ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ

 

ความหมายของคำราชาศัพท์

 

 

คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3.พระภิกษุสงฆ์

4. ข้าราชการ

5. สุภาพชน

ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เราจะต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยคือ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะมีหลักการใช้และคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป

 

คำราชาศัพท์ : ที่มาและความสำคัญ

 

แม้ไม่มีระบุแน่ชัดว่าคำราชาศัพท์เกิดขึ้นครั้งแรกในปีใด แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าคำราชาศัพท์มีใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรและบาลีสันสกฤต อย่างคำว่า เสวย ทรง ถวาย ราชย์ พระธาตุ ฯลฯ

 

ความสำคัญของคำราชาศัพท์

1. ทำให้ใช้ภาษาเป็น ระดับของภาษามีหลายระดับ ทุกคนจึงจำเป็นต้องรู้ระดับของภาษาและเลือกใช้คำพูดให้ถูกต้อง เหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ

2. ทำให้รู้จักมารยาทสังคม ประเทศไทยอาจไม่ได้แบ่งชนชั้นวรรณะ แต่ก็มีลำดับขั้น มีบุคคลที่ควรจะให้เกียรติเนื่องจากทำคุณงามความดีให้ประเทศชาติ หากผู้ฟังมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าแล้วเราใช้คำพูดผิดก็อาจจะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟังได้

3.เข้าใจลักษณะสังคมไทย การที่ภาษามีหลายระดับ ทำให้เราเห็นวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชาติ รวมถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย

 

คำราชาศัพท์

 

พระพักตร์ หมายถึง หน้า

พระปราง หมายถึง แก้ม

พระนลาฏ,ลลาฏ หมายถึง หน้าผาก

พระเนตร/พระจักษุ หมายถึง ดวงตา

พระนาสิก หมายถึง จมูก

พระขนง หมายถึง คิ้ว

พระกรรณ หมายถึง หู

พระศอ หมายถึง คอ

พระเศียร หมายถึง ศีรษะ

พระหนุ หมายถึง คาง

พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก

พระทนต์ หมายถึง ฟัน

 

คำราชาศัพท์

 

พระหัตถ์ หมายถึง มือ

พระพาหา หมายถึง แขน

พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ หมายถึง นิ้วมือ

พระอังคุฐ หมายถึง นิ้วโป้ง

พระดัชนี หมายถึง นิ้วชี้

พระมัชฌิมา หมายถึง นิ้วกลาง

พระอนามิกา หมายถึง นิ้วนาง

พระกนิษฐา หมายถึง นิ้วก้อย

 

คำราชาศัพท์

 

พระองค์ หมายถึง ร่างกาย

พระอังสา หมายถึง บ่า, ไหล่

พระอุทร หมายถึง ท้อง

พระนาภี หมายถึง สะดือ

พระถัน หมายถึง เต้านม

พระฉวี หมายถึง ผิวหนัง

 

สรุป

ภาษาไทยเป็นเครื่องบ่งบอกวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ ดังนั้น แม้ว่าคำราชาศัพท์จะไม่ใช่คำทั่วไปที่เราใช้พูดกับเพื่อนหรือคุณครู แต่เด็ก ๆ ทุกคนก็ควรเรียนรู้ไว้ในฐานะคนไทย สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดได้แบบสบาย ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

NokAcademy_Articles E5

Articles: a/an/the

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable Nouns )

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1