วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การพัฒนาและแสดงความคิด

 

มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

 

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า

 

วิธีคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า

 

การวิเคราะห์

 

การวิเคราะห์ คือ การจำแนกแยกแยะสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วค้นหาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

 

ขั้นตอนวิเคราะห์

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า

 

ขั้นตอนของวิธีคิดเชิงวิเคราะห์สามสรุปได้ดังนี้

การกำหนดขอบเขตหรือนิยามสิ่งที่จะวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าเราจะวิเคราะห์สิ่งไหนหรือเรื่องอะไร ต่อจากนั้นให้เรากำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่าจะวิเคราะห์เพื่ออะไร การกำหนดจุดมุ่งหมายนี้จะช่วยให้เรารู้เป้าหมายและสามารถวิเคราะห์จนบรรลุเป้าหมายนั้นได้ ต่อมาสิ่งที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์คือความรู้ที่เราจะใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาแยกแยะ  โดยกระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็นส่วนย่อยๆ  โดยอาจใช้หลัก  5W 1H  ประกอบด้วย What (อะไร) Where (ที่ไหน) When (เมื่อไร) Why (ทำไม) Who (ใคร) และ How (อย่างไร) จากนั้นสรุปผลวิเคราะห์ออกมา

 

การสังเคราะห์

 

การสังเคราะห์ คือ การดึงองค์ประกอบต่าง ๆ มาหลอมรวมกันภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากเดิม การคิดสังเคราะห์ครอบคลุมถึงการค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะคิดซึ่งมีมากหรือกระจายกันอยู่มาหลอมรวมกัน คนที่คิดสังเคราะห์ได้เร็วกว่าย่อมได้เปรียบกว่าคนที่สังเคราะห์ไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจและเห็นภาพรวมของสิ่งนั้นได้มากกว่า

 

ขั้นตอนการสังเคราะห์

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของสิ่งใหม่ที่ต้องการสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้น
2. หาความรู้เกี่ยวกับหลักการ เพื่อศึกษาส่วนประกอบหรือวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. เลือกและนำข้อมูลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์มาจัดทำกรอบแนวคิดสำหรับสร้างสิ่งใหม่
4. สร้างสิ่งใหม่ตามวัตถุประสงค์และกรอบแนวคิดที่กำหนดโดยการผสมผสานส่วนประกอบ/ข้อมูลที่เลือกรวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
5. ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม ปรับปรุงแก้ไข และนำไปใช้ประโยชน์

 

 

การสังเคราะห์แตกต่างจากการวิเคราะห์อย่างไร

การวิเคราะห์และสังเคราะห์นั้นแตกต่างกัน เพราะการวิเคราะห์จะจำแนกแยกแยะออกมาเพื่อค้นหาองค์ประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น แต่การสังเคราะห์จะดึงองค์ประกอบต่าง ๆ นั้นมารวมกันให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากเดิม

 

การประเมินค่า

 

ประเมินค่า หมายถึง การใช้ดุลพินิจตัดสินคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร เป็นคุณหรือโทษ มีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์

 

ขั้นตอนการประเมินค่า

 

 

ตัวอย่างการประเมินค่า

การประเมินค่าวรรณคดีนิราศภูเขาทองของสุนทรภู่ โดยประเมินค่าด้านภาษา สิ่งแรกคือการทำความเข้าใจเกี่ยวกับนิราศภูเขาทองทั้งหมดว่ามีที่มาอย่างไร เรื่องย่อเป็นอย่างไร ศึกษาตัวบทเด่น ๆ จากนั้นนำคำประพันธ์มาพิจารณาคุณด้านวรรณศิลป์ โดยอาจใช้กวีโวหาร(รสทางวรรณคดี)มาเป็นเกณฑ์ว่าวรรณคดีมีกวีโวหาร(รสทางวรรณคดี)อย่างไรบ้าง หรือหาว่ามีการใช้โวหารชนิดใดบ้าง เพียงเท่านี้ก็จะสามารถประเมินค่าบทประพันธ์ด้านภาษาได้แล้วค่ะ

 

การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า เป็นการคิดขั้นสูงที่มีขั้นตอนในการคิดเพื่อสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจตรงกันอย่างแจ้มแจ้ง วิธีคิดเหล่านั้นมีประโยชน์อย่างมากหากน้อง ๆ นำไปประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตประจำวันของเรา สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าได้อย่างชัดเจนมากขึ้นก็สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนกันได้เลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

การคูณเศษส่วนและจํานวนคละ

บทความนี้จะพาน้อง ๆมารู้จักกับการคูณเศษส่วนและจำนวนคละ รวมถึงเทคนิคการคูณเศษส่วนและจำนวนคละที่ถูกต้องและรวดเร็ว หลังจากอ่านบทความนี้จบสิ่งที่จะได้รับก็คือหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละประเภทต่าง ๆ การตัดทอนเศษส่วนจำนวนคละและตัวอย่างการคูณเศษส่วนจำนวนคละที่เข้าใจง่ายและเห็นภาพ สามารถนำไปใช้ได้จริงในห้องเรียน

Passive Voice ในปัจจุบัน

Passive Voice ในรูปปัจจุบัน

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมาย   Passive Voice (แพ็ซซิฝ ว็อยซ) หมายถึงประโยคที่เน้นกรรม โดยการนำโครงสร้างผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค และหากว่าต้องการเน้นผู้กระทำให้เติม  “by + ผู้กระทำ” ท้ายประโยค แต่ว่าเราสามารถละ by ไว้ได้น๊า ในบทนี้เราจะไปดูรูปประโยคในปัจจุบันกันจร้า

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

ส่วนต่างๆ ของวงกลม

ส่วนต่างๆ ของวงกลม ก่อนที่เราจะมารู้จักส่วนต่างๆ ของวงกลม เรามาเริ่มรู้จักวงกลมกันก่อน จากคำนิยามของวงกลมที่กล่าวว่า “วงกลมเกิดจากชุดของจุดที่มาเรียงต่อกันบนระนาบเดียวกัน โดยทุกจุดอยู่ห่างจากจุดจุดหนึ่งซึ่งเป็นจุดคงที่ในระยะทางที่เท่ากันทุกจุด”   โดยเรียกจุดคงที่นี้ว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม เรียกระยะทางที่เท่ากันนี้ว่า รัศมีของวงกลม       วงกลม คือ รูปทรงเรขาคณิตที่มีสองมิติเเละจะมีมุมภายในของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เราจะเห็นสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอยู่รอบ ๆ ตัวเราอยู่เยอะเเยะมากมาย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1