นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

นิราศภูเขาทอง

 

เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา

 

หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ

 

นิราศภูเขาทอง

ประวัติความเป็นมา

 

สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว โดยสุนทรภู่นั้นแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจเดีย์ภูเขาทองซึ่งเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ 2371 ซึ่งขณะนั้นได้บวชเป็นภิกษุอยู่วัดเลียบหรือวัดราชบูรณะฯในปัจจุบัน

 

ลักษณะคำประพันธ์ของนิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทอง แต่งด้วยกลอนนิราศ คล้ายคลึงกับกลอนสุภาพต่างกันตรงที่กลอนสุภาพจะเริ่มต้นที่ 4 วรรคแรกคือ สลับ รับ รอง ส่ง แต่กลอนนิราศจะตัดวรรคสดับออกไปทำให้การขึ้นต้นเหลือแค่ 3 วรรคคือ รับ รอง ส่ง

 

นิราศภูเขาทอง

 

เรื่องย่อ

 

นิราศภูเขาทองเป็นเรื่องที่สุนทรภู่ซึ่ง ณ ขณะนั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดเลียบได้แต่งขึ้นตอนเดินทางจากจังหวัดกรุงเทพฯ ไปวัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งมีความเชื่อว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่ จุดมุ่งหมายในการแต่งนิราศภูเขาทองนั้นเพื่อบันทึกการเดินทางไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและความรู้สึกต่อช่วงชีวิตที่ตกอับของตัวเอง เพราะหลังสิ้นรัชสมัยของพระพุทธเลิศล้านภาลัยชีวิตของสุนทรภู่ที่เคยสุขสบายก็พลิกผัน เมื่อผ่านไปยังสถานที่ต่าง ๆ จึงมักจะพรรณนาแล้วโยงเข้ากับชีวิตตัวเอง และเนื่องจากบวชเป็นพระอยู่จึงสอดแทรกเรื่องความรักเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามลักษณะของนิราศอื่น ๆ  เท่านั้น ไม่ได้มีหญิงคนรักจริง ๆ

 

เส้นทางการเดินเรือในนิราศภูเขาทอง

 

นิราศภูเขาทอง

 

เส้นทางการเดินเรือในนิราศภูเขาทองขาไปเริ่มที่สุนทรภู่ออกเดินทางจากวัดเลียบ ล่องไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานที่ต่าง ๆ ใน 4 จังหวัดคือ จังหวัดกรุงเทพ ฯ นนทบุรี ปทุมธานี และพระนครศรีอยุธยา และขากลับเริ่มออกเดินทางแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาเพียงวันเดียวเรือก็มาเทียบท่าหน้าวัดอรุณฯ

 

ตัวอย่างบทที่กล่าวถึงสถานที่

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงตลาดขวัญ ตำบลหนึ่งในจังหวัดนนทบุรีซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

นิราศภูเขาทอง

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงเกาะใหญ่ ซึ่งชาวบ้านใช้เรียกตำบลท้ายเกาะ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ส่วนราชคราม เป็นชื่อเดิมอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

จากรูปด้านบน กวีกล่าวถึงวัดหน้าพระเมรุฯ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งสุนทรภู่ได้ผ่านวัดนี้ก่อนจะมาถึงวัดภูเขาทอง

 

พอได้รู้ประวัติความเป็นมาและทราบเรื่องย่อกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าสุนทรภู่นั้น เป็นกวีเอกที่มากความสามารถแค่ไหน เพราะสามารถหยิบยกธรรมชาติและผู้คนที่พบเห็นมาแต่งเป็นเรื่องราวให้มีความไพเราะได้ และนอกจากความสวยงามของภาษาแล้ว นิราศภูเขาทองยังสะท้อนภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคสมัยนั้น รวมไปถึงสอดแทรกข้อคิดเตือนใจไว้มากมาย ทำให้นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า ควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังเพื่อทำความเข้าใจเรื่องประวัติความเป็นมาของนิราศภูเขาทองให้มากขึ้นได้ที่คลิปข้างล่างนี้เลยค่ะ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

like love enjoy ving

การแนะนำตัวเองและให้ข้อมูลโดยใช้ “Like”, “Love”, และ “Enjoy”

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ คราวที่แล้วเราได้อ่านเรื่องการใช้ประโยคคำสั่ง ขอร้อง และคำแนะนำกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูวิธีการแนะนำตัวเอง และให้ข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับตัวเราแบบง่ายๆ กันครับ

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้ จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ) ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

Profile_imperative sentence

การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับ การใช้ประโยคคำสั่ง หรือ Imperative sentence ในชีวิตประจำวัน กันนะคะ ซึ่งเราจะเจอประโยคเหล่านี้ตั้งแต่ตื่นนอน ทานข้าว เดินไปโรงเรียน ไปดูหนัง ข้ามถนน ข้ามสะพาน ขึ้นแท็กซี่ และในกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย หากว่าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบและโครงสร้างประโยคคำสั่ง Imperative sentence     คือประโยคที่เจอบ่อยเมื่อต้องพูด ให้คำคำปรึกษา

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1