การเขียนบรรยาย อธิบาย พรรณนา เรียนรู้ 3 การเขียนที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

การเขียนบรรยาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทักษะการเขียนอธิบาย การเขียนบรรยาย และการเขียนพรรณนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณในการอยากรู้และหาคำตอบ ดังนั้นเราจึงไม่อาจเลี่ยงตอบคำถามใครได้ ดังนั้นการตอบคำถามหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น บทเรียนวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการเขียนทั้งสามแบบว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียน

 

การเขียนอธิบาย

 

การเขียนอธิบาย หมายถึง การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น มีกลวิธีการเขียนดังนี้

กลวิธีการเขียนอธิบาย

1. การอธิบายตามลำดับขั้น เป็นอธิบายไปทีละขั้นตอน ใช้ในการเขียนอธิบายถึงกิจกรรมหรือวิธีทำบางสิ่งบางอย่าง

 

 

2. การใช้ตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้จะเหมาะกับการเขียนเพื่ออธิบายหลักการ วิธีการ หรือข้อความบางอย่างที่เข้าใจยาก มีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนจึงต้องเขียนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

 

3. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน เหมาะกับการใช้อธิบายสิ่งที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือสิ่งแปลกใหม่ โดยนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคยอยู่แล้วว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตัวอย่าง

“ลูกอมนี้รสชาติเปรี้ยวเหมือนกินมะนาวเข้าไปทั้งลูก” การอธิบายเช่นนี้เพื่อให้ผู้ฟังที่อาจจะยังไม่เคยกิน เข้าใจถึงรสชาติของลูกอมอย่างคร่าว ๆ ว่ามีรสชาติเปรี้ยวมาก

 

4.การชี้สาหตุและผลลัพธ์สัมพันธ์กัน เหมาะกับการใช้เขียนอธิบายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผล โดยอาจจะเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์ หรือเขียนจากผลลัพธ์ไปสู่สาเหตุ

ตัวอย่าง

“การปอกมะปรางริ้วเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมะปรางเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มมาก ถ้าจับหนักมือก็จะทำให้ช้ำ”

 

5. การให้นิยาม เหมาะกับการอธิบายศัพท์ยาก หรือคำศัพท์ที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

 

การเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันโดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาที่เขียนบรรยายอาจมาจากเรื่องจริงเช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมติ เช่น นิทาน นิยาย

 

กลวิธีการเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย

 

1. การเลือกหัวข้อ เนื้อหาและความคิดรวบยอด ในการเขียนบรรยายควรเลือกหัวข้อ เนื้อหา และความคิดรวบยอดที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ความบันเทิง และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา

2. การจัดเนื้อหา

– การเขียนบรรยายจะมีเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้หลัก 5W1H เพื่อดำเนินเรื่องว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

– เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญมาบรรยายเพื่อไม่ให้การบรรยายนั้นยืดยาวและน่าเบื่อ

– เรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อไม่ให้สับสน

– เรียงเหตุการณ์ไม่ให้สับสน

3. การเสนอบทบรรยาย

– แทรกบทพรรณนา เพื่อให้การบรรยายมีชีวิตจิตใจ

– ขมวดเป็นคำถาม คลี่คลายเป็นคำตอบเพื่อให้น่าสนใจ

– ผูกเป็นบทสนทนา แทนที่จะบรรยายอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจ

– นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร

 

การเขียนพรรณนา

 

การเขียนพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยยกการพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ

กลวิธีการเขียนพรรณนา

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนา เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าสิ่งที่พรรณนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำมารวมให้เป็นภาพหรืออารมณ์เดียวกัน

3. พรรณนาโดยเน้นลักษณะเด่น เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบทันทีว่าเป็นภาพอะไรหรืออารมณ์ใดแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะประกอบด้วย เพื่อให้ได้ภาพหรืออารมณ์ที่ครบถ้วน

4. เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรืออารมณ์สะเทือนใจ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ที่เหมาะสม

 

การเขียนบรรยาย กับ การเขียนพรรณนาต่างกันอย่างไร

 

การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนการพรรณนาเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด

 

การเขียนบรรยาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอธิบาย บรรยาย หรือพรรณนา ผู้เขียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องที่จะเขียน เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็จะสามารถเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับตัวเองได้แล้วค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการเขียนทั้ง 3 แบบมากขึ้น น้อง ๆ ก็สามารถเข้าไปรับชมการสอนของครูอุ้มได้ตามคลิปด้านล่างนี้เพื่อทบทวนบทเรียนค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การเลื่อนขนาน

สำหรับการแปลงทางเรขาคณิตในบทนี้จะกล่าวถึงการแปลงที่จะได้ภาพที่มีรูปร่างเหมือนกันและขนาดเดียวกันกับรูปต้นแบบเสมอ โดยใช้การเลื่อนขนาน

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

NokAcademy_ม5 Relative Clause

การเรียนเรื่อง Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

นิราศภูเขาทอง ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่

นิราศภูเขาทอง   เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่องนิราศภูเขาทองผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่น้อง ๆ ทราบหรือเปล่าคะว่านิราศภูเขาทองคืออะไร และมีที่มาอย่างไร ก่อนอื่นมาดูความหมายของนิราศกันก่อนนะคะ นิราศ คือวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อเล่าถึงการเดินจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยระหว่างการเดินทาง กวีก็จะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ วิวทิวทัศน์หรือความเป็นอยู่ของผู้คนมาพรรณนา   หลังจากเข้าใจความหมายของนิราศแล้วก็ไปเริ่มเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของนิราศภูเขาทอง หนึ่งในกลอนนิราศที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีที่สุดของสุนทรภู่กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา   สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองขึ้นมาในสมัยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่เจ้าหัว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1