การใช้ประโยค Where’s the + (Building) + ? It’s + (Preposition Of Place)

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
Profile where + preposition P6

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ประโยค การถามทิศทาง แต่เอ้ะ Where is the building? แปลว่า ตึกอยู่ที่ไหน ประโยคนี้เป็นการถามทางแบบห้วนๆ ที่ใช้กับคนที่เราคุ้นชินหรือคนที่เรารู้จัก แต่หากนักเรียนต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถามกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะฝรั่ง คงต้องมาฝึกถามให้สุภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการเกริ่นขึ้นก่อนที่เราจะถามนั่นเองค่ะ ซึ่งนักเรียนที่รักทุกคนได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

รูปแบบการถามทิศทาง

NokAcademy_Profile DirectionP6(2)

 

  • โครงสร้างประโยคถามแบบตรงๆ (Direct Question)
    “ Where is + the building(สถานที่),  destination (เป้าหมายที่จะไป) ?”
  • โครงสร้างประโยคถามแบบสุภาพ (Indirect Question):
     “Could you tell me where(คำขึ้นต้นประโยค)  +  place (สถานที่) is..?”

 

 

 

 วิธีการตอบคำถาม: in, on, at

in on at

 

It’s on 5th Avenue Street, USA.
แปล มันอยู่ที่ถนนฟิฟต์เอเวนนิว ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการระบุชื่อถนนและสถานที่ชัดเจน
หรือ สามารถพูดได้อีกว่า It’s situated on 5th Avenue Street, USA. ที่แปลว่า มันตั้งอยู่บน

It’s in the hotel.
แปล มันอยู่ในโรงแรม ซึ่งเป็นการระบุสถานที่ชัดเจน

It’s at home.
แปล มันอยู่ที่บ้าน (แต่ไม่ได้ระบุว่าส่วนไหนของบ้าน)

คำขึ้นต้นประโยคที่ใช้บ่อยเวลาถามทาง

คำขึ้นต้นประโยคถามทาง

 

Could you tell me..?
= ช่วยบอกได้ไหมว่า…
Do you know..?
= คุณรู้จัก…
May I ask…?
= ขอถามหน่อยว่า…
Do you mind if I ask…?
= จะเป็นอะไรไหมถ้าจะขอถามว่า…

 

***ในกรณีของผู้ตอบ หากไม่รู้ก็มีวิธีปฏิเสธแบบสุภาพก็สามารถ พูดแบบตรงๆ หรืออ้อม เพื่อรักษาน้ำใจผู้ถามได้เหมือนกัน ดังตัวอย่างประโยคด้านล่างเช่น

 Sorry, I’m also new here.
= ขอโทษด้วย ผม/ฉันก็ใหม่กับที่นี่เหมือนกัน

Let me find it on Google map for you.
= เดี๋ยวผม/ฉันช่วยหาบนกูเกิลแมพให้นะ

Sorry, I don’t know it.
=ขอโทษด้วยนะ ผม/ฉันไม่รู้จริงๆ

ตารางสรุป (Asking for direction)

ตารางสรุปคำขึ้น้ตนถามทาง

  •  เมื่อต้องมีการถามเส้นทาง เราสามารถถามคำถามได้ทั่วไป และถามแบบสุภาพ โดยการใช้ตัวอย่างประโยคด้านล่างนะคะ
ประโยคถามเส้นทาง

(Asking for direction)

แปล

(Translation)

Could you tell me how to get to..?

(get to = go to)

 

กรุณาบอกหน่อยได้ไหมครับว่าจะไป…ได้อย่างไร?
How do I find…?

 

ฉันจะหา….ได้อย่างไร? (ทางไป…)
What is the best way to…?

 

ทางไหนดีที่สุดที่จะไป…?
Pardon me, I’m lost, how do I get to…?

 

 

ขอโทษนะคะ/ครับ
ฉันหลงทาง ไม่ทราบว่าจะไป….อย่างไร?
How do I get to…?

 

ฉันจะไปที่…ได้อย่างไร?
Which way do I go to get to..?

 

ฉันจะไป…ทางไหน?
What’s the best way to..?

 

วิธีไหนที่ดีที่สุดในการไป…คือวิธีไหน
Could you direct me to…?

 

คุณสามารถบอกทางไป…ฉันหน่อยได้มั้ย?
Excuse me, How can I go to…?

 

ขอโทษนะคะ ฉันจะไปที่…ได้ยังไง?
Can you tell me the way to..?

 

ช่วยบอกทางไป…ได้มั้ย

 

คำบุพบทบอกตำแหน่ง (Preposition of Place)

 

Preposition of Place

เมื่อจะต้องบอกทาง เราต้องรู้จักกลุ่มคำศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า Preposition หรือคำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือเชื่อมคำนามกับ วลี/ประโยค ซึ่ง Preposition ที่สำคัญและพบกันอยู่บ่อยๆ ในการบอกทิศทาง ได้แก่ in (ใน), on (บน), toward (ไปยัง), from (จาก), in (ใน), after (หลังจาก), among (ระหว่าง), at (ที่)

ตัวอย่างประโยคบอกทาง

ตัวอย่างประโยคบอกทิศทาง

 

  • Move to the left. (เดินไปทางซ้าย)
  • Walk to the right (เดินไปทางขวา)
  • Go straight for 1 kilometer. (เดินตรงไป 1 กิโลเมตร)
  • Turn left at the corner. (เลี้ยวซ้ายตรงหัวมุม)
  • Turn right at the second corner. (เลี้ยวขวาตรงหัวมุมที่สอง) 
  • Your destination is in front of you. (เป้าหมายอยู่ด้านหน้าของคุณ)

คู่คำบุพบทบอกสถานที่สับสนบ่อย

 

บุพบทบอกสถานที่

 

 

  •  On VS On top

โดยปกติแล้ว ‘On’ จะถูกใช้กับที่ปกติที่ใช้ในการวางสิ่งของ เช่น

 The books are on the bookshelf.
แปล หนังสืออยู่บนหิ้ง

ส่วน ‘On top’ จะถูกใช้กับที่ที่ไม่ปกติในการวางสิ่งของ เช่น

 The pillows are on top of the bed.
แปล หมอนวางอยู่บนหัวเตียง

 

  • Between VS Beside

 ‘Between’ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีวัตถุหนึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 วัตถุ ส่วน ‘Beside’ มีความหมายเหมือนกับ ‘Next to’ แปลว่า อยู่ระหว่าง แต่ว่า ‘Beside’ จะแปลว่า ถัดไป…
จะมีความเป็นทางการมากกว่า ทั้งคู่จะถูกใช้เมื่อวัตถุ หรือ สถานที่ หนึ่ง อยู่ข้างๆ อีกสิ่งหนึ่ง

Situation II

Situation: Daniel is asking for a parking lot.
Daniel: Where did you park your car?
แดเนียล: คุณจอดรถไว้ไหน
Siri: It’s next to the 5th Avenue Street.
สิริ: ฉันจอดไว้ที่ถนนฟิฟต์เอเวนนิว
Daniel: Is it between the coffee shop and the convenient store?
แดเนียล: ใช่ถนนที่อยู่ระหว่างร้านกาแฟกับร้านขายของชำมั้ย
Siri: Exactly!
สิริ: ใช่เลย

 

  • Under VS  Below
    ใช้ ‘Under’ เมื่อวัตถุหนึ่งถูกปกคลุมด้วยวัตถุอื่น ส่วนเราจะใช้ ‘Below’ เมื่อวัตถุหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุอื่น

Situation: Tourist is asking Dao for a direction.

Tourist: Excuse me, how can I go to Thai Food Restaurant?
นักท่องเที่ยว: ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าร้านอาหารไทยไปทางไหนครับ
Dao: I think it is below this 3rd floor.
ดาว: ฉันคิดว่ามันอยู่ใต้ ชั้นสามนี่แหละค่ะ
Tourist: I see. And where is the nearest toilet please?
นักท่องเที่ยว: เข้าใจแล้วครับ แล้วห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหนครับ
Dao: You can go straight. The toilet is about 10 meters away.
ดาว: ให้คุณเดิน ตรงไป นะคะ ห้องน้ำอยู่ไกลจากตรงนี้อีกประมาณ 10 เมตร

Situation I

สรุปวิธีการถามทางได้เป็นสองวิธีคือ

  • ถามตรงๆ
    คนใกล้ชิด: Where is the toilet?
    คนแปลกหน้า: Excuse/pardon me, where is the toilet?
  • ถามอ้อมๆ แบบสุภาพ: ตามโครงสร้าง

Excuse me, do you know where …(destination)..is?

แปล คุณรู้ไหมว่า ……. อยู่ที่ไหน

เช่น

Do you know where the toilet is?

แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (อเมริกัน)

 

Do you know where the bathroom is?

แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (บริติช)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ขอให้นักเรียนที่รักเดินทางไปไหนแล้วไม่หลง หรือถ้าหลงอย่างน้อยก็ต้องกล้าที่จะถามทางกันนะคะ
Have a good day guys!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา     กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง

M6 การใช้ Quantity words

การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ Quantity words เช่น many/ much/ a lot of/ lots of  ” ในภาษาอังกฤษกันค่ะ Let’s go! ไปลุยกันโลด Quantity words คืออะไร   “Quantity

รากที่สาม

รากที่สาม

ในบทตวามนี้เราจะได้เรียนรู้การหารากที่สามของจำนวนจริงใดๆ ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่นเดียวกับการหารากที่สอง อาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ แต่เนื่องจากการประมาณเป็นวิธีที่ยุ่งยาก ในที่นี้จึงจะกล่าวเฉพาะการหารากที่สามโดยการแยกตัวประกอบ การเปิดตาราง และการใช้เครื่องคำนวณ

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น , , , 2 , 3 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม เช่น , เป็นต้น โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ เมื่อ k และ

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1