ประโยคความเดียวและประโยคความรวมในภาษาอังกฤษ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน เจอกันอีกแล้วจร้ากับไวยากรณ์การเขียนภาษาอังกฤษและวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคการการใช้ประโยคความเดียว และประโยคความรวมในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมามากกับคนที่ไม่ชอบเขียน  ครูเอาใจช่วยทุกคนค่า ไปลุยกันเลย

TopicSimple and Compound sentences

3 โครงสร้างประโยคในภาษาอังกฤษ

การจะเป็นประโยคสมบูรณ์ได้นั้น ประโยคจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญดังนี้

  1. กริยา หรือ verb (ภาคขยาย) ภาคขยาย จะมีหรือไม่มีก็ได้ การใส่ภาคขยายเข้ามาเพื่อให้ประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  2. ประธาน subject  + กริยา หรือ verb (ภาคขยาย)
  3. ประธาน (subject) + กริยา (verb) + กรรม หรือ object (ภาคขยาย)

ความหมายประโยคความเดียว (Simple Sentence)

 

Simple sentences

 

ประโยคความเดียว ภาษาอังกฤษคือ Simple Sentence อ่านว่า ซิ้มเปิ่ล เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่เจอบ่อยมากในภาษาอังกฤษประกอบด้วยภาคประธานและภาคกริยา หรืออาจจะมีส่วนเติมเต็มประกอบอยู่ในประโยคด้วย

ดังตัวอย่างในตาราง

โครงสร้างประโยคความเดียว: ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม หรือ ประธาน + กริยา + กรรม

หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปเราจะเรียกว่าประโยคไม่สมบูรณ์ซึ่งผิดหลักไวยากรณ์ค่ะ นักเรียนอาจจะยังไม่เข้าใจ ไปดูตัวอย่างในตารางกันค่ะ

ตัวอย่างของประโยคความเดียว

simple sentence example

ประโยค โครงสร้าง คำแปล
Jenny and Lucy are happy. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม เจนนี่กับลูซี่มีความสุข
Rainy eats banana. ประธาน + กริยา + กรรม เรนนี่กินกล้วย
They are reading. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม พวกเขากำลังอ่านหนังสือ
May is lazy. ประธาน + กริยา + ส่วนเติมเต็ม เมย์ขี้เกียจ
I like his school bag. ภาคประธาน + กริยา + กรรมตรง ฉันชอบกระเป๋าโรงเรียนของเขา
Black Pink brand is very famous.  ภาคประธาน + กริยา +
ส่วนเติมเต็มขยายประธาน
วงแบล็คพิงค์โด่งดังมาก
The last announcement amazed the students. ภาคประธาน + กริยา + กรรม +
ส่วนเติมเต็มขยายกรรม
คำประกาศล่าสุดทำให้นักเรียนรู้สึกประหลาดใจ

 

เมื่อนักเรียนต้องการแต่งประโยคอย่างน้อยที่สุดใน 1 ประโยคที่สมบูรณ์จะต้องมีประธาน กริยาและกรรม หรือ ส่วนขยายนะคะ อย่าลืมน๊าที่รัก

 วิธีการสังเกต

ประโยคความเดียวจะต้องประกอบด้วย ประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียวเท่านั้น
แต่ในส่วนของกรรม และส่วนเติมเต็ม แม้กระทั่งส่วนขยายอื่นๆนั้นนักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการใช้

ประโยคความรวม (Compound Sentence)

Compound sentence

ประโยคความรวม ภาษาอังกฤษคือ Compound Sentence อ่านว่า เคิมพาวดฺ เซนเท่นสฺ เป็นประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวอย่างน้อย 2 ประโยคโดยมีคำเชื่อมระหว่างประโยค เช่น for, and, nor, but, or, yet, so ให้ท่องว่า FANBOYS นักเรียนจะได้จำได้ง่ายขึ้นและนานขึ้นค่ะ และทั้งสองประโยคจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) ก็เพื่อให้ทั้งสองประโยคกลายเป็นประโยคเดียวกันสังเกตว่าจบประโยคจะมีเครื่องหมาย full stop (.) เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ในส่วนของคำเชื่อมที่ใช้ในการเชื่อมประโยคความรวมนั้น ก็มีอยู่หลากหลายคำด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น คำว่า  not only….but also, and, in addition, in the same way จะใช้ในประโยคที่คล้อยไปในทางเดียวกัน คำว่า but, nor, in contrast จะใช้ในการเชื่อมประโยคที่มีความหมายตรงข้ามกันกัน
คำว่า because, for, since, as, seeing that, now that  ใช้ในการเชื่อมประโยคเพื่อบอกเหตุผลหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติม  นอกจากนี้แล้ว ยังมีคำเชื่อมอื่นๆ อีก เช่น Although, even though, even if, therefore, consequently, thereby, hence, thus และอีกนับไม่ถ้วนจร้า

ตัวอย่างของประโยคความรวม

โครงสร้าง: ประโยคความเดียว+ คำเชื่อม +ประโยคความเดียว

Compound sentence example

ประโยค คำเชื่อม คำแปล
The exams are hard, and the students are smart. and ข้อสอบยากและนักเรียนก็เก่งด้วย
People here are lazy, but they are nice. but ถึงเขาจะขี้เกียจแต่เขาเป็นคนดี
He studied hard, so he passed the exam. so เขาขยันเรียนมากดังนั้นจึงสอบผ่าน
Will you go out or will you stay at home? or เธอจะออกไปข้างนอกมั้ยหรือเธอจะอยู่บ้าน
They are well organized,
as well as,
they are well mannered.
as well as= and พวกเขาเป็นระเบียบและกริยาดี
Bella is a good wife, but
she is a bad friend.
but เบลล่าเป็นภรรยาที่ดีแต่เธอเป็นเพื่อนที่แย่
Should Jenny go to school or should she work in the farm? or เจนนี่ควรจะไปเรียนหรือไปทุ่งนาดี
Would you like a tea, or would you prefer a coffee sir? or ไม่ทราบว่าคุณผู้ชายจะรับชาหรือกาแฟดีครับ/ค่ะ
I love you, yet I dislike your personality. yet ฉันรักเธอนะแต่ฉันไม่ชอบบุคลิกของเธอ

 

ข้อควรจำ: ในกรณีของโครงสร้างคู่ขนานที่เชื่อมด้วย and (และ) หน้าและหลังประโยคจะต้องสอดคล้องกัน ส่วนโครงสร้างที่ขัดแย้งมักเชื่อมด้วย but, yet

FANBOYS-Simple and Compound Sentence

เทคนิคการจำคำเชื่อมตระกูลประโยคความรวมว่า “FANBOYS”  (แฟนบอย) ครูก็ท่องมาตั้งแต่สมัยเรียนว่าอยากมีแฟนเป็นบอย จำได้ไม่ลืมแน่ จำแล้วนำไปใช้ด้วยนะคะ

F = for  แปล เพราะว่า
A = And
แปล และ
N = Nor  
แปล ไม่ทั้งสอง
B = But 
แปล แต่ว่า
O = Or
แปล หรือ
Y = Yet
แปล แต่
S = So
แปล ดังนั้น

เป็นยังไงกันบ้างคะทุกคนสำหรับหัวข้อ การเขียนประโยคความเดียวและประโยคความรวมอย่างง่าย แต่ยังเหลือประโยคความซ้อนที่เราจะได้เรียนในระดับที่สูงขึ้นไปอีกนะคะ โอ้วว้าว ยังไงก็ตามขอให้ทุกคนสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษให้มากๆนะคะ และครูขอให้บทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคนมากๆ
อย่าลืมดูวีดีโอด้านล่างเพื่อไปทบทวนบทเรียนให้เข้าใจและเห็นภาพยิ่งขึ้นนะคะ แล้วเจอกันครั้งหน้ากับบทเรียนครั้งต่อไป  เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันผกผัน

ฟังก์ชันผกผัน ฟังก์ชันผกผัน หรืออินเวอร์สฟังก์ชัน เขียนแทนด้วย เมื่อ เป็นฟังก์ชัน จากที่เรารู้กันว่า ฟังก์ชันนั้นเป็นความสัมพันธ์ ดังนั้นฟังก์ชันก็สามารถหาตัวผกผันได้เช่นกัน แต่ตัวผกผันนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นฟังก์ชันเสมอไป เพราะอะไรถึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นฟังก์ชัน เราลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ให้ f = {(1, 2), (3, 2), (4, 5),(6, 5)}  จะเห็นว่า f เป็นฟังก์ชัน

วงรี

วงรี

วงรี วงรี จะประกอบไปด้วย 1) แกนเอกคือแกนที่ยาวที่สุด และแกนโทคือแกนที่สั้นกว่า 2) จุดยอด 3) จุดโฟกัส ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าแกนใดเป็นแกนเอก 4) ความเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด จากกราฟ สมการรูปแบบมาตรฐาน:    จุดยอด : (a, 0) และ (-a,

พาราโบลา

พาราโบลา

พาราโบลา พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบมีระยะห่างจากจุดโฟกัส (focus) เท่ากับระยะห่างจากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิด กราฟของพาราโบลาจะมีลักษณะคล้ายระฆัง ตอนม.3 น้องๆเคยเห็นทั้งพาราโบลาหงายและคว่ำแล้ว แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับพาราโบลาตะแคงซ้ายและขวา สามารถเขียนเป็นตารางให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ ข้อสังเกต  จะเห็นว่าถ้าแกนสมมาตรคือแกน y รูปแบบสมการของพาราโบลา y จะมีเลขชี้กำลังเป็น 1  สมการเส้นไดเรกตริกซ์ก็จะเกี่ยวข้องกับ y เช่นเดียวกับแกนสมมาตรเป็นแกน x รูปแบบสมการของพาราโบลา x

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต

ลำดับเรขาคณิต ลำดับเรขาคณิต คือ ลำดับที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่เป็นจำนวนเท่า ซึ่งจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นเรียกว่า อัตราส่วนร่วม เขียนแทนด้วย r โดยที่ r = พจน์ขวาหารด้วยพจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง ตัวอย่างของลำดับเรขาคณิต 2, 4, 8, 16, 32, … จะได้ว่า 

NokAcademy_ProfilePastTense

มารู้จักกับ Past Tenses กันเถอะ

สวัสดีค่ะนักเรียนที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Tenses ที่ไม่ได้มีแค่ Past Simple Tenses นะคะ   มาทบทวนเรื่อง Past Tenses กันเถอะ     การพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตนั้นสามารถพูดได้หลายรูปแบบ แต่จะพูดอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทนั้นย่อมสำคัญเช่นกัน และก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1