การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

Picture of Chisanucha
Chisanucha
การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

คำควบกล้ำ

คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงควบกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า โดยคำควบกล้ำนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ คำควบกล้ำแท้ และคำควบกล้ำไม่แท้

 

 

 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

 

1. คำควบกล้ำแท้

คำควบกล้ำแท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน

 

  • คำที่มี ร เป็นคำควบกล้ำ ได้แก่ กร- ขร- คร- จร- ตร- ปร- พร-

 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

 

  • คำที่มี ล เป็นคำควบกล้ำ ได้แก่ กล- ขล- คล- ปล- พล-

 การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

 

  • คำที่มี ว เป็นคำควบกล้ำ ได้แก่ กว- ขว- คว-

 

ข้อควรจำ

  1. เวลาสะกดจะต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่พยัญชนะต้น
  2. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น เช่น กราบ สะกดว่า กร+อา+บ อ่านว่า กราบ
  3. คำควบกล้ำจะต้องไม่มีคำที่มี ห นำ เช่น หรอก สะกดว่า หร+ออ+ก อ่านว่าแบบ ห นำ ว่า หรอก
  4. คำที่มีสระอัว ไม่ใช่คำที่มี ว ควบกล้ำ เช่น สวย สะกดว่า ส+อัว+ย อ่านว่า สวย ไม่ใช่คำควบกล้ำ

 

2. คำควบกล้ำไม่แท้

คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียงเป็นเสียงอื่นไป

 

  • คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่ พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร
  • คำควบไม่แท้ ท ควบ ร แล้วออกเสียงเป็น ซ

 

 

เมื่อพบความผิดพลาดในการอ่าน สิ่งแรกที่น้อง ๆ ควรจะทำก็คือหมั่นฝึกฝนเพื่อให้การอ่านออกเสียงเป็นไปอย่างถูกต้องเช่น ลองเปล่งเสียง ร ล อย่างคำว่า รักกับลัก หรือ รอดกับลอด บ่อย ๆ และระลึกไว้เสมอว่า การอ่านออกเสียงมีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย เพราะถ้าเราออกเสียงผิด ก็จะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนและสื่อสารไม่เข้าใจไปเลยก็ได้ แต่ถ้าเราออกเสียงให้ถูก ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นราบรื่น ถูกต้องตามหลักภาษา สุดท้ายน้ำน้อง ๆ อย่าลืมไปชมคลิปการสอนของครูอุ้ม ที่นอกจากจะสอนเราออกเสียงคำควบกล้ำแล้ว ครูอุ้มยังทบทวนเรื่องการอ่านอักษรนำให้อีกด้วย ไปชมกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

there is

There is และ There are ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องการใช้ There is และ There are ในภาษาอังกฤษกันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

เสียงสระในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงสระ เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ สระเดี่ยว สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1