วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำขวัญ คืออะไร

 

คำขวัญ คือ ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นด้วยถ้อยคำที่กะทัดรัดแต่สละสลวยเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น โน้มน้าวใจ เพื่อเป็นสิริมงคล หรือเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น วันเด็ก วันแม่ วันพ่อ เป็นต้น

 

จุดมุ่งหมายของ คำขวัญ

 

1. เพื่อเตือนใจหรือให้ข้อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้อ่าน เพื่อประพฤติในสิ่งที่ถูกต้อง

2. เพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านสนใจ ตระหนักในคุณค่า และปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม

3. เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติทั้งของบุคคลและสถาบัน เช่น คำขวัญประจำจังหวัด คำขวัญประจำโรงเรียน เป็นต้น

 

ลักษณะของคำขวัญ

 

คำขวัญที่ดีจะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ

 

คำขวัญ

 

1. โน้มน้าวใจให้ปฏิบัติตาม

ตัวอย่าง

ประหยัดน้ำคนละนิด ชุบชีวิตคนทั้งชาติ (ประกวดคำขวัญโครงการโรงเรียนประหยัดน้ำ ของการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2555)

 

2. โน้มน้าวใจให้ละเว้น

ตัวอย่าง

รักในหลวง ห่วงลูกหลาน ช่วยกันต้าน ยาเสพติด (คำขวัญต่อต้านยาเสพติดใน พ.ศ. 2542-2543)

 

3. แสดงข้อคิดหรือปรัชญาในการปฏิบัติงานและดำเนินชีวิต

ตัวอย่าง

ไม่ประพฤติชั่ว ไม่ทำลายผู้อื่น

มุ่งทำความดี เจริญด้วยศักดิ์ศรี

ตั้งจิตผ่องใส ผูกไมตรี

มีมารยาทต่อทุกคน

(คติประจำใจชาวนครศรีธรรมราช)

 

4. ข้อคิดในวันสำคัญ

ตัวอย่าง

เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส

(คำขวัญวันเด็ก ปี พ.ศ. 2545)

 

5. คำขวัญแสดงจุดเด่น

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

วิธีเขียนคำขวัญ

 

การเขียนคำขวัญ มีเขียน 3 แบบ

 

 

1. การเขียนแบบคำคล้องจอง คือ การเขียนที่ใช้สระเดียวกัน หรือคำสัมผัสเดียวกัน

 

2. การเขียนคำขวัญแบบร้อยกรอง คือ การเขียนคำตามแบบบังคับ ของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน

 

3. การเขียนคำขวัญแบบร้อยแก้ว คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นอย่างไพเราะ โดยไม่มีข้อบังคับในเรื่องการสัมผัส เอก โท เขียนง่าย

 

หลักการเขียนคำขวัญ

 

1. รู้จุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการเขียน เช่น คำขวัญจังหวัด ก็จะดึงจุดที่เด่น ๆ ของจังหวัดนั้นออกมาเขียน

ตัวอย่าง

 

คำขวัญ

 

คำขวัญเชียงใหม่ ดึงจุดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ออกมาทั้งสถานที่สำคัญของจังหวัดอย่างดอยสุเทพ เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของล้านนาทำให้มีประเพณีที่หลากหลาย นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นเมืองหนาวทำให้มีดอกไม้นานาพันธุ์ ส่วนนครพิงค์ (พิงค์ หรือ ระมิง แปลว่า แม่น้ำของชาวรามัญ) มาจากชื่อ แม่น้ำปิง ที่ไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นจุดเด่นของเมืองเชียงใหม่ที่ได้ถูกนำมารวมกันอยู่เป็นคำขวัญประจำจังหวัด

 

2. หาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะเขียน ทั้งความรู้ด้านเนื้อหาและความรู้ด้านศิลปะในการเขียน อย่างเช่น กลวิธีถ่ายทอดความคิดตลอดจนการใช้ภาษาให้น่าสนใจ

 

3. เสริมความคิด เพื่อให้มีความชัดเจน ทำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาอย่างละเอียด

 

4. คิดถ้อยคำให้เหมาะสม เพื่อมาเรียงร้อยกันให้เป็นคำขวัญที่น่าสนใจตามจุดประสงค์ของการเขียน

 

การเขียนคำขวัญนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เราไม่จำเป็นต้องแต่งยาว ๆ เหมือนบทร้อยกรอง เพียงแต่ต้องเลือกคำที่เหมาะสม กระชับ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าคำขวัญนี้ต้องการจะสื่อถึงเรื่องใด เป็นการเขียนที่เรียกได้ว่าง่ายมาก ๆ อีกประเภทหนึ่งเลยก็ว่าได้ สุดท้ายนี้น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนโดยการชมคลิปการสอนของครูอุ้ม และอย่าลืมติดตามบทเรียนเรื่องการเขียนต่าง ๆ ในครั้งต่อไปกันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต

ลำดับเลขคณิต ลำดับเลขคณิต คือลำดับที่มีค่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างคงที่ โดยจำนวนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนี้เราเรียกว่าผลต่างร่วม แทนด้วยสัญลักษณ์ d  โดยที่ d = พจน์ขวา – พจน์ซ้าย การเขียนลำดับเราจะเขียนแทนด้วย    โดยที่ คือพจน์ทั่วไปหรือเรียกอีกอย่างว่า พจน์สุดท้ายนั่นเอง   การหาพจน์ทั่วไปของลำดับเลขคณิต พจน์ที่1 n = 1     

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น

ระบบสมการเชิงเส้น ระบบสมการเชิงเส้น คือระบบสมการที่มีดีกรีเป็นหนึ่ง ซึ่งก็คือเลขชี้กำลังของตัวแปรเป็นหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในตอนมัธยมต้นน้องๆได้เรียนระบบสมการเชิงเส้น 2 ตัวแปรไปแล้ว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เช่น แล้วเราก็แก้สมการหาค่า x, y  (ซึ่งอาจจะมีคำตอบหรือไม่มีก็ได้) แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสมการเชิงเส้น n ตัวแปร นั่นก็คือน้องๆจะต้องหาคำตอบของตัวแปร n ตัวตัว ซึ่งการหาคำตอบนั้นมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการใช้เมทริกซ์ (ซึ่งน้องๆจะได้เรียนในบทความถัดๆไป) หรือการแก้สมการธรรมดาและในข้อสอบส่วนใหญ่จะเน้นให้น้องๆหาคำตอบในระบบสมการเชิงเส้นที่ไม่เกิน 3 ตัวแปร เพราะถ้าเกินกว่านั้นอาจจะใช้เวลาในการหาคำตอบมาก

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1