ/ครับ
How = อย่างไร/เท่าไร
How เป็นคำเดียวที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วย wh แต่เราสามารถใช้ how ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น
Ex. How long would you like me to drive? = คุณต้องการใช้ฉันขับไกลแค่ไหนคะ/ครับ
Ex. How deep would you like me to swim? = คุณต้องการให้ฉันว่ายน้ำลึกแค่ไหนคะ/ครับ
Which = อันไหน/สิ่งไหน
ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ทำว่าสิ่งไหน อันไหน ดังประโยคด้านล่างนะคะ
Ex. Which one would you choose? = คุณต้องการอันไหนคะ/ครับ
ตารางสรุปโครงสร้าง Wh-Questions VS would like …
Wh-Questions | กริยา (Verb) | ประธาน( Subject) + like | To VS For
To +V.inf. = เพื่อที่จะ…
For + V. ing/ N.
+ Noun/ Noun phrase
|
When (เมื่อไร) Why (ทำไม) Who (ใคร) What (noun) ( อะไร ) Where (ที่ไหน) |
would
|
Singular Nouns:
He, She, It, Danny,+like
Plural Nouns: I, You, We, They, The members + like
|
|
How ( อย่างไร เท่าไร) How many + N. (พหูพจน์) = มากเท่าไร How much + N. (นับไม่ได้) = มากเท่าไร How long ( ยาวนานเท่าไร) |
ตัวอย่างเพิ่มเติม:
What would you like to have for breakfast?
มีความหมายเหมือนกันกับประโยคด้านล่าง ใช้อันไหนก็ได้ค่ะ แต่ประโยคด้านล่างจะสั้นและกระชับกว่านะคะ
What would you like for breakfast?
แปล คุณต้องการรับประทานอาหารเช้าอะไรดีคะ/ครับ
สรุปแล้วการใช้ would like ก็เหมือนกับการบอกความต้องการแบบสุภาพที่มักเจอในสถาณการณ์ที่เป็นทางการ และมักเจอร่วมกับกลุ่มคำที่สุภาพอื่นๆ เช่นกัน เช่น คำถามกลุ่ม Would you mind +…
รูปประโยค “Would you mind…” จะใช้ขออนุญาตในรูปแบบที่เป็นทางการ หรือขอร้องแบบสุภาพ โดยเราจะใช้กับรูปประโยคดังนี้
โครงสร้าง1: Would you mind + if + Subject + V. Infinitive…?
Would you mind if I go with you?
= คุณจะว่าอะไรไหมถ้าฉันจะไปกับคุณด้วย
โครงสร้าง2: Would you mind + V. ing…?
Would you mind opening the door for me please?
= รบกวนคุณช่วยเปิดประตูให้หน่อยได้ไหม
ตัวอย่างประโยคและวลีในการตอบรับและปฏิเสธ:
ตอบรับ (Accepting)
Sure! = แน่นอน
Of course. = ได้เลย
Not at all. = ยินดีค่ะ/ครับ
I don’t mind. = ไม่รังเกียจครับ/ค่ะ
My pleasure. = ด้วยความยินดี
ปฏิเสธ (Refusing)
Sorry, I’m busy.
= ขอโทษด้วย ไม่ว่าง
I’m afraid that I cannot do it.
= เกรงว่าจะไม่สามารถทำได้
I’m afraid that I cannot do it at the moment.
= เกรงว่าจะไม่สามารถทำได้ ณ ตอนนี้
I would like to apologize for it. I cannot go. (สุภาพมากๆ)= ฉันอยากจะขอโทษ ฉันไปไม่ได้
เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคนพอจะเข้าใจวิธีการใช้ would like to กับ ประโยคคำถามกลุ่ม Wh-questions กันมั้ยคะ อย่าลืมทบทวนวีดีโอบทเรียนเรื่อง
การใช้ Would like + Wh-questions ด้านล่างนะคะ แล้วเจอกันในบทความต่อไป See you!