ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

ผู้ชนะ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ

 

ผู้ชนะ

 

บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่นิยมของนักกลอนในสมัยนั้น ผู้ชนะเป็นหนึ่งในผลงานกลอนที่คนทั่วไปรู้จักดีเพราะนอกจากจะไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดที่ดีอีกด้วย

 

ผู้ชนะ

 

ตัวบทอาขยาน ผู้ชนะ

 

ตัวบทผู้ชนะจะเรียงเนื้อหาตามหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ดังนี้

 

ผู้ชนะ

 

เมื่อเรารักในงานที่ทำก็จะทำให้ความเหน็ดเหนื่อยลดลง เพราะเรามีแรงใจและความมุ่งมั่นเป็นตัวผลักดันไปให้ถึงความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่ว่าจะทำการหรือทำสิ่งใด เราจะต้องมีใจที่พยายาม ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคต่าง ๆ ที่เข้ามา ไม่ปล่อยทิ้งจนกว่าจะได้พบกับความสำเร็จ

 

ผู้ชนะ

 

ไม่คิดกลัวต่ออุปสรรค เมื่อได้ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ แล้วก็ควรจดจ่อ ทำทุกสิ่งด้วยใจที่ตั้งมั่น ใช้เป็นแรงผลักดันชีวิตให้เดินต่อไปข้างหน้า แล้ววันหนึ่งผลสำเร็จก็จะปรากฏให้เราเห็นอย่างที่ต้องการ

 

 

อุปสรรคเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่งานที่เรารักบางครั้งก็ยังต้องเจอกับอุปสรรคดังนั้นเราจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ผ่านไปให้ได้โดยใช้สมองคิดตรึกตรองถึงทางออก ถ้าทำได้เราก็จะประสบความสำเร็จและไม่ลำบากอีกต่อไป

 

 

ความสำเร็จนั้นอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกล ถ้าตั้งใจจริงก็สามารถพบกับความสำเร็จได้ไม่ยากเย็น เพียงแค่ยึดหลักอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ (รักงานที่ทำ) วิริยะ (พากเพียรพยายาม) จิตตะ (ตั้งใจจริง) วิมังสา (แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด) หากทำได้เราจะก็เป็นผู้ชนะ

 

วิธีอ่านบทอาขยานผู้ชนะ

 

การอ่านบทอาขยานจะต้องอ่านให้ถูกจังหวะและแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้องจึงจะทำให้อ่านได้ง่าย อ่านคล่อง ไม่มีติดขัด ซึ่งการแบ่งวรรคของบทนี้ก็จะเหมือนกับการอ่านบทร้องกรองที่เป็นกลอนสุภาพ ดังนี้

 

* / = เว้นวรรคหนึ่งจังหวะ // = เว้นสองจังหวะ ขึ้นวรรคใหม่

 

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ด้วยใจรัก//

ถึงงานหนัก/ก็เบาลง/แล้วครึ่งหนึ่ง//

ด้วยใจรัก/เป็นแรง/ที่เร้ารึง//

ให้มุ่งมั่น/ฝันถึง/ซึ่งปลายทาง//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจบากบั่น//

ไม่ไหวหวั่น/อุปสรรค/เป็นขวากขวาง//

ถึงเหนื่อยยาก/พากเพียร/ไม่ละวาง//

งานทุกอย่าง/เสร็จเพราะกล้า/พยายาม//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใจจดจ่อ//

คอยเติมต่อ/ตั้งจิต/ไม่คิดขาม//

ทำด้วยใจ/เป็นชีวิต/คอยติดตาม//

บังเกิดผล/งอกงาม/ตามต้องการ//

เมื่อทำการ/สิ่งใด/ใคร่ครวญคิด//

เห็นถูกผิด/แก้ไข/ให้พ้นผ่าน//

ใช้สมอง/ตรองตริ/คิดพิจารณ์//

ปรากฎงาน/ก้าวไกล/ไม่ลำเค็ญ//

ความสำเร็จ/จะว่าใกล้/ก็ใช่ที่//

จะว่าไกล/ฤาก็มี/อยู่ให้เห็น//

ถ้าจริงจัง/ตั้งใจ/ไม่ยากเย็น//

แล้วจะเป็น/ผู้ชนะ/ตลอดกาล//

 

บทอาขยานผู้ชนะสอนให้เราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้น และฝ่าฟันไปให้ได้ เป็นอีกหนึ่งบทประพันธ์ที่มีประโยชน์อย่างมาก หวังว่าหลังได้เรียนรู้ความหมายกันไปแล้วน้อง ๆ จะสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ้างเหตุผล

บทความนี้จะทำให้น้องๆเข้าใจหลักการอ้างเหตุผลมากขึ้นและสามารถตรวจสอบได้ว่า การอ้างเหตุผล สมเหตุสมผลหรือไม่

ประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่รักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูตัวอย่างประโยคและวิธีการใช้ Would like กับ Wh-questions กันค่ะ ไปลุยกันเลย ตารางเปรียบเทียบประโยคก่อนเข้าสู่บทเรียน: คำถาม Wh-questions VS Yes-no Questions ประโยคคำถามแบบ Wh-question “what” ประโยคคำถามที่ใช้ would + Subject +like…

NokAcademy_ม2การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย ” การใช้ Wh-questions ร่วมกับ Past Simple Tense” กันนะคะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1