ทำความรู้จักกับพญาช้างผู้เสียสละนิทานธรรมะจรรโลงใจ

พญาช้างผู้เสียสละ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งในวิชาภาษาไทยแสนสนุก ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนมาเปลี่ยนบรรยากาศกันด้วยการมาอ่านนิทานชาดกเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างรูปร่างงดงาม ต้องบอกว่าเรื่องราวในนิทานชาดกเรื่องนี้นอกจากจะทำให้น้อง ๆ สนุกไปกับเนื้อเรื่องแล้วก็ยังมอบคติสอนใจให้กับน้อง ๆ ได้ไม่น้อยเลย เพราะฉะนั้นถ้าทุกคนพร้อมแล้วไปเข้าสู่บทเรียนกันเลย

พญาช้างผู้เสียสละ

ภูมิหลังตัวละคร

สำหรับเรื่อง พญาช้างผู้เสียสละ อย่างที่ได้บอกไปว่าเป็นนิทานชาดกที่จัดเป็น 1 ใน 500 ชาติที่พระพุทธเจ้าเคยได้เสวยชาติ ซึ่งชาดกเรื่องนี้จะเล่าถึงพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่ได้ลงมาเกิดเป็นพญาช้างสีลวะ ด้วยความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมีมานานจึงได้เกิดเป็นพญาช้างร่างใหญ่กำยำผิวขาวเผือกผ่อง มีงวงและงาสวยงามและมีบริวารรายล้อม นอกจากนี้ยังได้เล่าถึงพระเทวทัตที่ได้ลงมาเกิดเป็นพรานป่า ซึ่งในอดีตชาติเคยเป็นพระภิกษุที่ติดตามพระพุทธเจ้าแต่ด้วยนิสัยที่เห็นแก่ตัว หยิ่งยโส และกระทำแต่เรื่องไม่สมควรต่อพระพุทธเจ้ามากมายจึงได้ถูกธรณีสูบลงไปชดใช้กรรมในนรกอเวจีทุกชาติ

พญาช้างผู้เสียสละ

เรื่องย่อ

นานมาแล้วมี “ช้างสีลวะ” พญาช้างร่างใหญ่ที่มีผิวขาวผุดผ่อง มีงวงและงาสวยงามอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์อย่างสงบสุข และด้วยเป็นพญาช้างที่ถือศีลทำให้มีบริวารช้างคอยติดตาม จนกระทั่งวันหนึ่งพญาช้างเกิดรู้สึกอยากออกไปใช้ชีวิตเพียงลำพังจึงได้ปลีกตัวออกมาจากโขลง ต่อมามีพรานป่าจากเมืองพาราณสีได้เดินทางมายังป่าหิมพานต์เพื่อเก็บของป่ าและล่าสัตว์ไปเลี้ยงชีพประทังชีวิต พรานป่าได้เดินลัดเลาะมาเรื่อย ๆ แล้วเกิดหลงป่าหาทางกลับออกไปไม่ได้ เดินหาทางอยู่นานจนหมดแรงจึงได้มานั่งร้องไห้คร่ำครวญระหว่างนั้นพญาช้างสีลวะก็เดินผ่านมาแล้วเกิดได้ยินเสียงร้องไห้ของพรานป่าจึงจะเข้าไปถามไถ่ ฝ่ายพรานป่าที่เห็นพญาช้างตัวใหญ่ก็เกิดรู้สึกกลัวและกำลังคิดจะหนี แต่เมื่อมองดูดี ๆ กลับรู้สึกว่าพญาช้างตัวนี้มีลักษณะสวยงามโดดเด่นจึงได้รวบรวมความกล้ายืนรอให้พญาช้างค่อย ๆ เดินเข้ามาหาตน พญาช้างเข้ามาถามพรานว่าเขามาจากที่ไหน และทำไมมานั่งร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในป่านี้ พรานเห็นว่าพญาช้างดูท่าทางใจดีจึงได้ตอบไปว่าเขามาจากเมืองพาราณสีเข้ามาหาของป่าแล้วเกิดหลงทาง พญาช้างที่ได้ฟังก็บอกว่าจะพาเขาออกไปให้พ้นป่านี้ต่อจากนั้นต้องหาทางกลับเมืองเอง เมื่อทั้งสองตกลงกันได้
พญาช้างก็ให้พรานขึ้นมาขี่หลังของตนจากนั้นก็พาเดินลัดป่าเลาะเขาด้วยความชำนาญ จนกระทั่งมาถึงบริเวณชายป่าพญาช้างก็ให้พรานลงจากหลังพร้อมกับบอกให้เขาใช้เส้นทางนี้เพื่อหาทางกลับเมือง ก่อนไปพญาช้างได้ขอให้พรานป่าเก็บเรื่องที่ได้พบกับพญาช้างในวันนี้เป็นความลับ ซึ่งพรานป่าก็รับปาก จากนั้นพญาช้างก็เดินหายลับไปในป่า

ต่อมาเมื่อพรานเดินทางไปถึงเมืองพาราณสีเขาก็ได้เดินไปถามกับคนที่ขายงาช้างว่าอยากได้งาของช้าง  เป็น ๆ ไหม ซึ่งพ่อค้าก็ตอบว่าอยากได้เพราะงาช้างเป็นมีค่ากว่างาช้างตายมาก ถ้าเขาหามาได้จะรับซื้อในราคาที่ดี เมื่อตกลงกันได้แล้วพรานป่าก็รีบกลับมาที่บ้านแล้วเตรียมเลื่อยเหล็กพร้อมเสบียง จากนั้นก็มุ่งหน้าไปยังป่าหิมพานต์ และลัดเลาะไปตามทางที่พญาช้างเคยพาเขามาส่งครั้งก่อน เมื่อมาถึงพญาช้างได้ถามกับพรานป่าว่าทำไมถึงกลับมาที่นี่ เขาจึงตอบว่าครั้งนี้มาหาท่านเพราะต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่มีเงินพอเลี้ยงปากท้องและไม่มีญาติพี่น้องที่ไหน เขาจึงอยากจะขอตัดงาของพญาช้างเพื่อไปขายเลี้ยงชีพ พญาช้างหลังจากที่ได้ฟังก็สงสารจึงยอมเสียสละให้พรานนั้นตัดงาส่วนปลายของตนไปขายเลี้ยงชีพ ก่อนจะให้งาไปพญาช้างก็ได้ยกงาของตนที่ถูกตัดแล้วชูขึ้นฟ้าพร้อมตั้งจิตปรารถนาขอให้ตนนั้นได้บรรลุ “พระสัพพัญญุตญาณ” และได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นก็ยื่นงาของตนให้กับพรานป่าไป หลังจากนั้นพรานก็ได้นำงาของพญาช้างไปขายแต่เงินที่ได้มาเขาก็นำไปใช้หนี้และใช้เลี้ยงชีพได้เพียงไม่นานเท่านั้น ดังนั้นพรานป่าจึงตัดสินใจเดินทางไปหาพญาช้างอีกครั้งและขอตัดงาส่วนตรงกลางเพื่อนำไปขายเลี้ยงชีพอีกซึ่งพญาช้างก็ยอมให้พรานตัดไป ซึ่งเงินที่ได้จากการขายงาครั้งนี้ก็ทำให้เขาใช้ชีวิตสุขสบายได้เพียงชั่วครู่แล้วก็หมดไป พรานป่าจึงได้กลับไปขอตัดงาของพญาช้างส่วนที่เหลือเพื่อนำไปขาย ซึ่งพญาช้างก็เสียสละงาของตนให้ ตัดถึงจะทำให้เจ็บปวดก็ยอมอดทน ส่วนทางฝั่งพรานป่าหลังจากได้งาของพญาช้างไป ระหว่างทางที่จะนำไปขาย แผ่นดินก็แยกออกแล้วสูบเขาลงไปในเปลวไฟแห่งอเวจี เพราะความจริงแล้วเทวดาได้เฝ้าดูพฤติกรรมของพรานป่ามาตลอด และเห็นว่าคนอกตัญญูอย่างเขานั้นให้ครองทั้งแผ่นดินก็คงไม่หายโลภ ส่วนฝ่ายของพญาช้างสีลวะในท้ายที่สุดก็ล้มตายไปเมื่อถึงอายุขัย

พญาช้างผู้เสียสละ

ข้อคิดคติสอนใจ

นิทานธรรมเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้อกตัญญูไม่รู้คุณคน แม้ฟ้าดินก็ลงโทษ” คนอกตัญญูนั้นท้ายที่สุดก็จะพบกับความวิบัติล่มจม  เพราะฟ้าดินจะต้องลงโทษเหมือนอย่างพรานป่าอกตัญญูต่อพญาช้างสีลวะ แล้วต้องพบกับความวิบัติในที่สุด

บทส่งท้าย

จบลงไปแล้วสำหรับเนื้อหาการเรียนในวันนี้ หวังว่าน้อง ๆ ทุกคนที่ได้อ่านนิทานชาดกเรื่องพญาช้างผู้เสียสละ จะได้ข้อคิดคติสอนใจกลับไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวเป็นเด็กดี ถือเป็นนิทานที่สนุกและมีคุณค่าด้านเนื้อหาด้วย และถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากจะฟังครูอุ้มเล่านิทานเรื่องนี้ให้ฟังอีกรอบก็สามารถเข้าไปดูในคลิปที่แนบมาด้านล่างนี้ได้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

มงคลสูตรคำฉันท์ ตัวบท

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในวรรณคดีเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคนกลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยที่น่าสนใจกันอีกเช่นเคย ต่อจากครั้งก่อนที่เราได้เรียนประวัติความเป็นมา เรื่องย่อ และลักษณะคำประพันธ์ของวรรณคดีพระพุทธศาสนาเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนกันต่อในส่วนที่เป็นตัวบทสำคัญ โดยจะยกตัวบทที่มีความน่าสนใจพร้อมกับถอดความมงคลทั้ง 38 ประการว่ามีอะไรบ้าง  ดังนั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็มาเข้าสู่เนื้อหาไปพร้อม ๆ กันเลย     ประวัติความเป็นมา สำหรับประวัติความเป็นมาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์มาจากการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 6 ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจึงได้ถอดความอุดมมงคล 38

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1