การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ

 

There is/There are คืออะไร

 

M2 There is VS There are (2)

There is และ There are แปลว่า “มี”
“มีสิ่งใดดำรงอยู่” หรือ
“มีสิ่งใดเกิดขึ้น” นั่นเองจ้า
เมื่ออยู่ในประโยคคำถาม
จะแปลว่า มี…หรือเปล่า/มี…ไหม นั่นเอง

 

การสร้างประโยคคำถาม

M2 There is VS There are (3)

การทำให้ประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคคำถามนั้นทำได้ ตามขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้น
ดังนี้เลยจ้า

1) นำ V. to be (Is/Are) ขึ้นหน้าประโยค
– Is ใช้กับประธานเอกพจน์ เช่น Tom, a cat, a person, etc.
– Are ใช้กับประธานพหูพจน์ เช่น students, members, people, etc.
2) ตามด้วย there
3) ตามด้วยคำนามที่เป็นประธานของประโยคบอกเล่า
4) แล้วใส่เครื่องหมาย Question mark (?) 

 

ตัวอย่างประโยคบอกเล่า
(รูปปัจจุบัน)
There+ is/are +N.

ประโยคคำถาม

Is/Are + there + N. ?

There is a bird on the tree.

มีนกอยู่บนต้นไม้

Is there a bird on the tree?
มีนกอยู่บนต้นไม้ไหม
There are students at the library.

มีนักเรียนอยู่ที่ห้องสมุด

Are there students at the library?
มีนักเรียน (หลายคน) อยู่ในห้องสมุดไหม
There are your family members here.

มีใครอยู่ที่นี่ไหม

Are there your family members here?
มีสมาชิกในครอบครัวของคุณอยู่ที่นี่หรือเปล่า
There are people at the park.

มีคนอยู่ที่สวนสาธารณะ

Are there people at the park?

ที่สวนสาธารณะมีคนไหม

จากตารางสามารถสรุปโครงสร้างการถามได้ดังนี้

 

  • ประโยคคำถามในความหมายว่า “มีหรือไม่”

ในการถามว่ามีสิ่งใดหรือไม่
เราจะใช้
Is there… และ Are there…
โดยโครงสร้างที่ใช้หลักๆแล้ว
จะมี 3โครงสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Structure: “Is there + a/an + คำนามนับได้เอกพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there a car to rent?
มีรถให้เช่าไหม

Is there a dog in that house?
บ้านหลังนั้นมีสุนัขไหม

Is there a car on the road?
บนถนนมีรถไหม

Structure: “Is there + any + คำนามนับไม่ได้ ”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there any juice in the kitchen?
มีน้ำผลไม้ในครัวไหม

Is there any salt on the table?
มีเกลืออยู่บนโต๊ะไหม

Is there any water left?
มีน้ำเหลือไหม

Structure: “Are there + any + คำนามนับได้พหูพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Are there any gas stations nearby?
มีปั๊มน้ำมันใกล้ๆหรือเปล่า

Are there any schools for special students?
มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษหรือไม่

Are there any dangerous animals at the park?
มีสัตว์ที่เป็นอันตรายที่สวนสาธารณะหรือไม่

สรุปโครงสร้างการถาม-ตอบ

M2 There is VS There are (4)

Is there…?

Is there…?

Are there…?

Are there…?

Yes, there is. 

No, there isn’t.
Yes, there are.

No, there aren’t.

เทคนิคคือ  ถาม Is..ตอบ is ถาม Are…ตอบ are

การตอบคำถาม

 

M2 There is VS There are (5)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ ซึ่งไม่มีรูปพหูพจน์ เราจะต้องใช้ there is เท่านั้น

There is/are ใช้กับ ตัวอย่างประโยคการตอบคำถาม
There is คำนามนับได้ เอกพจน์ There is one book on the cabinet.

มีหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ในตู้

คำนามนับไม่ได้ There is some sugar on the table.

มีน้ำตาลอยู่บนโต๊ะ

There are คำนามนับได้ พหูพจน์ There are birds on the sky.

บนท้องฟ้ามีนก

 

  • ประโยคปฏิเสธ

การใช้ there is และ there are ในประโยคปฏิเสธ
หลักๆแล้วเราสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ

 

  • ใช้ not หลัง there is และ there are

 

เราสามารถใช้ there is not (เขียนย่อเป็น there isn’t) และ there are not
(เขียนย่อเป็น there aren’t) เพื่อสื่อว่า “ไม่ได้มีสิ่งใดอยู่”

 

โครงสร้าง:
“There isn’t/aren’t + ปริมาณ + คำนามนับได้”
เพื่อบอกว่าไม่ได้มีสิ่งนั้นในปริมาณเท่านั้น แต่มีมากหรือน้อยกว่า

ข้อควรรู้:

  • isn’t ย่อมาจาก is not + นามนับได้เอกพจน์ เช่น a rat, a cat
  • aren’t ย่อมาจาก are not + นามนับได้พหูพจน์ rats, cats
  • โครงสร้าง “There isn’t any + คำนามนับไม่ได้”
    หากต้องการบอกว่า ไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

 

There isn’t any money left.
ไม่มีเงินเหลือแล้ว

 

  • ใช้โครงสร้าง “There aren’t any + คำนามนับได้พหูพจน์”
    เพื่อบอกว่าไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย
    ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

There aren’t any people here.
ไม่มีคนที่นี่เลย

 

  • นักเรียนสามารถบอกว่าไม่ได้มีสิ่งใด หรือ ใคร อยู่
    ในโครงสร้าง
    “There is no + คำนามนับได้เอกพจน์”
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no one in the classroom.
ไม่มีใครอยู่ในห้องเรียน

 

  • ใช้โครงสร้าง “There is no + คำนามนับไม่ได้”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no juice in the refrigerator this week.
สัปดาห์นี้ไม่มีน้ำผลไม้ในตู้เย็น

 

  • ใช้โครงสร้าง “There are no + คำนามนับได้พหูพจน์”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There are no cows in the rice field.
ไม่มีวัวในนาข้าว

 

แบบฝึกหัด


M2 There is VS There are (7)

คำสั่ง: จงเติมคำในช่องว่างโดยเลือกใช้
There is/There are/Are there/Is there

 

  1. __________________any mistakes in this text?
  2. _________________ one question left.
  3. ___________________ no snails in my garden.
  4. ___________________ anybody here?
  5. _____________________nothing to do?
  6. ________________________seven days in a week?
  7. ____________________a lot of tea in the kitchen.

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียน พอจะเข้าใจไวยากรณ์เรื่อง การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม กันมากขึ้นมั้ยคะ
อย่าลืมดูคลิปวีดีโอเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ สนุกมากๆเลย

คลิกปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้สนุกกับทีเชอร์กรีซได้เลยจ้า 

Have a good day!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ศึกษาตัวบทและคุณค่า

หลังได้เรียนรู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก กันไปแล้ว ในบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่อง พร้อมทั้งจะได้ตามไปดูคุณค่าของเรื่องว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ศึกษาตัวบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก     เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์       พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข

คำเชื่อม Conjunction

คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ (Conjunctions)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “คำเชื่อมในภาษาอังกฤษ หรือ Conjunctions” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ความหมาย Conjunctions คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ ดังตัวอย่างด้านล่างเลยจ้า ตัวอย่างเช่น เชื่อมนามกับนาม Time and tide wait for no man. เวลาและวารีไม่เคยรอใคร

การคิดอย่างมีเหตุผล

เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การคิดคืออะไร     การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้   การคิดอย่างมีเหตุผล

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม     ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย    

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1