ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ

 

ความหมายของคำราชาศัพท์

 

 

คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้

1. พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินี

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3.พระภิกษุสงฆ์

4. ข้าราชการ

5. สุภาพชน

ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เราจะต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยคือ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะมีหลักการใช้และคำศัพท์ที่ต่างกันออกไป

 

คำราชาศัพท์ : ที่มาและความสำคัญ

 

แม้ไม่มีระบุแน่ชัดว่าคำราชาศัพท์เกิดขึ้นครั้งแรกในปีใด แต่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าคำราชาศัพท์มีใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรและบาลีสันสกฤต อย่างคำว่า เสวย ทรง ถวาย ราชย์ พระธาตุ ฯลฯ

 

ความสำคัญของคำราชาศัพท์

1. ทำให้ใช้ภาษาเป็น ระดับของภาษามีหลายระดับ ทุกคนจึงจำเป็นต้องรู้ระดับของภาษาและเลือกใช้คำพูดให้ถูกต้อง เหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ

2. ทำให้รู้จักมารยาทสังคม ประเทศไทยอาจไม่ได้แบ่งชนชั้นวรรณะ แต่ก็มีลำดับขั้น มีบุคคลที่ควรจะให้เกียรติเนื่องจากทำคุณงามความดีให้ประเทศชาติ หากผู้ฟังมีสถานะทางสังคมที่สูงกว่าแล้วเราใช้คำพูดผิดก็อาจจะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟังได้

3.เข้าใจลักษณะสังคมไทย การที่ภาษามีหลายระดับ ทำให้เราเห็นวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชาติ รวมถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

 

คำราชาศัพท์ หมวดร่างกาย

 

คำราชาศัพท์

 

พระพักตร์ หมายถึง หน้า

พระปราง หมายถึง แก้ม

พระนลาฏ,ลลาฏ หมายถึง หน้าผาก

พระเนตร/พระจักษุ หมายถึง ดวงตา

พระนาสิก หมายถึง จมูก

พระขนง หมายถึง คิ้ว

พระกรรณ หมายถึง หู

พระศอ หมายถึง คอ

พระเศียร หมายถึง ศีรษะ

พระหนุ หมายถึง คาง

พระโอษฐ์ หมายถึง ปาก

พระทนต์ หมายถึง ฟัน

 

คำราชาศัพท์

 

พระหัตถ์ หมายถึง มือ

พระพาหา หมายถึง แขน

พระองคุลี, นิ้วพระหัตถ์ หมายถึง นิ้วมือ

พระอังคุฐ หมายถึง นิ้วโป้ง

พระดัชนี หมายถึง นิ้วชี้

พระมัชฌิมา หมายถึง นิ้วกลาง

พระอนามิกา หมายถึง นิ้วนาง

พระกนิษฐา หมายถึง นิ้วก้อย

 

คำราชาศัพท์

 

พระองค์ หมายถึง ร่างกาย

พระอังสา หมายถึง บ่า, ไหล่

พระอุทร หมายถึง ท้อง

พระนาภี หมายถึง สะดือ

พระถัน หมายถึง เต้านม

พระฉวี หมายถึง ผิวหนัง

 

สรุป

ภาษาไทยเป็นเครื่องบ่งบอกวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศชาติ ดังนั้น แม้ว่าคำราชาศัพท์จะไม่ใช่คำทั่วไปที่เราใช้พูดกับเพื่อนหรือคุณครู แต่เด็ก ๆ ทุกคนก็ควรเรียนรู้ไว้ในฐานะคนไทย สุดท้ายนี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทบทวนบทเรียนและทำแบบฝึกหัดได้แบบสบาย ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มนะคะ

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

01NokAcademy_Question Tag Profile

การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags (ปัจจุบัน)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้โครงสร้างประโยค Question Tags ในรูปแบบปัจจุบัน โดยที่เราจะเจอกลุ่มประโยคในลักษณะนี้ร่วมกับรูปแบบโครงสร้างประโยคและกริยาที่เป็นปัจจุบัน (V. 1 and Present form) พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยค่า ความหมายของ Question Tags   Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

บทความนี้ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ไว้หลากหลายตัวอย่าง ซึ่งแสดงวิธีคิดอย่างละเอียด สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ง่าย แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐ ในการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะต้องใช้สัญลักษณ์ของอสมการแทนคำเหล่านี้ <   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่า หรือไม่ถึง >   แทนความสัมพันธ์มากกว่า หรือเกิน ≤   แทนความสัมพันธ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ หรือไม่เกิน ≥  แทนความสัมพันธ์มากกว่าหรือเท่ากับ

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

NokAcademy_ม5 Relative Clause

การเรียนเรื่อง Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

กาพย์พระไชยสุริยา ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในเรื่อง

กาพย์พระไชยสุริยา   กาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่า เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาก หลังจากที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องกันไปแล้ว เรื่องต่อไปที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้ก็คือตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจในเรื่องกาพย์พระไชยสุริยาค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่าในกาพย์พระไชยสุริยาจะมีตัวบทไหนเด่น ๆ และมีคุณค่าอย่างไรบ้าง   ตัวบทที่น่าสนใจในกาพย์พระไชยสุริยา   ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์สุรางคนางค์ 28  

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1