เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ

 

การสรรคำ

 

การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่กวีเลือกสรรคำมาใช้ในการแต่งกวีนิพนธ์ ผู้แต่งมักสรรคำต่าง ๆ มาเรียงร้อยให้เกิดความไพเราะ ให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพและเกิดความรู้สึกคล้อยตา สามารถทำได้ดังนี้

 

1. เลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

2. เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล

3. เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับคำประพันธ์ บางคำสามารถใช้ได้ทั้งในร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่ก็จะมีบางคำที่ไม่เหมาะกับการนำมาเขียนแบบร้อยแก้ว ส่วนมากจะเป็นคำที่ยากเกินไป บทร้อยแก้วไม่มีกำหนดสัมผัสเหมือนร้อยกรอง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำยากเกินความจำเป็น

 

กลวิธีการสรรคำ

 

การสรรคำ

 

1. การเล่นคำ คือ การนำคำที่มีรูปหรือเสียงพ้องกันหรือใกล้เคียงกันมาเล่น มีหลายวิธี เช่น การเล่นคำพ้อง การเล่นคำหลายความหมาย เป็นต้น

  • คำพ้องเสียง ในบทประพันธ์หลายเรื่อง มักใช้การคำพ้องเสียงที่ออกเสียงเหมือนแต่คนละความหมาย ดังตัวอย่างในบทละครเรื่อง รามเกียรติ์ ที่มีการเล่นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน “เบญจวรรณจับวัลย์มาลี   เหมือนวันเจ้าวอนพี่ให้ตามกวาง” วรรณ วัลย์ และวัน ออกเสียงว่า วัน เหมือนกัน
  • คำพ้องรูป เป็นการเล่นคำที่ใช้คำที่เขียนเหมือนกัน แต่มีความหมายแตกต่างกันให้มาอยู่ในวรรคเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่มีการใช้คำว่า รอ ใน 3 ความหมายแต่อ่านออกเสียงเหมือนกัน “เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง” รอ คำแรก คือ หลักปักกั้นกระแสน้ำ ส่วน รอรา คือหยุด และในคำว่า รอท่า หมายถึง คอย

2. การซ้ำคำ คือ การนำคำคำเดียวมาซ้ำในที่ใกล้กัน เพื่อย้ำความหมาย

 

การสรรคำ

 

3. นาฏการ คือ การใช้คำที่แสดงการเคลื่อนไหวที่สวยงาม

 

 

4. คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน

 

 

ในบทประพันธ์นี้มีคำไวพจน์คือคำว่า แก้วตา เยาวมาลย์ นฤมล หมายถึง ผู้หญิง ส่วนคำว่า ดำริ ตริ หมายถึง คิด

 

นอกจากจะทำให้บทประพันธ์นั้นมีความไพเราะยิ่งขึ้นแล้ว การสรรคำยังเหมือนเป็นเครื่องแสดงถึงคลังความรู้ของผู้แต่งอีกด้วยค่ะ ผู้แต่งที่แต่งวรรณคดีดัง ๆ หลายเรื่องจึงเลือกใช้คำที่สวยงามและไพเราะเพื่อให้เห็นว่ามีคลังคำศัพท์มากมายให้หัว สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถดูคลิปการสอนของครู้อุ้มย้อนหลังเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสรรคำให้มากขึ้นได้ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

การหารทศนิยมในระดับชั้นป.5

บทความนี้จะกล่าวถึงหลักการหารทศนิยม 2 รูปแบบก็คือ การหารทศนิยมด้วยจำนวนเต็ม และการหารทศนิยมด้วยทศนิยม หลังจากที่น้องๆ ได้อ่านบทความนี้แล้ว รับรองว่าจะทำให้เข้าใจการหารทศนิยมได้มากขึ้นและสามารถนำวิธีคิดไปแก้โจทย์การหารทศนิยมได้

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

Present Cont

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย การใช้ Present Continuous Tense     อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1