การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

Picture of Krumaiyha
Krumaiyha
Profile

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

มารู้จักกับกริยาช่วย

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (2)

Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม Tenses กาลเวลา (Present, Past, Future) เพื่อให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น

ประเภทของ Helping Verbs

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (3)

 

Helping หรือ Auxiliary verbs กริยาช่วยในภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. Modal auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่มาช่วยขยายความหมายของกริยาแท้ เช่น will, shall, should, can, may, must กริยาช่วยกลุ่มนี้จะช่วยบอกความเป็นไปได้ ความจำเป็น และเปลี่ยนแปลงความหมายของกริยาแท้ไปในเชิงนั้นๆ 

ประโยคบอกเล่า: Jenny can play a piano.  (เจนนี่สามารถเล่นเปียโนได้)

ประโยคคำถาม: Can Jenny play a piano?
ตามโครงสร้าง: Modal auxiliary verbs + Subject + V. Infinitive + Object/Compliment?

 

  1. Primary auxiliary verbs คือ กริยาช่วยที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาแท้ให้เป็นไปตามโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
    V. to be, V. to have, และ V. todo

Primary auxiliary verbs กริยาช่วยในกลุ่มนี้ ไม่มีความหมายในตัวเอง และไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ จะต้องใช้คู่กับกริยาหลัก (Main verb) เท่านั้น ทำให้เราสามารถสร้างโครงสร้างประโยคคำถามได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ค่ะ

 

คำถามที่ขึ้นต้นด้วย V. to be

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (4)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ is, am, are, was, were

โครงสร้างประโยคคำถามคือ V. to be + Subject + Object/ Complement….?

ตัวอย่างประโยค

ประโยคบอกเล่า: Jen is hit by a car. แปล เจนโดนรถชน
ประโยคคำถาม: Is Jen hit by a car?
แปลว่า เจนถูกรถชนใช่มั้ย
เพิ่มเติม: เจนเป็นประธาน, is เป็น V. to be, hit เป็น กริยาช่อง 3 ของ hit (hit, hit, hit) แปลว่า โดนชน

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

 

V. to have ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (5)

 

กริยาช่วยกลุ่มนี้ได้แก่ has, have, had

โครงสร้าง: Have/Has/Had + Subject + V.3+ Object/ Complement….?

ประโยคบอกเล่า:  Daniel has eaten a piece of cake.แปลว่า เดเนียลได้กินเค้กไปแล้ว 1 ชิ้น
ประโยคคำถาม: Has Daniel eaten a piece of cake?
แปล: เดเนียลได้กินเค้กชิ้นนั้นไปใช่มั้ย
ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

Modal auxiliaries ขึ้นต้นประโยคคำถาม

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (6)

 

กริยาช่วยเหล่านี้เป็นกริยาช่วยที่มีความหมายในตัวมันเอง ได้แก่

will, would = จะ

shall, should = จะ, น่าจะ, ควรจะ

can, could = สามารถ

may, might = อาจจะ

must = ควรจะ

ought to = ควรจะ

โครงสร้างประโยคคำถามคือ: modal auxiliaries + subject + V. Infinitive
(กริยาช่องที่ 1 ไม่ผัน) + Object/ Complement….?

 

ตัวอย่างประโยคคำถาม

Would you like to come with me?
แปลว่า คุณต้องการที่จะมากับผมมั้ยครับ

อธิบายเพิ่มเติม

would เป็น modal auxiliaries ส่วน you เป็นสรรพนามบุรุษที่2 ใช้กับคนที่เราพูดด้วย และวลีส่วน to come with me ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มเรียกว่า วลีบุพบท

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

 

ถามแบบ Verb to Do  ขึ้นต้น

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (7)

หน้าที่เป็นกริยาช่วย (Auxiliary Verb) โดยจะใช้ร่วมกับกริยาหลัก (Main Verb) เพื่อสร้างประโยคคำถาม
ประโยคปฏิเสธ หรือเพื่อเน้นย้ำความสำคัญ

 

โครงสร้างประโยคคำถาม: Do/Does/Did + Subject + V .infinitive + Object/Complement?

 

 Simple Present Tense ใช้ Do / Does

  • Do you come from Japan? (คุณมาจากประเทศญี่ปุ่นใช่ไหม?)
  • Does he like sport? (เขาชอบกีฬาใช่ไหม?)

 

Past Tense ใช้ Did กับเหตุการณ์ที่เป็นอดีต

  • Did Ticha always drive a car to school?
    (ติช่าขับรถไปโรงเรียนบ่อยขนาดนั้นเลยเหรอ?)

ข้อสังเกต: เราสามารถ ตอบคำถามข้อนี้ได้เป็น Yes ใช่ หรือ No ไม่ใช่ นั่นเองค่า

ชนิดของ Wh-Questions 

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (8)

  

When = เมื่อไร

เมื่อใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเกี่ยวกับเวลา เช่น

When is your birthday? = วันเกิดของคุณคือเมื่อไร

When was your first love? = คุณมีควมรักครั้งแรกเมื่อไหร่

 

 What = อะไร

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสิ่งของ ชื่อ วันที่ เวลา สิ่งที่รักที่ชอบ ดังนี้ค่า

What is your name? = เธอชื่ออะไร

What is your favourite colour? = เธอชอบสีอะไร

 

 Where = ที่ไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับสถานที่ เช่น

Where are you from?  = คุณมาจากไหน
Where should we go? = เราควรจะไปไหนกันดี

 

Why = ทำไม

ใช้เมื่อขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับเหตุผล เช่น

Why did you come to school late? = ทำไมคุณถึงมาโรงเรียนสาย

Why did you leave him? = ทำไมเธอถึงทิ้งเขาล่ะ

 


Who = ใคร

ใช้เมื่อขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล (ส่วนมากจะตอบเป็นชื่อบุคคล) เช่น

Who are you? (คุณคือใคร)

Who is that? (นั่นใคร)

 

 

Whose = ของใคร

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับการแสดงความเป็นเจ้าของ  เช่น

Whose books are these? = นี่คือสมุดของใครนะ

Whose pen is this? = นี่คือปากกาของใครกัน

 

Whom = ใคร (ใช้เป็นกรรม)

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามใช้ถามเกี่ยวกับบุคคล  เช่น

Whom are we waiting for? = พวกเรากำลังรอใครอยู่กันนะ

Whom are you going to travel with? = เธอกำลังจะไปเที่ยวกับใครนะ

 

Which = อันไหน/สิ่งไหน

ใช้ขึ้นต้นคำถามที่ต้องการถามเพื่อให้เลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ ทำว่าสิ่งไหน อันไหน ดังประโยคด้านล่างนะคะ

Which is better? แปล อันไหนดีกว่ากัน

Which one is your bag? แปลว่า อันไหนเป็นกระเป๋าเธอเหรอ

 

 

 ตารางสรุปประเภทของ Wh-Questions

 

01NokAcademy_Question ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions (9)

 

 Wh-Questions กริยา   ประธาน ส่วนที่เหลือในประโยค
When (เมื่อไร)
Why (ทำไม)
Who (ใคร)
What (noun) ( อะไร )
Where (ที่ไหน)
was
were
Subject + …………… ?
did Subject Verb 1 + …… ?
How ( อย่างไร เท่าไร)
How many + N. (พหูพจน์) = มากเท่าไร
How much + N. (นับไม่ได้) = มากเท่าไร
How long ( ยาวนานเท่าไร)

 

สรุปข้อแตกต่าง

 

จะสังเกตเห็นว่าความแตกต่างของสองโครงสร้างประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วยกริยาช่วยและ wh-questions นั้นคือ คำถามที่ขึ้นต้นด้วย กริยาช่วยมักจะได้คำตอบที่เป็น yes หรือ no แบบตายตัว นั่นเองค่า ส่วนคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Wh- questions นั้นต้องการคำตอบที่เจาะจง เช่นถามว่าชื่ออะไร ผู้ตอบก็ต้องตอบชื่อไปตามตรง แบบนี้นั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะขอให้สนุกกับการอ่านบทเรียนเรื่อง ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions  กันนะคะ นักเรียนที่รักทุกคนอย่าลืมทบทวนบทเรียนที่วีดีโอ เรื่อง Wh- Questions และ  Yes-No Questions เพิ่มเติมกันนะคะ
เผื่อจะร้องอ๋อ และเห็นภาพมากยิ่งขึ้น เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การอ่านบทร้อยกรอง     การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก ศึกษาตัวบทและคุณค่า

หลังได้เรียนรู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก กันไปแล้ว ในบทนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่อง พร้อมทั้งจะได้ตามไปดูคุณค่าของเรื่องว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ศึกษาตัวบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก     เหลือบเห็นสตรีวิไลลักษณ์       พิศพักตร์ผ่องเพียงแขไข

กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กระเช้าสีดา     กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ และเลขยกกำลัง

จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ หรือราก เขียนแทนด้วย อ่านว่า รากที่ n ของ x หรือ กรณฑ์ที่ n ของ x เราจะบอกว่า จำนวนจริง a เป็นรากที่ n ของ x ก็ต่อเมื่อ เช่น 2 เป็นรากที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1