มารยาทในการฟังที่ดีควรมีข้อปฏิบัติอย่างไร??

มารยาทในการฟังที่ดี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน วันนี้เราจะพาไปพบกับบทเรียนง่าย ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นั่นก็คือเรื่อง มารยาทในการฟังที่ควรปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องที่เด็ก ๆ ควรจะเรียนรู้ไว้ เนื่องจากเราต้องใช้ทักษะการฟัง
ในทุก ๆ วัน แต่การจะฟังอย่างมีมารยาทนั้นเราจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากรู้ เดี๋ยวเราไปดูบทเรียนเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

 

มารยาทในการฟังที่ดี

 

มารยาท คืออะไร

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่กำลังสงสัยว่ามารยาทคืออะไร ทำไมเราถึงต้องมีคำนี้ในการฟัง หรือการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย
ตามความหมายโดยรวมแล้ว คำว่า มารยาท หมายถึง พฤติกรรม หรือการกระทำที่ไม่ว่าจะเป็นการพูดจา การนั่ง การกิน การยืน หรือการแต่งตัวที่อยู่ในกรอบของความสุภาพเรียบร้อย เหมาะสมตามกาลเทศะ เหมาะสมกับบุคคล หรือสถานที่
ดังนั้น ถ้าเราพูดจาอ่อนหวาน กริยาท่าทางสุภาพเรียบร้อยก็จะถือว่าเราเป็นคนที่มีมารยาทดี

 

มารยาทในการฟังที่ดี

ความหมายของการฟัง

การฟัง หมายถึง ความสามารถในการได้ยินผ่านหู แล้วรับรู้ เข้าใจ ไปจนถึงขั้นตอนของการตีความ หรือรู้ว่าเนื้อเรื่องสำคัญของสิ่งที่ฟังอยู่คืออะไร ซึ่งถ้าหากเรามีความสามารถในการฟังที่ดี นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่กำลังฟังแล้ว ก็ยังช่วยให้เราบอกเล่าเรื่องที่ฟังให้กับคนอื่นได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

 

มารยาทในการฟัง และการพูด

จุดมุ่งหมายในการฟัง

การสื่อสารในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่าน หรือการเขียนก็ล้วนแล้วแต่ต้องมีจุดมุ่งหมาย หรือความต้องการที่จะสื่อสารออกมา เช่นเดียวกันกับการฟังที่ต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เรารู้ว่าเราจะต้องฟังสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร โดยจะแบ่งจุดมุ่งหมายของการฟังออกเป็น 3 ข้อใหญ่ ๆ ดังนี้

1) การฟังเพื่อความรู้

สำหรับจุดมุ่งหมายของการฟังเพื่อความรู้ เป็นการฟังเนื้อหาสาระที่ทำให้เราเกิดปัญญา เกิดความรู้ อย่างการฟังครูสอนในห้องเรียน ฟังข่าวสารทางโทรทัศน์ ฟังพยากรณ์อากาศทางวิทยุ หรือการฟังเพื่อนพูดรายงงานหน้าชั้นเรียน ซึ่งเมื่อเราได้ฟังแล้วก็จะนำไปคิด วิเคราะห์ หรือตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งที่ฟังต่อได้

2) การฟังเพื่อความเพลิดเพลิน

จุดมุ่งหมายต่อมาคือการฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ซึ่งเรามักจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ  เพราะเป็นการฟังที่ไม่ต้องใช้การครุ่นคิด ไม่ต้องตีความ เพียงแค่ฟังให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินใจอย่างการฟังเพลง ฟังดนตรีสด ฟังเรื่องตลกขบขัน หรือฟังเสียงตามธรรมชาติ โดยการฟังแบบนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความชอบ หรือความต้องการของเราด้วย

3) การฟังเพื่อได้คติ และความจรรโลงใจ

สุดท้ายเป็นการฟังเพื่อให้ได้คติสอนใจ หรือความจรรโลงใจ น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่คุ้นชินกับการฟังในข้อนี้มากนัก แต่ความจริงแล้วมันเป็นการฟังที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น การฟังพระเทศนา ฟังนิทานที่มีข้อคิดคติสอนใจ รวมทั้งการฟังกลอน
หรือบทกวีที่โดยรวมแล้วจะเป็นการฟังเพื่อทำให้จิตใจของเราคิดดี ทำดี หรือฟังเพื่อให้ได้ข้อคิดไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตด้วย

 

มารยาทในการฟัง และการพูด

 

มารยาทของผู้ฟังที่ดีควรทำอย่างไร?

 

1.ฟังอย่างเรียบร้อยตั้งใจ

มารยาทข้อแรกที่เราควรต้องมีเมื่อฟังผู้อื่นพูด คือการตั้งสมาธิ และตั้งใจฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังจะสื่อสารกับเรา ให้เราตั้งใจฟังว่าเนื้อหาสาระสำคัญที่ผู้พูดต้องการจะบอกเราคืออะไร เช่น ถ้าเราต้องฟังเพื่อนพูดรายงงานหน้าชั้นเรียน เราควรฟังว่า
เพื่อนทำรายงานเรื่องอะไร และต้องการจะนำเสนอเรื่องอะไรบ้าง

2. ไม่พูด หรือส่งเสียงรบกวนขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด

ข้อนี้เป็นมารยาทที่น้อง ๆ ทุกคนต้องให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะเมื่อมีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟังเป็นธรรมดา ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเห็นผู้อื่นกำลังพูดอยู่ เราควรที่จะเงียบ และตั้งใจฟัง ไม่ควรพูดแทรก หรือส่งเสียงรบกวนผู้พูดเด็ดขาด

3. ปรบมือเพื่อให้เกียรติผู้พูด

ข้อนี้เป็นมารยาทสากลที่ทุกคนต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัย ทุกครั้งที่เพื่อนของเราออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน หรือไปฟังผู้อื่นพูดบนเวที เมื่อเขาพูดจบแล้วให้ปรบมือเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้พูด

4. ยกมือถามเมื่อรู้สึกสงสัย

การยกมือถามเมื่อเรารู้สึกสงสัยเป็นเรื่องที่เราสามารถทำได้ และเป็นมารยาทที่ดี แต่น้อง ๆ ต้องคำนึงถึงสถานการณ์ ณ ขณะนั้นด้วยว่าเราสามารถยกมือถามได้หรือไม่ เช่น ในการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนเราควรให้เพื่อนของเรารายงานจนจบก่อน แล้วเราจึงยกมือถามเพื่อไม่เป็นการทำลายสมาธิของเพื่อนในขณะที่กำลังพูดอยู่ หรือในงานประชุมที่มีคนกำลังพูดอยู่บนเวทีเราควรรอให้ผู้พูดเว้นช่วงให้เราถามในตอนท้ายแล้วค่อยยกมือถามจึงจะเหมาะสมกว่า

5. รักษากฎระเบียบของสถานที่ที่เราไปนั่งฟัง 

การเรียนรู้กฎระเบียบของสถานที่ที่เราไปนั่งฟัง แล้วปฏิบัติตามถือเป็นมารยาทที่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย เพราะทุกสถานที่ย่อมมีกฎระเบียบกำหนดไว้ ยกตัวอย่างเช่นในห้องเรียนที่มีกฎว่าเวลาเรียนห้ามส่งเสียงดัง ห้ามพูดคุยกันในระหว่างที่ครูสอน หรือห้องประชุมที่มักจะห้ามคุยโทรศัพท์ หรือเปิดเสียงโทรศัพท์ระหว่างการประชุม ซึ่งเราก็ควรจะปฏิบัติตามกฎของสถานที่นั้น ๆ อย่างเคร่งครัดด้วย

6. ฟังด้วยความไม่มีอคติ

ข้อสุดท้ายคือการฟังโดยที่ตัวเราต้องลบความรู้สึกไม่ชอบ ไม่พอใจ หรือไม่เห็นด้วยออกไปให้หมดก่อน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นอคติที่จะทำให้เราปิดกั้นตัวเองจากการรับฟังสิ่งที่ผู้พูดกำลังสื่อสารกับเรา เช่น ถ้าเราไม่ชอบผู้พูดเป็นการส่วนตัว หรือเราไม่ชอบเนื้อหา มุมมองที่ผู้พูดเอาออกมานำเสนอ เราก็จะไม่อยากฟัง  หรือไม่ให้ความสนใจกับผู้พูด ซึ่งนั่นถือเป็นมารยาทในการฟังที่ไม่ดี เพราะฉะนั้นเราควรฟังด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่คิดลบ หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีออกมาเด็ดขาด

สรุป

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเนื้อหาสาระที่เราได้นำมาฝากน้อง ๆ ทุกคน บทเรียนเรื่องมารยาทในการฟังที่ดีนั้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างง่าย แต่ก็มีหลายอย่างที่เรายังต้องเรียนรู้ โดยน้อง ๆ ทุกคนจะได้เรียนเรื่องจุดมุ่งหมายของการฟังที่ลึกขึ้นในระดับมัธยมศึกษา และจะมีเนื้อหาการฟังที่ละเอียดมากขึ้น ดังนั้น การมีรากฐานความรู้ที่ดีในบทเรียนนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถนำไปต่อยอดกับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้ โดยเนื้อหาต่อไปเราจะมาเรียนรู้มารยาทในการฟังที่ดี ถ้าใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องมารยาทการฟัง และการพูดที่ดีก็สามารถไปดูคลิปวีดีโอจากครูอุ้มด้านล่างนี้ได้เลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา   ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช     สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

โคลงโสฬสไตรยางค์

โคลงโสฬสไตรยางค์ โคลงสุภาษิตผลงานพระราชนิพนธ์ในร.5

  โคลงโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสุภาษิต ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับวรรณคดีที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและข้อคิดสอนใจมากมาย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีเนื้อหาอะไรและมีข้อคิดอย่างไรบ้าง เราก็ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     โคลงโสฬสไตรยางค์ (พ.ศ. 2423) เป็นโคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมเป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในพระราชสำนักแปลและประพันธ์โคลงเป็นภาษาไทย โดยพระองค์ได้ทรงตรวจแก้และทรงพระราชนิพนธ์โคลงบทนำด้วย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1