การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ
การให้เหตุผลแบบนิรนัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การให้เหตุผลแบบนิรันัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ การมองจากสิ่งใหญ่ๆว่ามันเป็นจริง ทำให้สิ่งที่อยู่ในนั้น จริงตามไปด้วย

การสรุปผลของนิรนัยจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปที่สมเหตุสมผล

เช่น เราไปซื้อผลไม้ แล้วแม่ค้าบอกว่า ผลไม้กองนี้หวาน แสดงว่า ถ้าหยิบมา 2 ลูก เราสามารถบอกได้เลยว่า ผลไม้ 2 ลูกนั้นหวาน

การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น จะแตกต่างกับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

อุปนัย มองจากเล็ก ไปหา ใหญ่

นิรนัย มองจาก ใหญ่ ไปหา เล็ก

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล ของการให้เหตุผลแบบนิรนัย

วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่พี่จะแนะนำการตรวจสอบที่ทำให้น้องๆเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งก็คือตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

ถ้าแผนภาพที่เราวาด เป็นไปตามผลสรุป(ตามที่โจทย์บอก)ทุกกรณี แสดงว่า ผลสรุปนั้นสมเหตุสมผล

แต่ถ้าแผนภาพที่เราวาดนั้นไม่เป็นตามที่สรุปไว้ คืออาจจะมีบางกรณีที่ไม่จริง ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุสมผล

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ

ตัวอย่าง การให้เหตผลแบบนิรนัย

โจทย์เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นโจทย์ที่ถ้าเราเข้าใจมันจะสนุกมากๆ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

1.)

เหตุ 1.สัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย

2. สุนัขเป็นสัตว์

ผล        สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

ตอบ การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล

คำอธิบาย การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือเราจะยอมรับว่าเหตุที่ 1 เป็นจริง แล้ว เหตุที่ 2 เกิดจากเราสร้างขึ้นมา เหมือนกับข้อนี้ ที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย เราเลยสร้างเหตที่ 2 ขึ้นมาว่า ถ้าสุนัขเป็นสัตว์ล่ะ เราเลยสรุปผลว่า สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

มาดูภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

 

2.)

เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้

2. ขวดลอยน้ำได้

ผล            ขวดเป็นเรือ

ตอบ ไม่สมเหตสมผล

ข้อนี้เราจะใช้รูปภาพในการอธิบาย เพื่อไม่ให้น้องๆงงกันนะคะ

 

3.) เหตุ

  1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีนทุกคนเป็นโรคคอพอก
  2. เด็กที่อยู่ไกลทะเลทุกคน ขาดสารไอโอดีน
  3. หมู่บ้าน ค อยู่ไกลจากทะเล
  4. ธิดา อยู่หมู่บ้าน ก

ผล.       ธิดาเป็นโรคคอพอก

ตอบ ข้อความข้างต้นสมเหตุสมผล

อธิบายตัวอย่างข้างต้น

4.) เหตุ

  1. จำนวนนับทุกจำนวนเป็นจำนวนเต็ม
  2. จำนวนเต็มบางจำนวนเป็นจำนวนเต็มลบ

ผล        จำนวนนับบางตัวเป็นจำนวนเต็มลบ

พิจารณา จากภาพ ดังนี้

4.) เหตุ

  1. ไม่มีจำนวนเฉพาะใดที่หารด้วย 2 ลงตัว
  2. 27 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว

ผล.      27 เป็นจำนวนเฉพาะ

ตอบ ไม่สมเหตุสมผล

อธิบายด้วยภาพ ดังนี้

การให้เหตุผลแบบอุปนัย กับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

อุปนัย

ใช้ประสบการณ์ หรือทำซ้ำๆ แล้วคาดคะเนผลสรุป

ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

ผลสรุปอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ยิ่งประสบการณ์มาก ผลสรุปยิ่งหน้าเชื่อถือ

น้องๆสามารถเข้าไปดูเนื้อหา การให้เหตุผลแบบอุปนัย ได้เลยนะคะ

นิรนัย

ยอมรับว่า เหตุที่ 1 เป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ที่ 2 ขึ้นมา แล้วมาสรุปผล

ผลสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ มันสมเหตุสมผล

ตรวจการสมเหตุสมผลได้ด้วย แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (ตรวจสอบง่ายสุด)

วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การให้เหตุผลแบบนิรัย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อยากเขียนเก่ง เขียนได้ดี ต้องเรียนรู้วิธีใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับวันนี้เราจะมาเข้าสู่บทเรียนภาษาไทยในเรื่องของระดับภาษา แต่จะเฉพาะเจาะจงไปที่การใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนนำไปใช้ในการเขียนข้อสอบ หรือเขียนรายงานเรื่องต่าง ๆ ได้เหมาะสมมากขึ้น เพราะด้วยความที่ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักในการเลือกใช้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาเขียนอย่างละเอียด ถ้าน้อง ๆ ทุกคนอยากรู้แล้วว่าวันนี้มีบทเรียนอะไรที่น่าสนใจบ้างต้องมาดูไปพร้อม ๆ กัน   ภาษาเขียน คืออะไร?  

ขัตติยพันธกรณี อานุภาพของบทประพันธ์ที่พลิกเหตุร้ายให้กลายเป็นดี

ขัตติยพันธกรณี เป็นเรื่องราวการโต้ตอบด้วยบทประพันธ์ระหว่างรัชกาลที่ 5 ที่กำลังอยู่ในท้อแท้และประชวรอย่างหนักและกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่เขียนจดหมายตอบกลับมาเพื่อให้กำลังใจ จากบทเรียนคราวที่แล้ว น้อง ๆ ก็คงจะรู้ถึงสาเหตุแล้วว่าความทุกข์ใจของรัชกาลที่ 5 นั้นมาจากข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศส บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับตัวบทกันบ้าง เพื่อถอดคำประพันธ์และศึกษาคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้กันค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในขัตติยพันธกรณี     ถอดความ เพราะเกิดปัญหาเป็นข้อพิพาทเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรมาเป็นเวลานาน เพราะความไม่สบายกายและไม่สบายใจนี้เองที่ทำให้พระองค์มีความคิดจะเสด็จสวรรคต

เรียนรู้และประเมินคุณค่าบทประพันธ์ อิศรญาณภาษิต

หลังจากครั้งที่แล้ว ที่เราได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ และตัวบทที่สำคัญในเรื่องกันแล้ว ครั้งนี้เรื่องที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ต่อไปก็คือคุณค่าที่อยู่ใน อิศรญาณภาษิต นั่นเองค่ะ อย่างที่รู้กันว่าวรรณคดีเรื่องนี้อัดแน่นไปด้วยคำสอนและข้อคิดเตือนใจต่าง ๆ มากมาย เพราะงั้นเราไปเรียนรู้กันให้ลึกขึ้นดีกว่านะคะว่าคุณค่าในเรื่องนี้จะมีด้านใดบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   คุณค่าในเรื่องอิศรญาณภาษิต     คุณค่าด้านเนื้อหา   อิศรญาณภาษิต มีเนื้อหาที่เป็นคำสอน ข้อคิดเตือนใจ เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงการกระทำของตน ว่าทำอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นปกติสุขได้

like_dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! ถาม-ตอบก่อนเรียน หากมีคนถามว่า What do you like doing? หรือ What do you dislike doing? (คุณชอบหรือไม่ชอบทำอะไร) นักเรียนสามารถแต่งประโยคเพื่อตอบคำถาม

การคิดอย่างมีเหตุผล

เรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผล

การคิดอย่างมีเหตุผลและอุปสรรค เป็นบทเรียนในเรื่องของความคิดและภาษาที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในครั้งนี้ การคิดอย่างมีเหตุผลมีทักษะการคิดอย่างไรและแตกต่างจากการคิดแบบอื่นไหม นอกจากนี้น้อง ๆ ยังจะเรียนรู้ในส่วนของอุปสรรคทางความคิดอีกด้วย อยากรู้แล้วใช่ไหมล่ะคะว่าจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การคิดคืออะไร     การคิด คือ การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้   การคิดอย่างมีเหตุผล

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1