กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมที่สวยงาม ไปที่ไหนก็จะพบแต่ความสุข น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื้อหาใน กัณฑ์มัทรี นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วล่ะก็เราไปเจาะลึกตัวบทเด่น ๆ กันค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตัวบทเด่นใน กัณฑ์มัทรี

 

ตัวบทที่ 1

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ตอนที่นางมัทรีวิ่งตามหาลูกไปทั่วป่า ใช้ตามองไปทุกหนแห่ง ใช้หูฟังเสียงลูก ตะโกนเรียกลูกจนสุดเสียง และออกวิ่งสุดฝีเท้าเพื่อตามหาลูกเท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะทำได้ ในบทนี้โดดเด่นในเรื่องการซ้ำคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของมหาชาติสำนวนของภาคกลาง จะเห็นได้เรื่อย ๆ ในบทต่อ ๆ ไป

 

ตัวบทที่ 2

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นตอนที่นางมัทรีกลับมาถามพระเวสสันดรว่าพระกุมารหายไปไหน แล้วพระเวสสันดรแกล้งกล่าวโทษว่าเพราะนางมัทรีหลงลืมลูกไม่สนใจผัว มัวแต่อยู่ในป่า แม้ตอนแรกจะทำเป็นไม่อยากไปก็ตาม แต่กลับมาซะเย็น พอหาลูกไม่เจอก็ตีอกชกหัวว่าลูกหายไปไหน และยังว่าอีกว่าใครจะไปรู้ความคิดผู้หญิง ถ้ารักลูกจริงเหมือนที่พูดก็ต้องรีบกลับมาก่อนตะวันจะตกดิน บทนี้สะท้อนความมีไหวพริบของผู้พูดอย่างพระเวสสันดรที่ออกอุบายให้นางมัทรีคลายความเศร้าและเปลี่ยนมาโกรธแทน

 

 

เป็นตอนที่นางมัทรีไปตามหาพระกุมารทั้ง 2 ตั้งแต่ค่ำจนรุ่งเช้า จนเกิดอาการอ่อนเพลียจึงสลบไป เมื่อพระเวสสันดรมาเห็นก็ตกใจ คิดว่านางมัทฟรีสิ้นใจแล้ว จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วตัดพ้อว่า ตนเองบุญน้อยแล้วนางยังจะมาจากไปอีก จะเอาป่านี่มาเป็นป่าช้าฝังศพ จะเอาศาลานี่มาเป็นเมรุเผาศพ จะเอาเสียงนกสาลิกามาเป็นเสียงกลองในงานศพ จะเสียงจักจั่นมาเป็นเสียงแตรสังข์ จะเอาเมฆหมอกในอากาศมากั้นเป็นเพดานหรือ

ซึ่งพระเวสสันดรตัดพ้อขึ้นมาเพราะกำลังเสียใจอย่างมาก คิดว่านางมัทรีสิ้นใจแล้วจึงตั้งคำถามว่านางจะมาตายในป่าแบบนี้จริงหรือ เพราะนอกจากจะโดนเนรเทศมาอยู่ในป่ากับด้วยกันกับลูกแล้ว ตอนนี้ลูกยังต้องไปอยู่กับชูชกทำให้เหลือกันอยู่แค่สองคนผัวเมีย แล้วนางก็จะยังจะจากไปอีก บทนี้ถึงนางมัทรีไม่ได้ตายจริง ๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ความรักของสามีที่มีต่อภรรยา

 

คำศัพท์

 

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ใครจะรัก จะห่วง จะให้ลูกได้เท่ากับที่พ่อแม่รัก นั้นย่อมหาได้ยาก

 

จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้กันไป ทำให้ได้รู้ว่าการเทศน์มหาชาติคือมหากุศลที่เตือนบุคคลให้ตระหนักถึงการบำเพ็ญบารมี ให้ทาน สละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เรียกได้ว่ามีประโยชน์รอบด้าน ทั้งฟังและได้บุญ ได้ข้อคิด นำพาให้เราไปทำในสิ่งที่ดี ก็ยังได้ซึมซับความสวยงามของภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์นี้อีกด้วย ก่อนจากกัน น้อง ๆ สามารถติดตามคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายในแต่ละตัวบทเพิ่มเติม และสามารถตามไปฟังคลิปสรุปความรู้ เพื่อให้ไม่พลาดในการทำข้อสอบ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ พูดอย่างไรให้ถูกต้อง

  คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ หลายคนอาจจะต้องพบเจอถ้าหากว่านับถือศาสนาพุทธ เพราะว่าเราอาจมีโอกาสได้สนทนากับพระระหว่างทำบุญก็ได้ วันนี้เราจะมาเรียนรู้คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์กันนะคะว่าแตกต่างจากคำราชาศัพท์สำหรับราชวงศ์และสุภาพชนทั่วไปอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ใช้อย่างไร     แม้คำว่าราชาศัพท์ จะสามารถแปลตรงตัวได้ว่าเป็นถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ แต่ในปัจจุบันนี้คำราชาศัพท์ยังครอบคลุมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ และสุภาพชน หรือเรียกอีกนัยว่าคำสุภาพ สำหรับคำราชาศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์จะต่างกับราชวงศ์และสุภาพชน และยังขึ้นอยู่กับสมณศักดิ์ของพระสงฆ์อีกด้วย โดยสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากัน โดยการที่จะหาอัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวนหรือเรียกอีกอย่างว่า อัตราส่วนต่อเนื่อง ได้นั้น น้องๆ จำเป็นต้องหา ค.ร.น. ของตัวร่วม ดังนั้นเรามาทบทวนวิธีการหา ค.ร.น. กันก่อนนะคะ จงหา ค.ร.น. ของ 3, 6 และ 12 3) 3     

การบรรยายลักษณะ และ ความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์

การบรรยายลักษณะและความรู้สึก โดยใช้คำคุณศัพท์ Adjective

ทบทวนความหมายและหน้าที่ของคำคุณศัพท์   คำคุณศัพท์หรือ Adjective มีตัวย่อคือ Adj.  ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนามที่อยู่ในประโยค คำนามหรือสรรพนาม ณ ที่นี้ ก็คือ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ นั่นเองค่า นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ขยายในที่นี้เพื่อบอกให้รู้ว่าคำนามหรือสรรพนามเหล่านั้นมีลักษณะยังไง  และในบทนี้ครูจะพาไปดูการใช้คำคุณศัพท์บอกลักษณะและความรู้สึก (Descriptive Adjective) กันนะคะ ไปลุยกันเลย   การใช้คำคุณศัพท์ (Adjective)

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

Profile-even if-only if- unless grammartical techniques

Even if, Only If, Unless ใช้ยังไงในภาษาอังกฤษ

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.  6 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคการใช้ Even if, Only if, Unless มาฝากกันค่ะ หลายคนที่อาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างแล้ว แต่อาจะจะลืมไปหรือบางคนอาจจะยังไม่เคยเรียนเลย ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะเริ่มกันใหม่ ไปลุยกันเลย ความหมายโดยรวมของ Even if, Only if, Unless คือ คำสันธานที่ใช้เชื่อมความขัดแย้งของประโยคเงื่อนไข ย้ำนะคะว่า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1