วิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกแยะ 3 วิธีที่จะช่วยให้เราฟังเพื่อจับใจความได้อย่างดี

ฟังเพื่อจับใจความ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทนำ

สวัสดีน้อง ๆ ทุกคน สำหรับเนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยวันนี้ต้องขอบอกเลยว่าสนุก และไม่หนักจนเกินไป เพราะเป็นเรื่องของทักษะการฟังเพื่อจับใจความที่เราสามารถฝึกฝน เรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการเรียน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้ โดยวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าการฟังเพื่อจับใจความมันคืออะไร แตกต่างไปจากการฟังแบบทั่วไปอย่างไร แล้วลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง ถ้าทุกคนพร้อมแล้วอย่ารอช้าเรามาเริ่มต้นเข้าสู่เนื้อหาในวันนี้กันเลยดีกว่า

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

กระบวนการในการฟังของมนุษย์

การฟังเป็นกระบวนการรับสารของมนุษย์อีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร มนุษย์ใช้กระบวนการรับรู้เสียงต่าง ๆ ผ่านหู และใช้สมองในการแปลความหมาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้อยู่หลัก ๆ  5  ขั้นคือ

1) ขั้นได้ยิน คือ ได้ยินเสียงต่าง ๆ ผ่านการฟังด้วยหู

2) ขั้นรับรู้ คือ รับรู้ได้ว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร

3) ขั้นตีความ แยกแยะ คือ ให้เราตีความว่าสิ่งที่เราฟังเป็นสารอะไร มาจากที่ไหน ต้องการจะบอกอะไรเรา แยกแยะให้ได้ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน แล้วเราควรตอบสนองกลับไปไหม

4) ขั้นเข้าใจ คือ ขั้นตอนที่เกิดหลังจากการตีความ ผู้ฟังจะเข้าใจว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร สารที่ได้ฟังนั้นมีใจความสำคัญว่าอย่างไร

5) ขั้นตอบสนอง คือ หลังจากที่ได้พินิจพิจารณา ไตร่ตรองว่าเสียง หรือสารที่รับมามีแหล่งที่มาจากไหน น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดแล้ว สมองจะสั่งการให้เราตอบสนองไม่ว่าจะด้วยการพูด หรือเป็นภาษาทางร่างกาย

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

การฟังเพื่อจับใจความ คืออะไร

การฟังเพื่อจับใจความเป็นการฟังในขั้นที่ 3 ของกระบวนการฟัง เป็นการจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่เราฟังว่าผู้พูด หรือสารที่ถูกส่งมานั้นต้องการจะบอกอะไรกับเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้ทักษะการฟังเพื่อจับใจความถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราได้รับสารจากหลายทาง และมีหลากหลายรูปแบบ เราอาจจะได้ใช้ทักษะนี้ในการฟังครูสอนในห้อง ฟังข่าวในโทรทัศน์ หรือแม้แต่การสนทนากับเพื่อนก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ทักษะนี้เพื่อให้เราได้เนื้อหาสาระสำคัญโดยไม่ต้องจดจำให้ยืดยาว เก็บเพียงแค่แก่นสำคัญของเรื่องนั้นไว้ก็พอ เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่าลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความมีอะไรบ้าง

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

ลักษณะของการฟังเพื่อจับใจความ

สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังสงสัยว่าการที่เราจะฟังแล้วจับใจความสำคัญได้ต้องทำอย่างไร การฟังแบบนี้มีลักษณะแบบไหน เราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน โดยหลัก ๆ แล้วการฟังเพื่อจับใจความจะมีลักษณะสำคัญอยู่ทั้งหมด 3 ข้อ

1.การวิเคราะห์

คือ การแยกประเด็นนั้นออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เราเข้าใจองค์ประกอบ หรือรายละเอียดของสารที่ได้ฟัง ใช้การพินิจพิเคราะห์จนเข้าใจในเนื้อหาที่ฟังยกตัวอย่างเช่น การจำแนกส่วนประกอบของก๋วยเตี๋ยว หรือการแยกแยะองค์ประกอบของนิทานหนึ่งเรื่องว่ามีอะไรบ้าง

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

2. การสังเคราะห์

คือ การขมวดรวมเนื้อหาสาระให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน หรือหมวดหมู่ที่คล้ายคลึงกัน ทำให้เนื้อหานั้นกระชับ และครอบคลุม เข้าใจง่าย โดยใช้การสังเกตส่วนที่ชุดข้อมูลนั้นมีร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น การจัดหมวดหมู่สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

3. การแยกแยะข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น

สำหรับลักษณะข้อต่อมาคือ การแยกแยะให้ได้ว่าสารที่ฟังนั้นเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น เพราะมันจะส่งผลต่อ
ความรู้สึกเชื่อถือ หรือคล้อยตามไปกับสิ่งที่ฟังด้วย เราอาจจะเห็นมากในการฟังสารประเภทข่าว หรือโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเราจะสังเกตว่าข้อคิดเห็นมักจะใส่อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวลงไป ส่วนข้อเท็จจริงจะต้องมีการพิสูจน์ มีเหตุมีผลที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น

 

การฟังเพื่อจับใจความ

 

บทส่งท้าย

การฟังถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นทักษะเริ่มต้นในทุกภาษา และต้องใช้ในทุกสถานการณ์ ถ้าน้อง ๆ อยากรับฟังสารที่ดี มีความน่าเชื่อถือ ได้สาระสำคัญ การฟังเพื่อจับใจความจึงเป็นสิ่งที่เราต้องฝึกฝน เพียงแค่เริ่มจากการลองแยกแยะเรื่องที่ฟัง ไม่ว่าเป็นสารที่มาจากการสนทนา หรือสารที่เรารับฟังจากสื่อต่าง ๆ  ยิ่งเราเรียนในระดับที่สูงขึ้น เราก็จะได้ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตีความสารที่ฟังในเชิงลึกขึ้นด้วย ดังนั้น หวังว่าน้อง ๆ จะได้ประโยชน์จากเนื้อหาที่เรียนในวันนี้ และอย่าลืมว่าก่อนจะรับสารอะไรมาต้องผ่านการวิเคราะห์ตีความให้ดีก่อนที่จะเชื่อ เพื่อให้น้อง ๆ ได้รับประโยชน์จากเนื้อหานั้นอย่างแท้จริง

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล

การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากทางสถิติ เพื่อใช้ในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยข้อมูลที่ได้มีหลากหลายรูปแบบ อาจจะเป็นตัวเลข ข้อความ หรือรูปภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ตอบสนองวัตถุประสงค์หรือเป็นเรื่องที่เราสนใจ โดยสามารถจำแนกข้อมูลได้ตามลักษณะและแหล่งที่มาของข้อมูล ได้แก่ จำแนกตามลักษณะของข้อมูล แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) คือ ข้อมูลที่วัดค่าได้ แสดงเป็นตัวเลข ซึ่งสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรง เช่น จำนวนบุตรในครอบครัว,

กราฟของความสัมพันธ์

กราฟของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ r คือเซตของจุดในระนาบx, y โดยที่แต่ละจุดคือสมาชิกของความสัมพันธ์ r นั่นเอง อธิบายให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อเราได้เซตของความสัมพันธ์ r ที่มีสมาชิกในเซตคือคู่อันดับแล้ว เราก็นำคู่อันดับแต่ละคู่มาเขียนกราฟนั่นเอง เช่น r = {(1, 1), (1, 2), (2, 2), (3, 4)} นำมาเขียนกราฟของความสัมพันธ์

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

เรนจ์ของความสัมพันธ์

เรนจ์ของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหลัง เช่น = {(2, 2), (3, 5), (8, 10)} จะได้ว่า  = {2, 5,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1