กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ถอดคำประพันธ์และคุณค่าในเรื่อง

Picture of Chisanucha
Chisanucha
กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมากันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การถอดคำประพันธ์ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ว่ามีความหมายอย่างไรบ้าง ตัวบทที่ยกตัวอย่างมาในวันนี้จะเป็นเรื่องใด ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ถอดคำประพันธ์

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

      หัวลิงหมากกลางลิง    ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง                  ลิงโลดคว้าประสาลิง

      หัวลิงหมากเรียกไม้     ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                   หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                  ลิงห่ม

ลิงโลกฉวยชมผู้                ฉีกคว้า ประสาลิง

 

ความหมาย กล่าวถึงลิงที่กำลังกระโดดไปตามต้นไม้ต่าง ๆ เพื่อหลอกคู่ของมัน หรือขย่มเล่น ฉีกผลไม้อย่างชมพู่กินตามประสาของลิง ซึ่งในที่นี้มีพันธุ์ไม้ที่ปรากฏในบททั้งหมด 4 ชื่อ คือ 1. ต้นหัวลิง เป็นไม้เถาชนิดหนึ่ง มีสันตรงกลางคล้ายหัวลิง
2. ต้นหมากลางลิง เป็นปาล์มชนิดหนึ่ง 3. หูลิง เป็นไม้ผลัดใบกึ่งยืนต้นขนาดเล็ก เปลือกของลำต้นเรียบ เป็นสีน้ำตาลอมเทา
4. กระไดลิง ส่วนต้นลางลิงกับกระไดลิงคือต้นเดียวกัน ลักษณะเป็นไม้เถาเนื้อแข็งชนิดหนึ่ง เถาแบนยาว – งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

      กระจายสยายซร้องนาง      ผ้าสไบบางนางสีดา

ห่อห้อยย้อยลงมา                     แต่ค่าไม้ใหญ่สูงงาม

       กระจายสยายคลี่ซร้อง      นงพงา

สไบบางนางสีดา                      ห่อห้อย

ยื่นเลื้อยเฟื้อยลงมา                  โบยโบก

แต่ค่าไม้ใหญ่น้อย                     แกว่งเยื้องไปมา

 

ความหมาย กล่าวถึงต้นช้องนางคลี่ และสไบนางสีดา ที่ห้อยลงมาเพราะเป็นพืชที่ต้องเกาะติดกับกิ่งไม้ใหญ่ในป่า เมื่อโดนลมพัดก็จะแกว่งไปมา

 

 

คุณค่าที่อยู่ในเรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

 

 

เนื้อหาของวรรณคดีเป็นการบันทึกเรื่องราวการเดินทาง การชื่นชมวิวทิวทัศน์ ทำให้เห็นความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในธรรมชาติ อีกทั้งได้เรียนรู้พืชพันธุ์ รวมไปถึงสัตว์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในแต่ละตอนอีกด้วย นอกจากจะได้คุณค่าในแง่การศึกษาธรรมชาติแล้ว ในวรรณคดียังอุดมไปด้วยคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้คำให้เกิดจินตภาพ ใช้คำที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพตามได้ นอกจากนี้ยังมีการเลียนเสียงธรรมชาติ เป็นการใช้สัทพจน์ มีการเลือกใช้คำที่มีสระเดียวกัน ให้เป็นสัมผัสในวรรค และการใช้คำเดียวกันในความหมายที่ต่างกัน

 

ตัวอย่างการเลียนเสียงธรรมชาติ

ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ่ยร้องหา

ตัวอย่างสัมผัสในวรรค

ดูหนูสู่รูงู งูสุดสู้หนูสู้งู

ตัวอย่างการใช้คำเดียวกันในความหมายที่ต่างกัน

หัวลิงหมากกลางลิง ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง ลิงโลดคว้าประสาลิง

คำว่าลิงที่ใช้ในบทประพันธ์มีทั้งลิงที่เป็นสัตว์และลิงที่เป็นชื่อของต้นไม้

 

 

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ไม่เพียงแต่จะเป็นวรรณคดีที่ให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน แต่ยังอัดแน่นไปด้วยสาระดี ๆ เกี่ยวกับธรรมชาติ จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวรรณคดีแนวสารคดีก็คงจะไม่ผิดนัก น้อง ๆ อ่านตัวบทและลองถอดคำประพันธ์ดูแล้ว คิดอย่างไรกันบ้างคะ สุดท้ายนี้เพื่อไม่ให้พลาดความรู้ดี ๆ อย่าลืมไปดูคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อทบทวนความรู้นะคะ ในคลิปครูอุ้มจะอธิบายตัวบทอย่างละเอียด ทำให้เข้าใจได้ง่าย สามารถฟังไปทำแบบฝึกหัดไปได้ด้วย ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ศึกษาตัวบทเด่น ๆ 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความวิชาภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Imperative for Advice

Imperative for Advice: การให้คำแนะนำ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องง่ายๆ อย่าง Imperative for Advice กัน จะง่ายขนาดไหนเราลองไปดูกันเลยครับ

สัดส่วน

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สัดส่วน รวมทั้งโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ซึ่งได้รวบรวมเนื้อหาและเขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจน รวมถึงมีคลิปวิดีโอการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับน้องๆ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ก่อนจะเรียนรู้เรื่องสัดส่วนนั้น น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน ⇐⇐ สัดส่วน สัดส่วน คือ ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน อัตราส่วนทั้งสองมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันหรือในทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ ชนิดของสัดส่วน สัดส่วนมี 2 ชนิด คือ สัดส่วนตรง และ สัดส่วนผกผัน  

ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ถอดคำประพันธ์และเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดี

จากที่บทเรียนคราวก่อนเราได้รู้ความเป็นมาและเรื่องย่อของตอนที่สำคัญอีกตอนหนึ่งของเรื่องอย่างตอน กำเนิดพลายงาม กันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกตัวบทที่น่าสนใจเพื่อถอดคำประพันธ์พร้อมทั้งศึกษาคุณค่าในเรื่อง น้อง ๆ จะได้รู้พร้อมกันว่าเหตุใดวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ถึงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบท ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม     ถอดคำประพันธ์ : เป็นคำสอนของนางวันทองที่ได้สอนพลายงามก่อนที่จะต้องจำใจส่งลูกไปอยู่กับย่าที่กาญจนบุรีว่าเกิดเป็นผู้ชายต้องลายมือสวย โตขึ้นจะได้รับราชการก่อนจะพาพลายงามมาส่งด้วยความรู้สึกที่เหมือนใจสลาย    

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

nokAcademy Profile_Asking and telling time by

การบอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling time in English)

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ หรือ Telling time in English กันค่ะ” ไปลุยกันเลย   บทนำ   ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษานะคะ 

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1