กาพย์พระไชยสุริยา เรียนรู้ความเป็นมาของแบบเรียนภาษาไทยอันทรงคุณค่า

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยาเป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่น้อง ๆ ทุกคนจะได้ศึกษากัน แต่รู้ไหมคะว่าคำกาพย์ที่แต่งโดยสุนทรภู่นี้เป็นกาพย์แบบไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เหตุใดถึงมาอยู่ในแบบเรียนวิชาภาษาไทยได้ วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา รวมถึงเรื่องลักษณะคำประพันธ์และสรุปเนื้อเรื่องโดยย่อ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความเป็นมาของกาพย์พระไชยสุริยา

 

กาพย์พระไชยสุริยา1

 

กาพย์พระไชยสุริยา เป็นวรรณคดีคำกาพย์ที่สุนทรภู่แต่ง มีความยาว 1 เล่มสมุดไทย นักวรรณคดีและนักวิชาการสันนิษฐานว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นขณะบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาระหว่าง พ.ศ. 2382-2385 หรืออาจแต่งในตอนที่จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีในปี พ.ศ. 2368 แม้ปีที่แต่งจะไม่ชัดเจนแต่เป็นที่แน่ชัดว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อให้กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบสอนอ่านและเขียนมาตราตัวสะกดคำต่าง ๆ สำหรับเด็กในยุคนั้น และยังคงใช้อยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 

ลักษณะคำประพันธ์

 

 

สุนทรภู่แต่งกาพย์พระไชยสุริยาโดยใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์ มีทั้งหมด 3 กาพย์คือ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 แต่ละกาพย์มีลักษณะที่ต่างกันทำให้การดำเนินเรื่องเป็นไปอย่างเพลิดเพลิน

 

กาพย์ยานี 11

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี 11

คำสุดท้ายของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

 

กาพย์ฉบัง 16

 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์ฉบัง 16

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ของบทต่อไป

 

กาพย์สุรางคนางค์ 28 

 

ลักษณะบังคับของกาพย์สุรางคนางค์ 28 

คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2

คำสุดท้ายของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่ 5

คำสุดท้ายของวรรคที่ 5 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 6

สัมผัสระหว่างบทคือ คำสุดท้ายของวรรคที่ 7 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3 ในบทต่อไป

 

ความแตกต่างระหว่างกาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28

 

 

1. จำนวนคำและวรรค

กาพย์ยานี 11 บทหนึ่งมี 2 บาท ในแต่ละบาทมี 2 วรรค โดยที่วรรคแรกจะมี 5 คำ และวรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำ

กาพย์ฉบัง 16 บทหนึ่งมี 3 วรรค ในวรรคแรกจะมี 6 คำ วรรคสองมี 4 คำ และวรรคสุดท้ายมี 6 รวมเป็น 16 คำ

กาพย์สุรางคนางค์ 28 บทหนึ่งมี 7 วรรค แต่ละวรรคมี 4 คำ หนึ่งบทมี 28 คำ

2. สัมผัส เมื่อมีจำนวนคำต่างกัน จำนวนวรรคไม่เท่ากัน สัมผัสระหว่างวรรคและระหว่างบทก็จะแตกต่างกันไปด้วย

3.การอ่าน กาพย์ยานี 11 จะแบ่งวรรคอ่านต่างจากเพื่อนเนื่องจากว่าวรรคหน้าและวรรคหลังแบ่งจังหวะการอ่านไม่เท่ากัน ส่วนกาพย์ฉบัง 16 กาพย์สุรางคนางค์ 28 จะเหมือนกันตรงเว้นจังหวะการอ่านทุก 2 คำ

กาพย์ยานี 11 มีจังหวะการอ่านวรรคละ 2 จังหวะ คือ วรรคหน้า 5 คำ อ่าน 2 / 3 วรรคหลัง 6 คำ อ่าน 3 / 3

กาพย์ฉบัง 16 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ วรรคแรกและวรรคท้าย 2/2/2 ส่วนวรรคกลางอ่านเป็น 2/2

กาพย์สุรางคนางค์ 28 เว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ 2 คำ ในทุกวรรค เนื่องจากทุกวรรคมีจำนวนคำเท่ากัน

4. ลักษณะการใช้ แม้จะเป็นกาพย์เหมือนกันแต่มีลักษณะการใช้ที่ต่างกันออกไป ดังนี้

กาพย์ยานี 11 ใช้เวลาเล่าเรื่องที่มีจังหวะเนิบนาบ นิยมแต่งในการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ อย่างเชื่องช้า ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติหรืออารมณ์เศร้า คร่ำครวญ

กาพย์ฉบัง 16 เป็นการพรรณนาถึงสิ่งต่าง ๆ แต่จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว พรรณนาด้วยอารมณ์คึกคัก รวบรัด

กาพย์สุรางคนางค์ 28 ใช้เป็นการเล่าเรื่องเพื่อรวบรัดเนื้อหาให้เร็ว แสดงปาฏิหาริย์ แสดงความโกรธ ความคึกคัก มักใช้ร่วมกับฉันท์

 

สรุปเนื้อเรื่อง

 

 

พระไชยสุริยาเป็นกษัตริย์ครองเมืองสาวัตถีมีมเหสีชื่อนางสุมาลี แต่แล้วบ้านเมืองที่เคยสงบสุขก็เต็มไปด้วยการฉ้อฉลของข้าราชบริพาร หลงมัวเมาในอบายมุข จนในที่สุดฟ้าดินก็ลงโทษโดยการบันดาลให้น้ำท่วมเมือง ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากจนเมืองสาวัตถีกลายเป็นเมืองร้าง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีพร้อมประชาชนอีกจำนวนหนึ่งก็พากันหนีลงเรือเพื่อออกจากเมือง แต่กลับถูกพายุพัดจนเรืออับปาง พระไชยสุริยากับนางสุมาลีที่ยังรอดชีวิตจึงว่ายน้ำเข้าฝั่ง รอนแรมอยู่ในป่าจนไปพบกับฤๅษีรูปหนึ่ง ฤๅษีเกิดความสงสารพระไชยสุริยาเพราะเห็นว่าเป็นกษัตริย์ที่ดีจึงเทศนาจนสองสามีภรรยาเกิดความเลื่อมใส ตัดสินใจบำเพ็ญศีลภาวนาจนได้ไปเกิดอยู่บนสวรรค์

 

 

จากบทเรียนในตอนนี้คงจะทำให้น้อง ๆ หลายคนเข้าใจกาพย์พระไชยสุริยากันแล้วนะคะว่ามีประวัติความเป็นมา มีลักษณะคำประพันธ์และเนื้อเรื่องอย่างไร จะเห็นได้ว่ากาพย์พระไชยสุริยาเป็นวรรณคดีที่นอกจากจะถูกใช้เป็นแบบเรียนเรื่องมาตราตัวสะกดแล้ว ยังสอนเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมาย อย่างเรื่องคำประพันธ์ หรือเรื่องคติธรรมจริยธรรมอีกด้วย สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อยากจะฟังคำอธิบายเพิ่มเติม ก็สามารถไปดูคลิปย้อนหลังของครูอุ้มได้นะคะ ไปดูกันเลย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสาร มีอะไรบ้างที่เราควรรู้?

ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน แม้ว่าเราจะสื่อสารกับผู้คนอยู่แล้วทุกวัน แต่จะทำอย่างไรให้ตนเองสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง มีเรื่องไหนที่ควรรู้และควรระวัง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ถ้าอยากรู้แล้วว่าจะเป็นอย่างไรก็ไปดูกันเลยค่ะ   การสื่อสาร คืออะไร?   เป็นกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความรู้สึก จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ให้มีความเข้าใจตรงกัน     การสื่อสารสำคัญอย่างมากตั้งแต่ในชีวิตประจำวันไปจนถึงอุตสาหกรรม การปกครอง การเมืองและเศรษฐกิจ

NokAcademy_ ม6Passive Modals

มารู้จักกับ Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals” ที่ใช้บ่อยพร้อม เทคนิคการจำและนำไปใช้ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน กันค่า Let’s go! ไปลุยกันโลดเด้อ   Passive Modals คืออะไรเอ่ย   Passive Modals คือ กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง

M1 This, That, These, Those

การใช้ This, That, These, Those

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง การใช้ This, That, These, Those ในภาษาอังกฤษ กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า   บทนำ ก่อนที่นักเรียนจะไปเรียนเรื่อง การใช้  This, That, These, Those ครูอยากจะให้ลองดูตัวอย่างของการใช้ This, That, These, Those (Determiners) และ

โคลงโลกนิติ ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อ

โคลงโลกนิติ เป็นคำโคลงที่ถูกแต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดูจากช่วงเวลาแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงจะสงสัยว่าเหตุใดบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนโน้น ยังถูกนำมาเป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังสมัยนี้ศึกษาอยู่ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์แบบใด ถึงได้รับการอนุรักษ์ไว้มาอย่างยาวนาน วันนี้เรามาเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของโคลงโลกนิติกันค่ะ โคลงโลกนิติ ประวัติและความเป็นมา โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏนามผู้แต่งที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นสุภาษิตเก่าที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นคำโคลง ต่อมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธ์) และประสงค์ให้มีการนำโคลงโลกนิติมาจารึกลงแผ่นศิลาติดไว้เป็นธรรมทาน เพื่อที่ประชาชนจะได้ศึกษาคติธรรมจากบทประพันธ์   ผู้แต่งโคลงโลกนิติ เดิมทีไม่มีปรากฏชื่อผู้แต่งที่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานยืนว่าโคลงโลกนิติถูกแต่งขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักวรรณคดีศึกษาคาดว่าโคลงโลกนิติแพร่หลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

Profile- WH Questions

ประโยคคำถาม Wh-Questions ที่ต้องการคำตอบ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.  6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างวิธีการแต่งประโยคคำถามด้วย Wh- Questions ที่ใช้กับเวลาในอดีตและคำถามทั่วไปที่ต้องการคำตอบแบบไม่ใช่ Yes หรือ No กันค่ะ ไปดูกันเลย อะไรคือ Wh-Questions     เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบทื่อๆ เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word หรืออีกชื่อในวงการคือ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1