คติธรรมในสำนวนไทย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง

 

สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม

 

สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย อาจใส่สัมผัสหรือเล่นคำให้สละสลวย

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ตัวอย่าง คติธรรมในสำนวนไทย

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ที่มา :

น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า มาจากน้ำในแม่น้ำลำคลอง เมื่อมีเรือขึ้นล่องดิน ที่ท้องน้ำจะไม่ตกตะกอน ทำให้ไม่ตื้นเขิน เช่นเดียวกันกับเสือที่อยู่ในป่าได้ก็เพราะป่าเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหาร

คติธรรม :

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เป็นสำนวนที่สอดแทรกคติธรรมเกี่ยวกับการมีมิตรไมตรีและน้ำใจที่ดีต่อกัน จึงยกลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น

 

คติธรรมในสำนวนไทย

 

ที่มา :

สำนวนปิดทองหลังพระเป็นการเปรียบเปรยถึงการปิดทองที่ด้านหลังของพระพุทธรูป ที่คนส่วนใหญ่มักมองเพียงด้านหน้าขององค์พระ

คติธรรม :

การปิดทองหลังพระเป็นสำนวนที่สอดแทรกเรื่องของทำความดีหรือการให้โดยไม่ต้องหวังสิ่งตอบแทน เหมือนกับการปิดทองหลังพระ ที่ไม่ว่าจะติดด้านไหนก็เท่ากับเป็นการทำบุญเหมือนกันโดยไม่ต้องป่าวประกาศ ทำให้คนเห็นว่าการทำความดีนั้น ไม่ว่าจะมีคนเห็นหรือไม่แต่ก็ยังถือว่าเป็นการทำความดีเหมือนกัน

 

 

ที่มา :

สำนวนอย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน เป็นสำนวนที่มีความหมายตัวตรงจากการนำทางที่เราอาจไม่ได้รู้จักดีมาเปรียบเทียบกับคนว่าเราไม่ควรจะไว้ใจใครหรืออะไรง่าย ๆ

คติธรรม :

ความไม่ประมาท คือคติธรรมที่สำนวนอย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนได้สอดแทรกไว้

 

สำนวนไทยเป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่มีคุณค่า มุ่งเน้นสอนให้รู้จักน้อมนำธรรมชาติและสรรพสิ่งรอบตัวมาขัดเกลาพฤติกรรมของคนในสังคมได้อย่างดีเยี่ยม หวังว่าบทเรียนในวันนี้จะทำให้น้อง ๆ ได้คติธรรมสอนใจเพิ่มขึ้นนะคะ และอย่าลืมชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อทบทวนบทเรียนและฟังคำอธิบายเกี่ยวกับสำนวน รับรองว่าได้ทั้งความเพลิดเพลินและความรู้เลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

เรขาคณิตสามมิติ

เรขาคณิตสามมิติ

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้กับรูปเรขาคณิตสามมิติและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

รากที่สอง

รากที่สอง

การหารากที่สองของจำนวนจริงทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการคำนวณ นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นที่สูงกว่านี้ สำหรับในชั้นนี้ นักเรียนอาจใช้การแยกตัวประกอบ การประมาณ การเปิดตาราง

M4 Past Passive

Past Passive in English

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.4 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice

past tense

Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1