การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

 

1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม

 

2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ อาจจะพูดย่อหรือลดพยางค์ลงไป และในบางคำที่เป็นพยัญชนะควบกล้ำที่ออกเสียงยาก ผู้พูดก็จะหลีกเลี่ยงไม่ออกเสียง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา

3. การยืมคำจากภาษาต่างประเทศ การยืมคำจากภาษาต่างประเทศที่มาใช้ร่วมกับภาษาไทยทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเสียง คำ และโครงสร้างประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

เป็นการเปลี่ยนระบบโครงสร้างของภาษาไทยให้ต่างไปจากเดิม มีลักษณะดังนี้

ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

 

1. การใช้ประโยคกรรม

โดยปกติแล้วประโยคภาษาไทยจะเรียงแบบ ประธาน + กริยา + กรรม แต่ในปัจจุบันมีประโยคกรรมมากขึ้น คือย้ายกรรมมาไว้ต้นประโยคเหมือนเป็นประธาน

ตัวอย่าง สุนัขถูกตี สุนัขเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค หรือ น้องสาวถูกรถชน น้องสาวเป็นกรรมที่อยู่ต้นประโยค

จากตัวอย่าง น้อง ๆ จะสังเกตได้ว่าประโยคกรรมเหล่านี้มักมีคำว่า ถูก อยู่หน้ากริยาทำให้โครงสร้างของประโยคที่คนนิยมใช้ส่วนมากจะเป็น กรรม + ถูก + กริยา นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งซึ่งก็คือคำว่า ได้รับ ทั้งคำนี้จะถูกใช้ในบริบทที่ต่างกันออกไป

 

 

2. การใช้ประโยคสรรพนามว่า มัน

เป็นการเรียงประโยคที่ได้รับอิทธิพลมาจากไวยากรณ์อังกฤษในการใช้คำว่า it หรือ มัน ขึ้นต้นประโยค โดยที่สรรพนาม มัน นั้นไม่ได้แทนสัตว์หรือสิ่งของใด ๆ

ตัวอย่าง มันถึงเวลาแล้ว

มันจะผ่านไปด้วยดี

มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องอบรมลูก

 

3. ประโยคมีอาการนามมากขึ้น

อาการนาม คือ คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือสภาวะต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมักจะมีคำ “ความ” หรือ “การ” นำหน้าคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ ประโยคในปัจจุบันมีการนำอาการนามมาเพิ่มในประโยคเยอะขึ้นทำให้ประโยคยาวกว่าเดิม

ตัวอย่าง การแยกขยะให้ถูกต้องจะช่วยจัดการปัญหาเรื่องขยะได้ดี

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นผลของความพยายาม

 

4. ประโยคที่นำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยค

ส่วนขยายในประโยคภาษาไทยมักจะอยู่หลังคำหรือวลีที่ถูกขยาย แต่การเปลี่ยนแปลงทางประโยคทำให้ปัจจุบันคนนิยมนำส่วนขยายมาไว้ต้นประโยคกันเป็นจำนวนมาก

ตัวอย่าง สีแดงของเสื้อเธอมันแสบตาฉันเหลือเกิน

 

วัวัฒนาการของภาษามีการเปลี่ยนไปแปลงไปเรื่อย ๆ เป็นธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตายทำให้โครงสร้างประโยคถูกเปลี่ยนไปมีหลายรูปแบบมากขึ้น อาจจะสะดวกในการสื่อสาร แต่น้อง ๆ ก็ต้องหมั่นทบทวนและแยกให้ออกด้วยนะคะว่าประโยคไหนเป็นแบบไหน เพื่อป้องกันไม่ให้เข้าใจผิดและสับสนค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนของประโยคเพิ่มเติมได้ ก่อนที่บทเรียนในครั้งหน้าเราจะไปเรียนรู้อีกหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางภาษาอย่างการเปลี่ยนแปลงคำกันค่ะ ไปดูกันค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์

       บทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเรื่อง จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบวกลบจำนวนเต็ม โดยก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องการเปรียบเทียบจำนวนเต็มมาแล้ว ต่อไปจะพูดถึงค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็มใดๆ จะหาได้จากระยะที่จำนวนเต็มนั้นอยู่ห่างจาก 0 บนเส้นจำนวน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับจำนวนตรงข้ามกันก่อนนะคะ จำนวนตรงข้าม       “หากค่าของจำนวนที่อยู่ห่างจาก 0 เท่ากัน แต่อยู่ต่างทิศทางกันมีค่าเท่ากันหรือไม่” (ค่าไม่เท่ากัน)           

โจทย์ปัญหาบวก ลบ ทศนิยม

บทความนี้จะยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาการบวกลบทศนิยม เพื่อให้น้องๆได้ทำความเข้าใจและศึกษาการแสดงวิธีคิด หากต้องไปเจอการแก้โจทย์ปัญหาในห้องเรียนจะสามารถนำความรู้จากบทความนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

หลักการใช้คำราชาศัพท์ รู้ไว้ไม่สับสน

เมื่อได้รู้ความหมาย ที่มาและความสำคัญของคำราชาศัพท์ รวมถึงคำศัพท์หมวดร่างกายไปแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะสงสัยใช่ไหมคะ ว่าหลักการใช้คำราชาศัพท์ มีอะไรบ้าง และใช้อย่างไร ต้องใช้แบบไหนถึงจะถูก บทเรียนในวันนี้เราจะมาเรียนรู้หลักการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้องกันค่ะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันแลย   หลักการใช้คำราชาศัพท์ กับราชวงศ์ไทย     ลำดับพระอิสริยศักดิ์ของพระบรมราชวงศ์สามารถลำดับอย่างคร่าว ๆ ได้ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระราชินี,

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1