กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมที่สวยงาม ไปที่ไหนก็จะพบแต่ความสุข น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื้อหาใน กัณฑ์มัทรี นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วล่ะก็เราไปเจาะลึกตัวบทเด่น ๆ กันค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตัวบทเด่นใน กัณฑ์มัทรี

 

ตัวบทที่ 1

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ตอนที่นางมัทรีวิ่งตามหาลูกไปทั่วป่า ใช้ตามองไปทุกหนแห่ง ใช้หูฟังเสียงลูก ตะโกนเรียกลูกจนสุดเสียง และออกวิ่งสุดฝีเท้าเพื่อตามหาลูกเท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะทำได้ ในบทนี้โดดเด่นในเรื่องการซ้ำคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของมหาชาติสำนวนของภาคกลาง จะเห็นได้เรื่อย ๆ ในบทต่อ ๆ ไป

 

ตัวบทที่ 2

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นตอนที่นางมัทรีกลับมาถามพระเวสสันดรว่าพระกุมารหายไปไหน แล้วพระเวสสันดรแกล้งกล่าวโทษว่าเพราะนางมัทรีหลงลืมลูกไม่สนใจผัว มัวแต่อยู่ในป่า แม้ตอนแรกจะทำเป็นไม่อยากไปก็ตาม แต่กลับมาซะเย็น พอหาลูกไม่เจอก็ตีอกชกหัวว่าลูกหายไปไหน และยังว่าอีกว่าใครจะไปรู้ความคิดผู้หญิง ถ้ารักลูกจริงเหมือนที่พูดก็ต้องรีบกลับมาก่อนตะวันจะตกดิน บทนี้สะท้อนความมีไหวพริบของผู้พูดอย่างพระเวสสันดรที่ออกอุบายให้นางมัทรีคลายความเศร้าและเปลี่ยนมาโกรธแทน

 

 

เป็นตอนที่นางมัทรีไปตามหาพระกุมารทั้ง 2 ตั้งแต่ค่ำจนรุ่งเช้า จนเกิดอาการอ่อนเพลียจึงสลบไป เมื่อพระเวสสันดรมาเห็นก็ตกใจ คิดว่านางมัทฟรีสิ้นใจแล้ว จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วตัดพ้อว่า ตนเองบุญน้อยแล้วนางยังจะมาจากไปอีก จะเอาป่านี่มาเป็นป่าช้าฝังศพ จะเอาศาลานี่มาเป็นเมรุเผาศพ จะเอาเสียงนกสาลิกามาเป็นเสียงกลองในงานศพ จะเสียงจักจั่นมาเป็นเสียงแตรสังข์ จะเอาเมฆหมอกในอากาศมากั้นเป็นเพดานหรือ

ซึ่งพระเวสสันดรตัดพ้อขึ้นมาเพราะกำลังเสียใจอย่างมาก คิดว่านางมัทรีสิ้นใจแล้วจึงตั้งคำถามว่านางจะมาตายในป่าแบบนี้จริงหรือ เพราะนอกจากจะโดนเนรเทศมาอยู่ในป่ากับด้วยกันกับลูกแล้ว ตอนนี้ลูกยังต้องไปอยู่กับชูชกทำให้เหลือกันอยู่แค่สองคนผัวเมีย แล้วนางก็จะยังจะจากไปอีก บทนี้ถึงนางมัทรีไม่ได้ตายจริง ๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ความรักของสามีที่มีต่อภรรยา

 

คำศัพท์

 

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ใครจะรัก จะห่วง จะให้ลูกได้เท่ากับที่พ่อแม่รัก นั้นย่อมหาได้ยาก

 

จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้กันไป ทำให้ได้รู้ว่าการเทศน์มหาชาติคือมหากุศลที่เตือนบุคคลให้ตระหนักถึงการบำเพ็ญบารมี ให้ทาน สละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เรียกได้ว่ามีประโยชน์รอบด้าน ทั้งฟังและได้บุญ ได้ข้อคิด นำพาให้เราไปทำในสิ่งที่ดี ก็ยังได้ซึมซับความสวยงามของภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์นี้อีกด้วย ก่อนจากกัน น้อง ๆ สามารถติดตามคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายในแต่ละตัวบทเพิ่มเติม และสามารถตามไปฟังคลิปสรุปความรู้ เพื่อให้ไม่พลาดในการทำข้อสอบ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง

ข้อสอบO-Net ข้อสอบO-Net ในบทความนี้จะคัดเฉพาะเรื่องจำนวนจริงมาให้น้องๆทุกคนได้ดูว่าที่ผ่านมาแต่ละปีข้อสอบเรื่องจำนวนจริงออกแนวไหนบ้าง โดยบทความนี้พี่ได้นำข้อสอบย้อนหลังของปี 49 ถึงปี 52 มาให้น้องๆได้ดูพร้อมเฉลยอย่างละเอียด เมื่อน้องๆได้ศึกษาโจทย์ทั้งหมดและลองฝึกทำด้วยตัวเองแล้ว น้องๆจะสามารถทำข้อสอบทั้งของในโรงเรียนและข้อสอบO-Net ได้แน่นอนค่ะ ข้อสอบO-Net เรื่องจำนวนจริง ปี 49   1.   มีค่าเท่ากับข้อในต่อไปนี้     60      

พาราโบลา

พาราโบลา

พาราโบลา พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบมีระยะห่างจากจุดโฟกัส (focus) เท่ากับระยะห่างจากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิด กราฟของพาราโบลาจะมีลักษณะคล้ายระฆัง ตอนม.3 น้องๆเคยเห็นทั้งพาราโบลาหงายและคว่ำแล้ว แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับพาราโบลาตะแคงซ้ายและขวา สามารถเขียนเป็นตารางให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ ข้อสังเกต  จะเห็นว่าถ้าแกนสมมาตรคือแกน y รูปแบบสมการของพาราโบลา y จะมีเลขชี้กำลังเป็น 1  สมการเส้นไดเรกตริกซ์ก็จะเกี่ยวข้องกับ y เช่นเดียวกับแกนสมมาตรเป็นแกน x รูปแบบสมการของพาราโบลา x

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

คำเชื่อม Conjunction

การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “การใช้คำสันธาน (Conjunctions) เช่น and/ but/ or/ before/ after and etc.” กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด คำสันธาน(Conjunctions)คืออะไร   คำสันธาน (Conjunctions) คือ คำที่ใช้เชื่อมระหว่างประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา และอื่นๆ เช่น and/

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1