การตั้งคําถามทางสถิติ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การตั้งคําถามทางสถิติ

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ไว้อย่างละเอียด ก่อนอื่นน้องมาทำความเข้าใจกับความหมายของ “คำถามทางสถิติ”

คำถามทางสถิติ  หมายถึง คำถามที่มีคำตอบหรือคาดว่าจะได้รับคำตอบมากกว่า 1 คำตอบ รวมถึงคำถามที่ต้องการคำตอบซึ่งได้มาจากการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานบางอย่างแล้วนำมาจำแนก  คำนวณ หรือวิเคราะห์เพื่อใช้ตอบคำถามนั้น

คำถามทางสถิติจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

  1. ระบุสิ่งที่ต้องการศึกษาได้
  2. มีกลุ่มบุคคลหรือสิ่งที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่หลากหลาย
  3. สามารถคาดการณ์ได้ว่าคำตอบที่จะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างคำถามทางสถิติ

คำถามต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติ

  • อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผสมสีทาบ้าน แต่ยี่ห้อควรเป็นอย่างไร
  • ประเทศไทยมีวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้นเท่าไร
  • เดืือนธันวาคมในเขตกรุงเทพมหานครมีฝนตกปริมาณเท่าไร

ตัวอย่าง ข้อความต่อไปนี้เป็นคำถามทางสถิติหรือไม่ เพราะเหตุใด

1) ในหนึ่งสัปดาห์กิตติกรกินขนมหวานกี่ชาม

ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงกิตติกรเท่านั้น

2)  ใน พ.ศ.2560 รายได้เฉลี่ยของประชากรไทยเป็นเท่าใด

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ รายได้เฉลี่ยของประชากรไทย  มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ ประชากรไทย ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน

3) นักเรียนในห้องนี้ เกิดเดือนไหนบ้าง

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ เดือนที่นักเรียนเกิด มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ นักเรียนในห้อง ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม 

4) อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่าเป็นเท่าใด

ตอบ เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีสิ่งที่ต้องการศึกษา คือ อายุการใช้งานของหลอดไฟตราจีน่า มีกลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วย คือ หลอดไฟตราจีน่า ซึ่งหลากหลาย และคาดการณ์ได้ว่าคำาตอบที่อาจจะเกิดขึ้นมีความแตกต่างกัน 

5) ครูอุ๊ชอบดอกไม้ชนิดไหนบ้าง

ตอบ ไม่เป็นคำถามทางสถิติ เพราะคำถามนี้มีคำตอบเพียงคำตอบเดียว นอกจากนี้กลุ่มที่จะเก็บข้อมูลด้วยมีเพียงครูอุ๊เท่านั้น

ประเภทของคำถามทางสถิติ

คำถามทางสถิติแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ คำถามพื้นฐาน คำถามเชิงสรุป คำถามเชิงเปรียบเทียบ คำถามเชิงความสัมพันธ์

คำถามพื้นฐาน

ตัวอย่างคำถาม : ดัชนีมวลกายของนักศึกษาในห้องนี้เป็นเท่าใด

เป็นคำถามที่ทำให้ได้ชุดของคำตอบ 1 ชุด ซึ่งเป็นคำตอบที่ผู้ตอบสามารถตอบได้ตามสภาพที่เป็นจริงหรือตามความคิดเห็นของตนเอง

คำถามเชิงสรุป

ตัวอย่างคำถาม : นักศึกษาในห้องนี้ มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ สมส่วนมีจำนวนกี่คน

เป็นคำถามเพื่อหาข้อสรุปเป็นภาพรวมที่ต้องใช้คำตอบต่อจากคำถาม ขั้นพื้นฐานมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์ก่อน จึงสรุปตอบเป็นภาพรวมได้

คำถามเชิงเปรียบเทียบ

ตัวอย่างคำถาม : จำนวนนักศึกษาในห้องนี้ ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนมากกว่าจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอมใช่หรือไม่

เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด นำมาจัดจำแนก คำนวณ หรือวิเคราะห์เปรียบเทียบกันเพื่อหาข้อสรุป

คำถามเชิงความสัมพันธ์

ตัวอย่างคำถาม จำนวนนักศึกษาในห้องนี ที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติกับจำนวนนักศึกษาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ผอม มีความสัมพันธ์กันหรือไม่

เป็นคำถามที่ต้องใช้คำตอบจากคำถามพื้นฐานอย่างน้อย 2 ชุด เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลนั้น ๆ

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การตั้งคําถามทางสถิติ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนสถิติในระดับชั้น ม.3 ซึ่งน้องๆ

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐

วิดีโอ การตั้งคําถามทางสถิติ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative for Advice

Imperative for Advice: การให้คำแนะนำ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องง่ายๆ อย่าง Imperative for Advice กัน จะง่ายขนาดไหนเราลองไปดูกันเลยครับ

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

สามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณคดีขนาดสั้นที่ว่าด้วยความสามัคคี

สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตขนาดสั้นว่าด้วยเรื่องความสามัคคี เป็นอีกหนึ่งวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ทั้งด้านการประพันธ์และเนื้อหา เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปทำความรู้จักกับวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเพื่อศึกษาที่มา จุดประสงค์ รวมไปถึงเรื่องย่อ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ที่มาของเรื่องและจุดประสงค์ในการแต่ง   สามัคคีเภทคำฉันท์ ดำเนินเรื่องโดยอิงประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี     ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1