การพูดรายงานหน้าชั้น พูดอย่างไรให้ได้ใจผู้ฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดรายงานหน้าชั้น เป็นการแสดงผลงานศึกษาค้นคว้าโดยนำมาบอกเล่า ชี้แจง นำเสนอให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย การพูดรายงานจึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิด บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าหลักในการพูดรายงานหน้าชั้นนั้นมีอะไรบ้าง พูดอย่างไรจึงจะดึงดูดผู้ฟัง รวมไปถึงมารยาทขณะที่ออกไปพูดด้วย จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ

 

หลักการพูดรายงานหน้าชั้น

 

การพูดรายงานหน้าชั้น

 

1. กล่าวทักทายผู้ฟัง แนะนำผู้ร่วมงาน หัวข้อ จุดประสงค์

การทักทายถือเป็นการสร้างความประทับใจแรกให้แก่ผู้ฟัง ไม่ว่าหัวข้อที่เราจะนำมาพูดหน้าชั้นคืออะไร แต่หากเราพูดเนื้อหาขึ้นมาเลยแบบไม่มีปี่ไม่ขลุ่ย ก็อาจจะทำให้ผู้ฟังไม่อยากฟัง หรือคิดว่าการพูดหน้าชั้นของเราเป็นเรื่องน่าเบื่อ ดังนั้นวิธีดึงดูดความสนใจตั้งแต่แรก จึงจำเป็นที่จะต้องทักทายก่อนจะแนะนำตัว ถ้าพูดคนเดียวก็ให้แนะนำตัวเอง แต่หากทำเป็นกลุ่มก็ให้แนะนำเพื่อนร่วมงานทุกคน พูดหัวข้อที่จะมาพูดให้ทุกคนฟัง รวมไปถึงจุดประสงค์เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นการเกริ่นนำก่อนเข้าสู่เนื้อหา

2. ออกเสียงดังฟังชัดขณะพูด

ลักษณะของอ่านออกเสียงให้ดี ทำได้ดังนี้

  • -อ่านเนื้อหาที่จะพูดทั้งหมดก่อนพูดจริง
  • -ฝึกพูดออกเสียงให้ตรงตามอักขรวิธี
  • -ใช้น้ำเสียงให้เหมาะสมกับเนื้อหา
  • -เว้นวรรคตอนให้เหมาะสม ไม่พูดติดกันเกินไป หรือเว้นวรรคนานเกินไปจนดูติดขัด
  • -ไม่พูดเสียงเบา แสดงถึงความไม่มั่นใจ

3. รายงานตามลำดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

การลำดับเนื้อหาในการพูดให้สัมพันธ์กันจะช่วยเพิ่มความน่าติดตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสิ่งที่นำมารายงานหน้าชั้นมีเนื้อหาที่ยาว ถ้าหากเราไม่จัดลำดับเนื้อหาให้สัมพันธ์กันก็จะสร้างความสับสนให้กับผู้ฟัง จนไม่สามารถจับต้นชนปลายได้

 

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียน

 

4. มีบุคลิกภาพที่ดี ยืนนั่งสำรวม

เมื่อต้องออกไปพูดหน้าชั้นเรียนต่อหน้าเพื่อน ๆ อาจทำให้หลายคนรู้สึกประหม่าและตื่นเต้นเกินกว่าจะอยู่นิ่ง ๆ ได้ซึ่งการเป็นแบบนั้นนอกจากจะไม่สำรวมแล้วยังทำให้ผู้พูดเสียบุคลิกอีกด้วย

5.รักษาเวลาในการพูด

การรักษาเวลาในการพูดเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคนรอพูดต่อจากเราอยู่ หากเราใช้เวลานานเกิน ก็จะทำให้ผู้อื่นต้องเสียเวลาไปด้วย

6.พูดจบเปิดโอกาสให้ผู้อื่นซักถาม

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียนที่ดีควรจะเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ซักถามด้วย เพราะเรื่องที่เรานำมาพูด เป็นเรื่องที่เราศึกษาค้นคว้ามา ดังนั้นอาจจะมีหลายจุดที่ทำให้เพื่อนสงสัยและไม่เข้าใจ ผู้พูดจึงต้องเตรียมตัวตอบคำถามเรื่องนั้น ๆ ให้ทุกคนเข้าใจตรงกันด้วย

7.กล่าวขอบคุณเมื่อได้รับคำชม

การกล่าวขอบคุณเป็นมารยาทขั้นพื้นฐานและเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทย ไม่ว่าคำชมนั้นจะมาจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนรุ่นเดียวกัน เราควรจะขอบคุณเมื่อได้รับคำชม หรือคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับใช้ในการรายงานหน้าชั้นเรียนครั้งถัดไป

 

มารยาทในการพูดรายงานหน้าชั้น

 

ไม่เพียงแต่รู้หลักในการพูด แต่สิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมากที่ผู้พูดทุกคนจะต้องมีก็คือมารยาทในการพูด เพราะจะเป็นการเสริมสร้างบุคลิกให้ผู้พูดและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ฟังขณะที่เรากำลังพูดหน้าชั้นเรียนอีกด้วย

 

การพูดรายงานหน้าชั้น

 

1.ใช้ภาษาที่สุภาพเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

ถึงแม้ว่าผู้ฟังในการรายงานหน้าชั้นเรียนจะมีเพื่อนร่วมห้องเป็นส่วนมาก แต่ก็ควรคำนึงถึงครูประจำวิชาหรือในกรณีที่มีผู้ใหญ่เข้ามารับฟังการนำเสนอด้วย ดังนั้นภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาที่สุภาพ ไม่เป็นกันเองเหมือนพูดกับเพื่อนเล่น ๆ มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อหาที่พูดนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือ

2. ไม่ควรพูดเรื่องส่วนตัวของตนเอง และไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาพูด

การพูดรายงานหน้าชั้นเรียน เป็นนำเสนอความรู้ นอกจากการทักทาย แนะนำตัว และเนื้อหาแล้วก็ไม่ควรเอาเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องมาพูด เพราะนอกจากจะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาแล้ว ยังทำให้เสียเวลาอีกด้วย รวมไปถึงเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง เพราะเป็นการเสียมารยาทต่อผู้ที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะ หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การพูดรายงานหน้าชั้น กันไปแล้ว หวังว่าบทเรียนนี้จะช่วยให้การพูดรายการหน้าชั้นเรียนครั้งถัด ๆ ไปของน้อง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ได้คะแนนกันเยอะ ๆ ทุกคนเลยนะคะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปชมคลิปการสอนของครูอุ้มย้อนหลังเพื่อทบทวนบทเรียน จะได้เข้าใจกันยิ่งขึ้นค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม

 ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม ฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม จะเกี่ยวข้องกับมุมที่มีหน่วยเป็นองศา (degree) และมุมที่มัหน่วยเป็นเรเดียน (radian) ในบทความนี้จะกล่าวถึงมุมทั้งหน่วยองศาและเรเดียน มุมฉาก การเปลี่ยนหน่วยของมุม สมบัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ และสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่เนื้อหา พี่อยากให้น้องๆได้รู้พื้นฐานเกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติเพื่อที่จะได้เข้าใจเนื้อหาในบทความนี้มากขึ้น การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ หลังจากที่ไปทบทวนความรู้มาแล้วเรามาเริ่มเนื้อหาใหม่กันเลยค่ะ หน่วยของมุม 1.) องศา (degree) คือหน่วยของมุมในระนาบ 2 มิติ โดยที่

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

การออกเสียงพยัญชนะไทย-01

เสียงพยัญชนะไทย ออกเสียงอย่างไรให้ถูกต้อง

  เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคงเคยสงสัยเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทยกันไม่มากก็น้อย เพราะพยัญชนะในภาษาไทยของเรานั้นมีด้วยกัน 44 ตัว แต่กลับมีหน่วยเสียงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ทำไมการออกเสียงพยัญชนะไทยถึงไม่สามารถออกเสียงตามรูปอักษรทั้ง 44 รูปได้? ไหนจะพยัญชนะท้ายที่เขียนอีกอย่างแต่ดันออกเสียงไปอีกอย่าง บทเรียนในวันนี้จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับน้อง ๆ หรือคนที่กำลังสับสนเรื่องการออกเสียงพยัญชนะไทย ให้กระจ่างและสามารถออกเสียงได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงพยัญชนะไทย เสียงพยัญชนะ คือ

การบรรยายตนเอง + Present Simple

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการบอกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวเราในภาษาอังกฤษกันค่ะ ได้แก่ “ การบรรยายตนเอง + Present Simple “ พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัวกันค่ะ ไปลุยกันเลย   ทบทวน Present Simple Tense     ความหมาย: Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1