การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ
พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go!

รู้จักกับ V. to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (2)

V. to be

แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to be เป็นสถานที่ จะแปลว่า อยู่ และหากหลัง verb to be เป็นคำนามทั่วไป แปลว่า เป็น/คือ และถ้าหากหลัง verb to be เป็นคำคุณศัพท์ ตรงนี้ V. to be จะไม่มีความหมายเลยจ้า

 

ชนิดของ Verb to be

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (3)

เจ้า Verb to be สามารถแปลงร่างออกได้เป็น 7 คำด้วยกันนะคะ
ได้แก่

 

be, is, am, are

was, were

been

Verb to be ทั้ง 7 ตัวนี้ แปลว่า เป็นอยู่คือเหมือนกัน แต่หลักการใช้ไม่เหมือนกันนะคะ
ลองดูประโยคต่อไปนี้

 

× Lisa be an artist.

√ Lisa is an artist.

ลิซ่าเป็นศิลปิน

 

 การใช้ is/ am/ are

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (4)

นักเรียนสามารถใช้ is/ am/ are ในประโยค Present simple tense และ Present continuous tense (ปัจจุบันกาล) ได้เลยค่ะ
แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับประธานของประโยคด้วยนะคะ

ตัวอย่างเช่น

I am a girl.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิง

Mike is a boy.
ไมค์เป็นเด็กผู้ชาย
They are swimming.
พวกเขากำลังว่ายน้ำ

We like her.
พวกเราชอบเธอ

การใช้ was/ were

 

นักเรียนสารมารถใช้ กริยา was และ were ในประโยค Past simple tense และ Past continuous tense (อดีตกาล)  ได้เลยค่า โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของประธานกับกริยาด้วยนะคะ เช่น

I was a fat girl before.
ฉันเป็นเด็กผู้หญิงตัวอ้วนๆมาก่อน

He was washing dishes when I called him.
เขากำลังล้างจานอยู่ตอนที่ฉันโทรหา

They were at home.
เขาอยู่ที่บ้าน (ตอนนี้ไม่อยู่แล้ว)

โครงสร้างประโยคคำถามที่เราต้องรู้ คือ

Verb to be + Subject + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Emily is going to the zoo.
แปล เอมมิลี่กำลังจะไปสวนสัตว์
ประโยคคำถาม: Is Emily going to the zoo?
แปลว่า เอมมิลี่จะไปสวนสัตว์มั้ย
อธิบายเพิ่มเติม: เอมมิลี่เป็นประธาน, is เป็น V. to be, going มาจาก go + .ing แปลว่า กำลังไป

คำนามเอกพจน์และพหูพจน์คืออะไร

 

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (5)

คำนามในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูป คือเอกพจน์และพหูพจน์

คำนามเอกพจน์ (singular noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนหนึ่งหน่วย ซึ่งก็คือคำนามรูปปกติทั่วไป
เช่น a book, a pencil, a girl ส่วนคำนามพหูพจน์ (plural noun) คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนมากกว่าหนึ่งหน่วย หรือพูดอีกแบบก็คือคำนามที่แสดงถึงสิ่งที่มีจำนวนตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปนั่นเองค่ะ ด้วยการเติม s หรือ es ต่อท้าย อย่างเช่น cats, tables, pens หรือบางคำก็ใช้การเปลี่ยนตัวอักษรแทน เช่น จาก foot เป็น feet

 

A child – children  เด็ก

A tooth – teeth ฟัน

A goose – geese ห่าน

A mouse – mice หนู

 

ตัวอย่างคำนามเอกพจน์และพหูพจน์

 

A cat   – แมวหนึ่งตัว
Two cats –  แมวสองตัว

A table–โต๊ะหนึ่งตัว
Four tables– โต๊ะสี่ตัว

A woman–ผู้หญิงหนึ่งคน
Many women–ผู้หญิงหลายคน
car – cars รถ

bag – bags กระเป๋า

table – tables โต๊ะ

house – houses บ้าน

dog – dogs สุนัข

 

คำนามนับได้และนับไม่ได้

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ (6)

ในภาษาอังกฤษ คำนามจะแบ่งออกเป็นคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้

คำนามนับได้ (countable noun) คือคำนามที่นับจำนวนเป็นชิ้นเป็นอันได้
ตัวอย่างเช่น

Bird (นก) – นับได้ว่ากี่ตัว

คำนามนับไม่ได้ (uncountable noun) คือคำนามที่เรามักจะมองเป็นภาพรวมหรือเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า
ตัวอย่างเช่น

Sugar (น้ำตาล) – เราจะไม่นับน้ำว่ามีกี่เม็ดเพราะมันคงยากมากๆ

Hair (เส้นผม) – เราจะไม่นับข้าวว่ามีกี่เส้น

 

ในภาษาอังกฤษ เมื่อไม่ได้ระบุปริมาณชัดเจน ผู้ฟัง/ผู้อ่านอาจอาศัยการดูพจน์ของคำนาม เพื่อให้รู้ว่าผู้พูด/ผู้เขียนหมายถึงปริมาณหนึ่งหน่วย หรือมากกว่าหนึ่งหน่วย ยกตัวอย่างเช่น

คำนามเอกพจน์ คำนามพหูพจน์
Rat Rats
Girl Girls
Boy Boys
Book Books
Town Towns
Dream Dreams

 

นอกจากนี้คำนามที่เป็นพหูพจน์อื่นๆ เช่น คำที่ลงท้ายด้วย ves
เกิดจากการที่เราเปลี่ยน f เป็น ve แล้วเติม s

  • half – halves ครึ่ง
  • hoof – hooves เท้าสัตว์
  • calf – calves ลูกวัว
  • elf – elves เอลฟ์
  • shelf – shelves ชั้นวาง
  • leaf – leaves ใบไม้
  • thief – thieves ขโมย
  • wolf – wolves หมาป่า
  • knife – knives มีด
  • scarf – scarves ผ้าพันคอ
  • wife – wives ภรรยา

 

ถ้านักเรียนเจอคำนามที่ลงท้ายด้วย y ตามหลังสระ ให้นักเรียนเติม s ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ

  • day – days วัน
  • holiday – holidays วันหยุด
  • toy – toys ของเล่น
  • key – keys กุญแจ
  • donkey – donkeys ลา

คำนามที่ลงท้ายด้วย y ที่ตามหลังพยางค์ ให้เปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es
ได้เลยจะทำให้คำนามนั้นเป็นพหูพจน์นะคะ ตัวอย่างเช่น

  • city – cities เมือง
  • candy – candies ลูกกวาด
  • country – countries ประเทศ
  • family – families ครอบครัว
  • cherry – cherries ลูกเชอร์ลี่
  • lady – ladies สุภาพสตรี
  • puppy – puppies ลูกสุนัข
  • party – parties ปาร์ตี้

ถ้าเจอพยางค์ที่ตามด้วย o ให้นักเรียนเติม es ที่ท้ายคำได้เลยค่ะจะทำให้นามนั้นเป็นพหูพจน์
ตัวอย่างเช่น คำต่อไปนี้

  • potato – potatoes มันฝรั่ง
  • tomato – tomatoes มะเขือเทศ
  • hero – heroes ฮีโร่
  • domino – dominoes โดมิโน
  • mosquito – mosquitoes ยุง
  • volcano – volcanoes ภูเขาไฟ

ยกเว้นคำเหล่านี้นะคะ ให้นักเรียนเติม s ได้เลย:

  • piano – pianos เปียโน
  • photo – photos ภาพถ่าย
  • halo – halos  รัศมี
  • soprano – sopranos  นักร้องเสียงโซปราโน

 

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคน พอจะเข้าใจ การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ ขึ้นมาบ้างหรือยังเอ่ย นักเรียนสามารถย้อนดูบทเรียนย้อนหลังฟรีๆได้บนยูทูปเลยนะคะ

คลิกปุ่มเพลย์แล้วไปเรียนให้สนุกกันจ้า

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค

​ประโยค คือถ้อยคำต่าง ๆ ที่นำมาเรียงกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ว่าใครกำลังทำอะไร ที่ไหน และเมื่อไหร่ บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง ส่วนประกอบของประโยค เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นว่าประโยคที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ส่วนประกอบของประโยค   โดยทั่วไปประโยคจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ภาค คือ ภาคประธานและภาคแสดง     ภาคประธาน คือ

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

การสะท้อน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ภาพที่ได้จากการสะท้อน ( Reflection ) ไปตามแนวแกนต่างๆ หวังว่าน้องๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

M5 การใช้ Phrasal Verbs

การใช้ Phrasal Verbs

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” การใช้ Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Phrasal Verbs คืออะไร   Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป

ศึกษาประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของเรื่องราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช เป็นวรรณคดีประเภท พงศาวดาร ที่มีการแปลมาจากพงศาวดารมอญ น้อง ๆ หลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าพงศาวดารก็คือเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าทำไมในแบบเรียนภาษาไทยของเรานั้นถึงต้องเรียนเรื่องราชาธิราช ที่เป็นพงศาวดารมอญด้วย วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องราชาธิราชรวมไปถึงเรื่องย่อ ซึ่งในบทที่เราจะเรียนนี้คือตอน สมิงพระรามอาสา เรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้าง ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ราชาธิราช   ประวัติความเป็นมา     ราชาธิราชเป็นวรรณคดีร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1