ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมาของลิลิตชั้นยอดของเมืองไทย

ลิลิตตะเลงพ่าย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลิลิตตะเลงพ่าย ขึ้นชื่อว่าเป็นยอดของลิลิต ที่แต่งดีที่สุด โดยบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนTรรมของโลก เกริ่นมาเพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้ที่มาและเรื่องของลิลิตตะเลงพ่ายมากขึ้นกว่าเดิมใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องสำคัญของไทยเรื่องนี้กันเลยค่ะ

 

ลิลิตตะเลงพ่าย ความเป็นมา

 

ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระนามเดิมของพระองค์คือ พระองค์เจ้าวาสุกรี เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่ 28 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ขึ้นเพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยชื่อเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย หมายถึง พม่าและมอญแพ้ มาจากการที่พม่าได้มอญเป็นเมืองขึ้นและใช้เมืองหลวงของมอญคือ หงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน ไทยถึงเรียกกองทัพพม่าว่ากองทัพมอญ ในจํานวนพระนิพนธ์ทั้งหมด คือลิลิตตะเลงพ่าย และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นการแต่งลิลิตที่ยอดเยี่ยมที่สุด

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ มีการเข้าลิลิต คือ คำสุดท้ายของบทที่มาก่อน ส่งสัมผัสไปรับที่คำที่ 1,2 หรือ 3 ของบทต่อมา โดยความยาวของร่ายสุภาพนี้จะมีความยาวกี่วรรคก็ได้ใน 1 บท

 

ลิลิตตะเลงพ่าย

 

เรื่องย่อลิลิตตะเลงพ่าย

 

ระเจ้ากรุงหงสาวดีนันทบุเรงทรงทราบข่าวว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชเสด็จสวรรคต ทรงคาดการณ์ว่าอาจเกิดศึกแย่งชิงราชสมบัติกัน จึงสั่งให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา

 

 

พระมหาอุปราชารู้สึกได้ถึงลางไม่ดี แต่ก็ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ และเข้าตีเมืองกาญจนบุรี ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเตรียมทัพจะไปรบเขมร แต่ทรงพระสุบินเห็นจระเข้ โหรฯ จึงทำนายว่า พม่ากำลังจะเข้ามาทางตะวันตกและจระเข้ที่พระองค์ได้ปลิดชีพไปในฝันก็คือพระมหาอุปราชาจึงทรงนำทัพออกไปรับศึกพม่านอกพระนคร ทัพไทยและทัพพม่าปะทะกันที่ตำบลตระพังตรุ จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตกมันทำให้ทหารไม่สามารถตามพระองค์ไปได้ทัน เมื่อได้เผชิญหน้ากัน พระองค์ทรงเชิญให้พระมหาอุปราชาเสด็จมากระทำยุทธหัตถีด้วยกัน พระมหาอุปราชาเพลี่ยงพล้ำต้องพระแสงของ้าวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสิ้นพระชนม์บนคอช้าง หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาแล้ว ทรงปูนบำเหน็จทหารที่มีความชอบในการรบ และทรงตัดสินโทษทหารที่ตามเสด็จไม่ทันตอนที่รบกัน แต่แล้วก็ได้พระราชทานอภัยโทษให้แก่ทหารเหล่านั้น แลกกับการให้ยกทัพไปตีเมืองทวายและตะนาวศรีและมะริดเป็นการไถ่โทษ

 

กลศึกที่สมเด็จพระนเรศวรใช้เพื่อเตรียมรบกับพม่า

พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทัพของหัวเมืองต่าง ๆ ยกไปขัดตาทัพรับหน้าข้าศึกที่ตำบลหนองสาหร่าย โดยใช้อุบายเข้าโจมตีแล้วล่าถอยเพื่อให้ข้าศึกติดตาม จากนั้นพระองค์ทั้งสองจะทรงยกทัพไปตีขนาบข้าศึกไว้

 

ตอนท้ายเรื่อง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมปรมานุชิตชิโนรสทรงแสดงจุดประสงค์ในการทรงนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายว่าเพื่อเป็นการสดุดีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงทำยุทธหัตถีชนะพม่า และขอให้บทกวีคงอยู่ตลอดไป ซึ่งสิ่งที่พระองค์ต้องการนั้นก็เกิดขึ้นจริง ๆ ค่ะ เราถึงได้มาเรียนวรรณคดีอันทรงคุณค่านี้ในแบบเรียน ได้รู้ถึงพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ในอดีตที่ปกป้องบ้านเมือง สำหรับตัวบทที่น่าสนใจเพิ่มเติม น้อง ๆ จะได้เรียนเจาะลึกกันในบทถัดไป แต่ก่อนที่จะไปถอดคำประพันธ์สนุก ๆ กับครูอุ้ม น้อง ๆ อย่าลืมทบทวนบทเรียนในวันนี้กันด้วยนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

Suggesting Profile

สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย “สำนวนการเสนอ การขออนุญาต และขอความช่วยเหลือ พร้อมทั้งเทคนิคการพูดตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า สำนวนการเสนอ   ในชีวิตประจำวันของเรานั้น ล้วนจะต้องเจอกลุ่มประโยคคำถามในเชิงชักชวน และการเสนอแนะที่ใช้เป็นรูปแบบคำถามนั้นถือเป็นการเสนอแนะชักชวนทางอ้อม ถ้าเทียบกับนิสัยคนไทยแล้ว ก็เพื่อแสดงถึงความเกรงใจ ไม่พูดมาตรงๆ เพื่อจุดประสงคืบางอย่าง ซึ่งเป็นนิสัยที่คนไทยส่วนใหญ่มีอยู่แล้ว ในภาษาอังกฤษการใช้ภาษาเหล่านี้จะทำให้การสนทนาดูเป็นธรรมชาติและคล่องมากขึ้น โดยที่บางครั้งผู้ถามนั้นหว่านล้อมผู้ฟังด้วยการ ชวนให้ทำ หรือแนะนำให้ทำนั่นเอง ประโยคคำถามที่ใช้มีดังนี้  

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

ผู้ชนะ

ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ     บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม

การเรียงคำคุณศัพท์ (Adjective Order)

น้องๆ น่าจะรู้จักหรือเคยได้ยิน “คำคุณศัพท์” หรือ Adjective ในภาษาอังกฤษกันมาบ้างแล้วใช่มั้ยครับ? ซึ่งหน้าที่ของคำเหล่านี้คือเพิ่มความหมายและบอกลักษณะของคำนามนั่นเอง วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าหากมี Adjective มากกว่า 1 คำมาขยายคำนาม เราจะเรียงลำดับมันอย่างไรดี ไปดูกันเลย!

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1