Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ
past simple tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Past Simple Tense คืออะไร?

เราจะใช้ Past Simple Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ และน้องๆ จะเจอ Tense นี้ได้บ่อยๆ เวลาที่อ่านหนังสือนิทาน หรือนิยายภาษาอังกฤษต่างๆ เราก็ใช้ Tense นี้ในการเล่าเรื่องเช่นกัน

 

โครงสร้างประโยคบอกเล่า

กริยาใน Past Simple จะเป็นรูปของ Past Form หรือกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed ถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were

past simple

ตัวอย่าง

I saw a movie last week.
(ฉันดูหนังเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.
(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He travelled to Italy last month.
(เขาไปเที่ยวอิตาลีเมื่อเดือนที่แล้ว)

example 1 past simple

 

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ

เราจะใช้ did not หรือ didn’t มาช่วยและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive)

negative past simple

ตัวอย่าง

I didn’t know what happened on Monday.
(ฉันไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเมื่อวันจันทร์)

Maria didn’t arrive on time this morning.
(มาเรียไม่ได้มาถึงตรงเวลาเมื่อเช้านี้)

Jake didn’t want to play basketball.
(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอล)

example 2 past simple

 

โครงสร้างประโยคคำถาม

เราจะนำ Did มาขึ้นต้นประโยค จากนั้นก็ตามด้วยส่วนประธานและกริยาส่วนที่เหลือ

interrogative past simple

ตัวอย่าง

Did you go to school yesterday?
(เมื่อวานเธอไปโรงเรียนมาหรือเปล่า?)

Did Lala join the party last weekend?
(ลาล่าได้ไปงานปาร์ตี้เมื่ออาทิตย์ก่อนหรือเปล่า?)

Did he come to your wedding?
(เขาได้มางานแต่งงานของคุณหรือเปล่า?)

example 3 past simple

 

ข้อควรจำ

  1. ใน Past Simple อาจจะมีตัวบอกเวลาหรือไม่มีก็ได้ โดยให้น้องๆ สังเกตกริยาที่เป็น Past Form (ช่องที่ 2) เป็นหลัก ตัวอย่างตัวบอกเวลาในอดีต ได้แก่ yesterday, last week, two days ago, last Friday เป็นต้น
  2. น้องๆ ควรมีพื้นฐานเรื่อง Regular และ Irregular Verbs มาก่อนเพราะจะทำให้ผันกริยาได้แม่นยำมากขึ้น Regular Verbs  เช่น play > played > played และ Irregular Verbs เช่น go > went > gone
  3. Past Simple นั้นง่ายตรงที่น้องๆ ไม่ต้องผันกริยาตามประธานเหมือนกับ Present Simple ประธานทุกตัวจะใช้กริยาช่องที่ 2 ทั้งหมด (มีแค่ was/were ที่ต้องผันตามประธาน)

นี่ก็เป็นความรู้เรื่อง Past Simple Tense แบบง่ายๆ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ นะครับ ถ้าน้องๆ สนใจเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถดูวิดีโอจากช่องของ NockAcademy ได้ด้านล่างเลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

ป6 การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาเรียนรู้เกี่ยวกับ “การใช้ประโยคคำสั่งในชีวิตประจำวัน (Imperative sentence in daily life)” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด ประเภทของประโยค ” Imperative sentence “     Imperative sentence ในรูปแบบประโยคบอกเล่าจะ ใช้ Verb base

การวัด

การวัดและความเป็นมาของการวัด

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ความเป็นมาของการวัดในหลายๆมิติ จนกระทั่งวิวัฒนาการที่ทำให้ได้ความแม่นยำในการวัดอย่างเป็นมาตรฐานมากขึ้นเรื่อยๆ

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1