การวัดพื้นที่ ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้มาตราต่างๆของหน่วยในระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมทั้งสูตรต่างๆที่ใช้ในการหาพื้นที่ เพื่อให้เราได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

โดยทั่วไปพื้นที่จะใช้ในการบอกขนาดของเนื้อที่ ซึ่งใช้หน่วยการวัดพื้นที่เป็นตารางหน่วย หรือตามหน่วยการวัดความยาว การเปลี่ยนหน่วยการวัดพื้นที่ในระบบหรือมาตราเดียวกัน สามารถคำนวณได้จากการเปลี่ยนหน่วย การวัดความยาวตามความสัมพันธ์ของหน่วยในระบบหรือมาตรานั้น การเปรียบเทียบพื้นที่ที่มีหน่วยการวัดพื้นที่ต่างระบบหรือต่างมาตรา จำเป็นต้องทำให้มีหน่วยการวัดพื้นที่เป็นอย่างเดียวกันก่อน

หน่วยการวัดพื้นที่

พื้นที่เป็นการบอกขนาดของเนื้อที่เช่นขนาดของที่นาเนื้อที่ของสนามหญ้าก็จะต้องใช้การคำนวณหาพื้นที่และบอกเป็นหน่วยของการวัดพื้นที่ หน่วยการวัดพื้นที่ที่สำคัญที่นักเรียนควรรู้จักมีดังนี้

  • ระบบเมตริก

1 ตารางเซนติเมตร = 100 ตารางมิลลิเมตร

1 ตารางเมตร = 10,000 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางกิโลเมตร = 1,000,000 ตารางเมตร

  • ระบบอังกฤษ

1 ตารางฟุต = 144 ตารางนิ้ว

1 ตารางพลา = 9 ตารางฟุต

1 เอเคอร์ = 4,840 ตารางหลา

1 ตารางไมล์ = 640 เอเคอร์

  • มาตราไทย

100 ตารางวา = 1 งาน

4 งาน = 1 ไร่

400 ตารางวา = 1 ไร่

  • หน่วยการวัดพื้นที่ในมาตราไทยเทียบกับระบบเมตริก

1ตารางวา = 4 ตารางเมตร

1 งาน = 400 ตารางเมตร

 1 ไร่ = 1,600 ตารางเมตร

 1 ตารางกิโลเมตร = 625 ไร่

หน่วยการวัดพื้นที่ในระบบอังกฤษเทียบกับระบบเมตริก (โดยประมาณ)

1 ตารางนิ้ว = 6.4516 ตารางเซนติเมตร

1 ตารางฟุต = 0.0929 ตารางเมตร

1 ตารางหลา = 0.8361 ตารางเมตร

1 เอเคอร์ = 4,046.856 ตารางเมตร (2.529 ไร่)

1 ตารางไมล์ = 2.5899 ตารางกิโลเมตร

 

การคำนวณเกี่ยวกับพื้นที่

    • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

บทนิยามรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากคือรูปสี่เหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมเป็นมุมฉากรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากมี 2 ชนิดคือ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านทุกด้านยาวเท่ากัน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคือรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้างไม่เท่ากับด้านยาว

สมบัติทั่วไปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

  1. มุมทุกมุมกาง 90 องศา
  2. ค้านตรงข้ามยาวเท่ากันและขนานกัน
  3. เส้นทแยงมุมเท่ากันและแบ่งครึ่งซึ่งกันและกัน
  4. เส้นทแยงมุมแบ่งรูปสี่เหลี่ยมเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 รูปที่เท่ากันทุกประการ

พื้นที่สี่เหลี่ยม

ถ้าให้รุปสี่เหลี่มมุมฉากมีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก = กว้าง x ยาว

= a x b ตารางหน่วย

= ab ตารางหน่วย

ถ้ารูปสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีด้านยาว a หน่วย จะได้ว่า

พื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส = ด้าน x ด้าน

= a x a ตารางหน่วย

เส้นรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านกว้าง a หน่วย ยาว b หน่วย

จะมีความยาว = a + a + b + b

= 2 (a + b) หน่วย

แต่ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส a = b

ดังนั้นความยาวเส้นรอบรูป = a + a + a + a = 4a หน่วย

  • พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ

วัดพื้นที่

พื้นที่สามเหลี่ยม

  • พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมใดๆ

สี่เหลี่ยมต่างๆ

คลิปตัวอย่างการวัดพื้นที่

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล

แบบฝึกหัดการให้เหตุผล   แบบฝึกหัดการให้เหตุผล ประกอบไปด้วยการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย ซึ่งแบบฝึกหัดนี้จะช่วยให้น้องๆได้ฝึกฝนการทำโจทย์จนน้องๆเชี่ยวชาญและส่งผลให้น้องๆทำข้อสอบได้แบบไม่ผิดพลาด ถ้าเรารู้เฉยๆเราอาจจะทำข้อสอบได้แต่การที่เราฝึกทำโจทย์ด้วยจะทำให้เราทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ แบบฝึกหัดเพิ่มเติมและข้อสอบ O-Net ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อสอบ O-Net ของปีก่อนๆ   1.) พิจารณาการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ ก. เหตุ 1. ถ้าฝนไม่ตกแล้วเดชาไปโรงเรียน   2. ฝนตก      ผล   

Profile Telling Time

“บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ”

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย  บทนำ ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

การเลื่อนขนาน

สำหรับการแปลงทางเรขาคณิตในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลงที่จะได้ภาพที่มีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบเสมอ โดยใช้การเลื่อนขนาน

เสียงสระในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงสระ เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ สระเดี่ยว สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9

เมทริกซ์

เมทริกซ์ และเมทริกซ์สลับเปลี่ยน

เมทริกซ์ เมทริกซ์ (Matrix) คือตารางสี่เหลี่ยมที่บรรจุตัวเลขหรือตัวแปร สามารถนำมาบวก ลบ คูณกันได้ เราสามารถใช้เมทริกซ์ในการการแก้ระบบสมการเชิงเส้นได้ซึ่งจะสะดวกกว่าการแก้แบบกำจัดตัวแปรสำหรับสมการที่มากกว่า 2 ตัวแปร ตัวอย่างการเขียนเมทริกซ์ เรียกว่าเมทริกซ์มิติ 3×3 ซึ่ง 3 ตัวหน้าคือ จำนวนแถว 3 ตัวหลังคือ จำนวนหลัก ซึ่งเราจะเรียกแถวในแนวนอนว่า แถว และเรียกแถวในแนวตั้งว่า หลัก และจากเมทริกซ์ข้างต้นจะได้ว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1